"เมืองศรีเทพ"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น "มรดกโลกทางวัฒนธรรม"

19 ก.ย. 2566 | 01:33 น.

ระหว่างรอลุ้นการประกาศขึ้นทะเบียน “เมืองโบราณศรีเทพ” ของไทย เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 45 ณ กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย วันนี้ (19 ก.ย.) เรามาชมภาพความงามเหนือคำบรรยายของอุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ไปด้วยกัน

 

การพิจารณาขึ้นทะเบียน “เมืองโบราณศรีเทพ” หรือที่รู้จักกันในนาม อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดย องค์การยูเนสโก จะอยู่ในวาระการพิจารณาที่ 31 จากทั้งหมด 53 วาระ ในช่วงบ่ายของวันนี้ (19 ก.ย.) ซึ่งหากเมืองศรีเทพได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก ก็จะเป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีสำหรับประเทศไทย เพราะว่างเว้นการประกาศขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรมมานานถึง 31 ปีแล้ว โดยครั้งหลังสุดเป็นการประกาศขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2535

ต่อไปนี้ เป็นประมวลภาพความงดงามอลังการย้อนยุคสมัย สู่ ยุคทวารวดี หรือราว 1,200 ปีที่แล้วของ เมืองศรีเทพ ที่ดูยิ่งใหญ่ตระการตาในช่วงกลางวัน และจะเปลี่ยนบรรยากาศสู่ความขรึมขลังเหมือนถูกดึงดูดสู่ห้วงโบราณกาลในยามค่ำคืน  

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ศูนย์กลางความเจริญของยุคทวารวดีน่าจะอยู่บริเวณด้านตะวันตกของลุ่มนํ้าเจ้าพระยา แถวเมืองอู่ทองและนครปฐม  แต่ที่ เมืองศรีเทพ ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่นํ้าป่าสัก จ.เพชรบูรณ์นั้น มีการค้นพบแหล่งชุมชนโบราณ ตั้งแต่สมัยทวารวดีเช่นกัน

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

มีการพบหลักฐานจากหลุมขุดค้นทางโบราณคดีที่บ่งบอกถึงการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์โบราณในพื้นที่บริเวณนี้มานานแล้ว โดยชุมชนโบราณศรีเทพมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องจากการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก โดยเฉพาะจากอินเดีย

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"  

มีการสร้างเมืองเป็นรูปแบบอันเป็นเอกลักษณ์ของทวา ซึ่งเอกลักษณ์ดังกล่าวนั้นก็คือ “คูน้ำคันดิน” มีสองเมือง คือ เมืองใน และเมืองนอก

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

ภายในเมืองใน ปรากฏโบราณสถานที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมทวารวดีจำนวนมาก อาทิ เขาคลังใน เป็นพุทธสถานในศาสนาพุทธหินยาน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12

ยิ่งงดงามเหนือคำบรรยายในยามค่ำคืน

ต่อมาเปลี่ยนการใช้งานมาเป็นพุทธศาสนามหายาน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14 ปัจจุบันอยู่ในสภาพพังทลายแต่ยังคงหลงเหลือหลักฐานที่สมบูรณ์ คือ ฐานอาคารแบบทวารวดีที่เรียกว่า “ฐานบัววลัย” และ “ฐานยกเก็จ”

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลรูปแบบการก่อสร้างมาจากศิลปะอินเดียใต้ มีประติมากรรมปูนปั้นคนแคระแบก มีทั้งศีรษะที่เป็นสิงห์ช้าง และลิง

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

ส่วนเขาคลังนอก เป็นโบราณสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของ เมืองโบราณศรีเทพ และเป็นสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ที่สุดในวัฒนธรรมทวารวดีในเวลานี้ ตั้งอยู่ในเขตเมืองนอกศรีเทพ

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

หากเมืองโบราณศรีเทพได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ประเทศไทยก็จะมีแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับการประกาศโดยยูเนสโก จำนวนรวม 4 แห่ง

\"เมืองศรีเทพ\"ประมวลความงามสุดบรรยาย ก่อนประกาศเป็น \"มรดกโลกทางวัฒนธรรม\"

หลังการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จะมีกระบวนการทำงานทั้งการพัฒนาพื้นที่ แหล่งโบราณสถาน การจัดทำศูนย์ข้อมูลและการขุดค้นทางโบราณคดีเพิ่มเติม รวมถึงการรักษาดูแลให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโกต่อไป

บันทึกภาพโดย กอบภัค พรหมเรขา สำนักข่าวเนชั่น