เตือน! ภัยร้าย"กิ้งกือ"ไม่กัดแต่พิษทำผิวหนังไหม้ น่ากลัวแค่ไหน เช็คที่นี่

10 มิ.ย. 2566 | 07:04 น.

เตือน! ภัยร้าย"กิ้งกือ"ไม่กัดแต่พิษทำผิวหนังไหม้ น่ากลัวแค่ไหน เช็คที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลจากกรมการแพทย์ไว้ให้แล้ว แนะประชาชนต้องระมัดระวังและหลีกเลี่ยง

นายแพทย์ไพโรจน์ สุรัตนวนิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงอันตรายจากกิ้งกือว่า กิ้งกือไม่ใช่สัตว์อันตราย ไม่กัด แต่ถ้าสัมผัสถูกตัว อาจจะสัมผัสสารพิษของกิ้งกือซึ่งจะถูกปล่อยออกมาจากบริเวณข้างลำตัว

ทั้งนี้ สารพิษดังกล่าวเหล่านี้จะมีฤทธิ์ฆ่าสัตว์เล็กประเภทมด หรือแมลงเท่านั้น แต่อาจจะส่งผลกระทบต่อผิวหนังของมนุษย์ได้เมื่อสัมผัสโดยตรง ดังนั้น ประชาชนจึงต้องระมัดระวังและหลีกเลี่ยง

นายแพทย์สกานต์ บุนนาค ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง  กรมการแพทย์  กล่าวว่า สารพิษของกิ้งกือมีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสี ประกอบด้วยสารกลุ่มไฮโดนเจน ไซยาไนด์ (Hydrogen cyanide) ฟีนอล (Phenol) กลุ่มเบนโซควิโนน และไฮโดรควิโนน (Benzoquinones/hydroquinones) 

ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังมีแผลไหม้ได้ และบางรายอาจจะมีอาการปวด รวมทั้งการระคายเคืองของผิวหนังร่วมด้วย 

เตือน!ภัยร้ายกิ้งกือไม่กัดแต่มีพิษทำให้ผิวหนังไหม้ รักษายังไง

"หากถูกพิษของกิ้งกือให้ล้างออกด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาดโดยทันที สามารถทายาแก้อักเสบ และให้การรักษาได้ตามอาการ โดยทั่วไปอาการมักจะหายภายใน 1 สัปดาห์ หากมีอาการรุนแรงให้รีบมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยทันที"

อย่างไรก็ดี จาการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับอันตรายของกิ้วกือพบว่า 

อาการที่พบ 

  • ผู้สัมผัสจะทำให้เกิดการอักเสบเป็นผื่นแดงหรือทำให้ระคายเคืองในกรณีถูกพิษกิ้งถือเข้าตา
  • กิ้งกือบางสายพันธุ์เท่านั้นที่จะมีต่อมพิษอยู่ตลอดข้างลำตัวสามารถฉีดสารพิษพุ่งออกไปได้ไกล สารพิษมีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสี มีฤทธิ์ทำให้ผิวหนังไหม้แผลไหม้มีอาการปวด 2-3 วัน

การรักษา

  • หากถูกพิษของกิ้งกือให้ล้างด้วยน้ำสบู่และน้ำสะอาด
  • ทายาแก้อักเสบ อาการโดยทั่วไปมักหายภายใน 1 สัปดาห์
  • หากพิษเข้าตาอาจทำให้ตาอักเสบ ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาด และรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที