ค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่ง กระทบต่อสุขภาพ 4 กลุ่มโรค 

26 ต.ค. 2566 | 20:15 น.

สาธารณสุข เตรียมรับมือค่าฝุ่น PM 2.5 คาดมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสถานการณ์เอลนีโญ กำชับหน่วยงานในสังกัดเฝ้าระวัง เตรียมพร้อมดูแลประชาชน เผย ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ 4 กลุ่มโรค 

จากสถานการณ์หมอกควันและฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน รัฐบาลได้กำหนดให้เรื่องฝุ่นละออง PM 2.5 เป็น วาระแห่งชาติ ที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งบูรณาการแก้ไขปัญหา ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากสถานการณ์เอลนีโญทำให้เกิดความแห้งแล้ง เสี่ยงเกิดไฟป่าทั้งในประเทศและนอกประเทศได้ง่าย และเป็นสาเหตุให้เกิดหมอกควันรุนแรงขึ้น

ค่าฝุ่น pm2.5 พุ่ง กระทบต่อสุขภาพ 4 กลุ่มโรค

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข มอบหมายให้ นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานประชุมทางไกลกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดและผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กปี 2567 โดยมี ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม 

โดยได้แจ้งให้หน่วยงานส่วนภูมิภาคเตรียมความพร้อมดูแลสุขภาพประชาชน พร้อมทั้งมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน ปี 2567 ใน 5 ประเด็น ดังนี้ 

1.เพิ่ม 2 มาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก เรื่องการส่งเสริมการลดมลพิษ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ โดยเพิ่มมาตรการการเชิงป้องกัน SECA (Smart Energy and Climate Action) 

2.ปรับเกณฑ์การเปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (PHEOC) ให้สอดคล้องกับค่ามาตรฐานและระดับเฝ้าระวังการแจ้งเตือนของประเทศ คือ เมื่อค่าฝุ่น PM 2.5 มากกว่า 37.5 มคก./ลบ.ม. ติดต่อกัน 3 วัน 

ค่าฝุ่น pm2.5 พุ่ง กระทบต่อสุขภาพ 4 กลุ่มโรค

3.เพิ่มการติดตามเฝ้าระวังการเจ็บป่วยจากข้อมูลเชิงรุกในชุมชน ห้องฉุกเฉิน และระบบฐานข้อมูล HDC ของกรมควบคุมโรค

4.เพิ่มเติมรายงานผลการถอดบทเรียนผลการดำเนินงาน และปรับช่วงระยะเวลาการรายงาน โดยระดับจังหวัด รายงานทุกวัน เวลา 12.00 น. และระดับส่วนกลาง รายงานทุกวัน เวลา 07.00 น. 

5.การสนับสนุนทรัพยากร ให้เขตสุขภาพและจังหวัดเตรียมสำรองหน้ากากป้องกันฝุ่นและเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 

พร้อมกันนี้ได้มอบข้อสั่งการ 7 ข้อ ให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพ นายแพทย์สาธารณสุขทุกจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่ง เตรียมการเฝ้าระวัง ดูแลและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ดังนี้ 

ค่าฝุ่น pm2.5 พุ่ง กระทบต่อสุขภาพ 4 กลุ่มโรค

1.เฝ้าระวังและแจ้งเตือนสถานการณ์ พร้อมทั้งเร่งสื่อสารเชิงรุกสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการดูแลป้องกันสุขภาพ และการมีส่วนร่วมในการลดฝุ่นละออง ผ่านทุกช่องทาง ทั้งสื่อบุคคล เสียงตามสาย สื่อออนไลน์โซเชียลมีเดีย (Social media) และช่องทางของหน่วยงาน 

2.เตรียมความพร้อมในการดูแลและป้องกัน ทั้งระบบบริการสาธารณสุข/ ระบบส่งต่อ และระบบเทเลเมดิซีน เปิดคลินิกมลพิษที่สถานพยาบาล คลินิกมลพิษออนไลน์และคลินิกมลพิษเคลื่อนที่

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล จัดเตรียมห้องปลอดฝุ่น ดูแลกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคระบบทางเดินหายใจ และผู้ป่วยติดเตียง โดยทีม 3 หมอ และสำรวจกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โรคหืดและโรคหัวใจขาดเลือด เพื่อให้การดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ 

3.เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ รายงานผ่านระบบ Health Data Center (HDC) โดยเฉพาะใน 4 กลุ่มโรค ได้แก่ 

  • โรคระบบทางเดินหายใจ 
  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด 
  • ระบบผิวหนัง 
  • ระบบตา 

4.หากค่า PM 2.5 เกินมาตรฐาน 37.5 มคก./ลบ.ม. ติดต่อกัน 3 วัน ให้เปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับจังหวัด พร้อมรายงานสถานการณ์ทุกวัน และปิดศูนย์ปฏิบัติการฯ ระดับจังหวัด เมื่อค่า PM 2.5 น้อยกว่า 37.5 มคก./ลบ.ม. ติดต่อกัน 6 วัน 

5.จัดกิจกรรมองค์กรปลอดฝุ่นในสำนักงานและสถานบริการในสังกัด เพื่อเป็นต้นแบบองค์กรลดฝุ่นละออง 

6.สนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการใช้ พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นเครื่องมือสนับสนุนการลดฝุ่นละอองขนาดเล็กจากแหล่งกำเนิดในพื้นที่ และการจัดการเหตุรำคาญจากฝุ่นละออง

คำแนะนำ

กลุ่มทำงานกลางแจ้ง อาทิ คนงานก่อสร้าง ผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับจราจร พนักงานกวาดถนน ควรสวมหน้ากากเพื่อป้องกันฝุ่น PM 2.5 เช่น ให้สวมหน้ากาก N95

กลุ่มเสี่ยง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจ ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นเมื่อออกนอกอาคาร และไม่แนะนำให้สวมหน้ากากทุกประเภทขณะออกกำลังกายกลางแจ้ง 

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 ได้ทางแอปพลิเคชั่น Air4Thai / Airbkk / Life Dee และดูแนวทางปฏิบัติตน ค้นหาห้องปลอดฝุ่นและคลินิกมลพิษ รวมทั้งปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ได้ทาง Line Official 4Health หรือแอปพลิเคชั่น DMS Telemedicine หรือเว็บไซต์ https://podfoon.anamai.moph.go.th/