Climate Change ท้าทายธุรกิจส่งออกเสี่ยงติด “กำแพงคาร์บอน”

27 พ.ย. 2564 | 02:00 น.

ทีมกรุ๊ป เตือน โลกร้อน Climate Change ท้าทายธุรกิจส่งออกของไทยเสี่ยงติด “กำแพงคาร์บอน” หากไม่เร่งปรับตัว พร้อมกางเเผนลดก๊าซเรือนกระจกของไทยจะทำได้จริงไหม

องค์การสหประชาชาติ (UN) รายงานเมื่อปี 2018 อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยน่าจะเพิ่มขึ้นแตะระดับ 1.5 องศาเซลเซียสในช่วงระหว่างปี 2030-2052 หากยังมีการปล่อย "ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์" เพิ่มขึ้น

ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลจากหลายประเทศเข้าร่วมประชุมที่จัดขึ้นที่ปารีสเพื่อลงความเห็นว่าต้องพยายามรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยผิวโลกไม่ให้เพิ่มมากไปกว่า 1.5 องศาเซลเซียส จากเป้าหมาย 2 องศาเซลเซียส เพื่อหลีกเลี่ยง "หายนะจากสภาพอากาศ"  

เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change หรือ โลกร้อน Global Warming หมายถึงอุณภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้นกว่า 1.1 องศาเซลเซียส จากการปฏิวัติอุตสาหกรรมด้วยการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างบ้าคลั่ง

Climate Change ท้าทายธุรกิจส่งออกเสี่ยงติด “กำแพงคาร์บอน”

แน่นอนว่าการปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก” Greenhouse Gas ที่มีส่วนประกอบของสารต่างๆประมาณ 7-8 ชนิด แต่ที่มีผลมากที่สุดก็คือ คาร์บอนไดออกไซค์ 75% มีเทน 16 % ไนตรัสออกไซค์ 16 % เป็นสาเหตุสำคัญ

หากเราไม่สามารถยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ผลกระทบที่เกิดต่อโลกจะรุนแรงแค่ไหน และจะเป็นอย่างไรหากอุณหภูมิโลกเพิ่มไปถึงระดับ 2 องศาเซลเซียส หรือมากกว่าช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม

 

“ชวลิต จันทรรัตน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ทีมกรุ๊ป บรรยายให้เห็นภาพว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ น้ำแข็งละลาย น้ำทะเลอุ่น เป็นกรดมากขึ้น สิ่งมีชีวิตจะลำบาก คลื่นความร้อนเกิดขึ้นบ่อย เกิดไฟป่าสูงขึ้น ฝนตกหนัก ความแห้งแล้งจะเพิ่มขึ้น

Climate Change ท้าทายธุรกิจส่งออกเสี่ยงติด “กำแพงคาร์บอน”

“ระดับน้ำทะเลปานกลางสูงปีละ 3.3 มิลลิเมตร 10 ปีจะขึ้น 3 เซ็นติเมตร 100 ปี 30 เซ็นติเมตร ถ้าเราปล่อยให้อุณภูมิโลกเฉลี่ยขึ้นมา 1.5 องศา ในปี 2100 ก็คือ 79 ปีข้างหน้าระดับน้ำทะเลสูงขึ้น 60 เซ็นติเมตร ฝนมากขึ้น 10 % ตอนนี้ในบ้านเราก็มีเรื่องน้ำทะเลหนุนสูงแล้ว ที่ต้องเฝ้าระวังคือ กทม.และปริมลฑล โดยเฉพาะพื้นที่ปากแม่น้ำ”

 

ที่ถือว่าสำคัญมากและมีความเสี่ยงทางธุรกิจ ก็คือเรื่อง “กำแพงคาร์บอน” เพราะกลุ่มการค้าสำคัญของโลกจะเริ่มพิจารณาออกกฎบังคับให้สินค้านำเข้าจากประเทศต่าง ๆ ว่าต้องมีการผลิตที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิในปริมาณที่ต่ำ หรือ "คาร์บอนฟุตพริ้นท์"

 

ซึ่งหมายถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดกระบวนการผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การหาวัตถุดิบ ขนส่ง ประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ผลิตภัณฑ์มีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่

 

หลายประเทศเริ่มมีการนำคาร์บอนฟุตพริ้นท์มาใช้กันแล้ว ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิสเซอร์แลนด์ แคนาดา ญี่ปุ่น และเกาหลี ฯลฯ เพราะการใช้คาร์บอนฟุตพริ้นท์ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก

 

“ทั้งอเมริกาและยุโรปตั้งกำแพงเรื่องสินค้าที่จะส่งเข้าไป เห็นแววว่าสินค้าที่เราทำส่งไป โดยเฉพาะอาหาร อุปกรณ์ไอที รถยนต์ จะต้องถูกวัดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ถ้าไม่เร่งหาแนวทางจะทำให้เสียตลาดให้ประเทศอื่น โดยเฉพาะในช่วงปี 2593 ช่วงนี้อีก 30 ปี เราอาจจะโดนกำแพงคาร์บอน ภาคธุรกิจโดยเฉพาะการส่งออกจะต้องตื่นตัวให้มากกว่านี้ เพราะเท่าที่เห็นยังถือว่าน้อยมาก”

 

เมื่อกางแผนยุทธศาสตร์ "การปล่อยก๊าซเรือนกระจก" ของบ้านเรา พบว่ามีแผนที่จะทำตามเป้าหมายตั้งแต่ปี 2018 และเริ่มพูดถึงการอยู่ร่วมกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในปี 2019 โดยมีการจัดส่งแผนดังกล่าวเพื่อ "การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์" ซึ่งได้ปิดฉากลงเมื่อวันที่ 13 พ.ย. มีการบรรลุข้อตกลงเพื่อควบคุมปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการผลักดันให้ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

 

ในปี 2021 ไทยเริ่มจัดทำแผนยุทธศาตร์ มุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเหลือศูนย์ และให้มีก๊าซคาร์บอนได้สมดุลภายในศตวรรษนี้ โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ด้วยการ ลดคาร์บอน ใช้ระบบดิจิตอล กระจายปฎิบัติสู่ท้องถิ่น ปรับกฎหมาย และเพิ่มการมีไฟฟ้าใช้ 

 

เป้าหมายในปี 2030 เป็นเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก 20-25% และลดให้ได้ 40% มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจมีคำถามว่าเราจะทำได้ไหม ??? 

 

“จะได้หรือไม่ได้ก็อยู่ที่มาตรการที่จะทำ สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ก็คงเป็นเรื่องการใช้รถ EV ในปี 2035 รถที่ผลิตในไทย 70% จะเป็นรถไฟฟ้า ตั้งแตปีนี้มีการสนับสนุนการผลิตรถไฟฟ้า สถานีชาร์จไฟ จะทำให้สิ่งที่ไปรับปากกับนานาปรเทศว่าจะลดก๊าซเรือนกระจก 1ใน 4 เป็นไปได้  อีกเรื่องคือการพยายามใช้พลังงานโซลาเซลล์มากขึ้น การประหยัดการใช้ น้ำ ไฟ เพราะเวลาประหยัดไฟคือประหยัดการปล่อยการใช้ถ่านหิน ประหยัดน้ำคือประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า อีกเรื่องที่สำคัญมากคือก๊าซมีเทนที่มาจากการหมักหมม ฝั่งกลบขยะ เราต้องลดขยะ แยกขยะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารทีมกรุ๊ป กล่าว

 

แต่ทว่าก็ยังมีแผนที่จะดูว่าจะก้าวช้าอยู่เหมือนกัน นั่นก็คือปี 2037 ไทยจะเดินหน้ารักษาและเพิ่มป่าไม้เศรษฐกิจ ลดการเผาวัสดุการเกษตร รวมแล้วหากทำได้จะลดก๊าซเรือนกระจกได้ 120 เมกกะตัน  ส่วนแผนที่ยากก็คือ ปี 2050 มีสมดุลของคาร์บอน โดยใช้ไฟฟ้าพลังหมุนเวียน 50% ของกำลังผลิตโรงงานใหม่ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกจากภาคพลังงานอุตสาหกรรมการเกษตร ขยะ การใช้ที่ดินและป่าไม้

 

Climate Change ท้าทายธุรกิจส่งออกเสี่ยงติด “กำแพงคาร์บอน”

 “แผนสุดท้ายในปี 2065 ตามความคาดหวังเรารับปากที่ประชุม COP26 ว่าจะลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ซึ่งการไปถึงตรงนั้น นายกฯ ก็บอกว่าต้องได้รับการร่วมมือจากนานาชาติ สนับสนุนเทคโนโลยี และการฝึกอบรมคนของเรา ก็ต้องติดตามดูว่าแผนต่างๆ จะทำได้จริงไหม แต่ที่สำคัญคือทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน”