สวนสัตว์แห่งใหม่ ชู “ศูนย์เรียนรู้ของคนไทย”ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา

28 พ.ย. 2565 | 03:25 น.

 องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยฯ ชูแลนด์มารค์แห่งใหม่ “สวนสัตว์แห่งใหม่” ศูนย์เรียนรู้ของคนไทย ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา

 สวนสัตว์แห่งใหม่ปทุมธานีเป็นโครงการก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ บริเวณคลอง 6 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยได้รับที่ดินจำนวน 300 ไร่ จากสำนักทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ มาทดแทนพื้นที่เดิม โดยองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้าง “สวนสัตว์แห่งใหม่” ในช่วงปี 2566–2570

สวนสัตว์แห่งใหม่ ชู “ศูนย์เรียนรู้ของคนไทย”ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา

 นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สวนสัตว์แห่งใหม่จะเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะรายล้อมไปด้วย ระบบคมนาคมที่เชื่อมต่อกับศูนย์กลางที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ศูนย์กลางการศึกษา พื้นที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม

 นายอรรถพร ศรีเหรัญ ผู้อำนวยการองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย

 ทั้งนี้ วัตถุประสงค์การก่อสร้างสวนสัตว์แห่งใหม่ เกิดจากแนวคิดที่ต้องการก่อสร้างขึ้นมาเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ภายใต้แนวคิดจัดทำเป็นสวนสัตว์ที่ทันสมัยระดับนานาชาติให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่สมบูรณ์ครบถ้วนในระดับสากล ทั้งการเป็นแหล่งเรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่าในและนอกถิ่นอาศัย ระบบภูมินิเวศทางธรรมชาติที่สมบูรณ์แบบ รวมถึงแหล่งเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์ศึกษาวิจัยและเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าคืนสู่ธรรมชาติ และยังจะเป็นแหล่งนันทการรองรับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 

สวนสัตว์แห่งใหม่ ชู “ศูนย์เรียนรู้ของคนไทย”ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา

สวนสัตว์แห่งใหม่ ชู “ศูนย์เรียนรู้ของคนไทย”ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา

 สำหรับแนวคิดในการออกแบบสวนสัตว์แห่งใหม่นั้น องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทยมองว่า  ปัจจุบันประชาชนเดินทางมาเที่ยวสวนสัตว์เพื่อมาชมสัตว์ต่างๆ เท่านั้นแล้วก็กลับ ซึ่งจากสถิติพบว่าคนไทย ใช้เวลาในสวนสัตว์ เฉลี่ย 2 ชั่วโมง ต่อครั้งเท่านั้น ในขณะที่สวนสัตว์ต่างประเทศ พบว่านักท่องเที่ยวใช้เวลาในสวนสัตว์ต่างประเทศ เฉลี่ย 6 ชั่วโมง ต่อครั้ง ดังนั้น องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ต้องการให้สวนสัตว์แห่งใหม่เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้และได้รับความเพลินเพลินไปควบคู่กัน เพื่อให้ใช้เวลาในสวนสัตว์ นานมากขึ้น

 ดังนั้น แนวคิดในการออกแบบจึงเน้นการให้ความรู้ไปพร้อมกับความตื่นตาตื่นใจ โดยรูปแบบจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย

 1.Wet Land Revival ภายใต้แนวคิด ชุบชีวิตทุ่งน้ำ อนุรักษ์ธรรมชาติพื้นถิ่น เป็นการสร้างสวนสัตว์ในบริบทใหม่ด้วยบรรยากาศท้องถิ่น เน้นให้มีการ RESRRVOIR หรือบ่อเก็บน้ำแก้มลิง เพื่อรองรับการกักเก็บน้ำในและการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์ จำนวน 2 บ่อ

สวนสัตว์แห่งใหม่ ชู “ศูนย์เรียนรู้ของคนไทย”ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา

 2. Biodiversity Park : Bio-park คือการจัดแสดงสัตว์ตามถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ เป็นการส่งเสริมสวัสดิภาพของสัตว์ โดยเน้นการสร้างความสมดุลระหว่างการจัดแสดงสำหรับผู้เยี่ยมชม และการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับสัตว์รวมถึงการจัดแสดงของสัตว์ต่างๆ จะเสมือนอาศัยอยู่ร่วมกันในธรรมชาติซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ในการรับชมอย่างสร้างสรรค์

 3.King’s Philosophy ซึ่งเป็นการประยุกต์ศาสตร์ของพระราชาเพื่อการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน เป็นการนำหลักอนุรักษ์ฟื้นฟู การกักเก็บจัดการใช้ประโยชน์ การบำบัดป้องกันซึ่งหลักการดังกล่าวนั้น จะทำให้โครงการเกิดความยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการ รียูส รีไซเคิล น้ำและขยะ มีระบบรีไซเคิลทั้งในบ่อเก็บน้ำ คู่น้ำ ระบบหมุนเวียนน้ำสัตว์ (น้ำที่ใช้งานแล้วจะนำมาบำบัดและนำมากักเก็บและใช้ใหม่อีกครั้ง)

สวนสัตว์แห่งใหม่ ชู “ศูนย์เรียนรู้ของคนไทย”ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา

 “เพื่อให้โครงการสวนสัตว์แห่งใหม่ตอบโจทย์ตามวัตถุประสงค์ของการเป็นโครงการอย่างยั่งยืนและเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ของประชาชน องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหาร” นายอรรถพรกล่าว

สวนสัตว์แห่งใหม่ ชู “ศูนย์เรียนรู้ของคนไทย”ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา

สวนสัตว์แห่งใหม่ ชู “ศูนย์เรียนรู้ของคนไทย”ตามรอยศาสตร์แห่งพระราชา