ตาแดงเป็นอาการของโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือไม่ เช็คที่นี่

18 เม.ย. 2566 | 10:34 น.

ตาแดงเป็นอาการของโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือไม่ เช็คที่นี่มีคำตอบ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยยันวิธีตรวจด้วย ATK ยังสามารถใช้ได้ตรวจโปรตีนโควิดพันธุ์ไหนก็ต้องมี แต่การตรวจ PCR จะตรวจได้เจอมากกว่า

ตาแดงเป็นอาการของโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือไม่ กำลังเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

หลังจากที่โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 มีผู้ติดเชื้อแล้วในประเทศไทย และกำลังเป็นที่จับตาของทั่วโลก

อย่างไรก็ดี ประเด็นที่สำคัญก็คือเรื่องของอาการที่บ่งชี้ว่าติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอาการคาแดง

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เพื่อไขข้อสงสัยเรื่องดังกล่าว พบว่า 

ล่าสุดนพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า อาการของโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 นั้น มีประเด็นเดียวที่สำคัญในอินเดีย โดยเฉพาะเด็ก พบลักษณะอาการทางคลินิกของโรคเยื่อบุตาอักเสบ มี "ตาแดง" คันตา มีขี้ตาร่วมด้วย หรือบางทีอาจลืมตาไม่ค่อยได้ แต่ไม่ได้มีหนองอะไร ซึ่งเกิดขึ้นได้ แต่ยังไม่มีตัวเลขชัดเจน 

อย่างไรก็ดี ต้องการเตือนว่าที่มีอินโฟกราฟิกออกมาแยกอาการจากโควิดต่างสายพันธุ์ เช่น ตาแดงไม่มีไข้ แสดงว่าเป็นโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 ซึ่งอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น โดยการมีอาการตาแดงหรือไม่มีย่อมไม่ได้หมายความว่าเป็น XBB.1.16 แต่อย่างใด

ตาแดงเป็นอาการของโควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือไม่

สำหรับการตรวจ ATK ยังตรวจพบได้ ที่บางคนบอกตรวจไม่ได้ ขอยืนว่าไม่จริง ยังสามารตรวจได้หมด เพราะการตรวจ ATK ตรวจโปรตีนโควิด ไม่ว่าพันธุ์ไหนก็ต้องมี เพียงแต่ต้องเข้าใจพื้นฐานของ ATK ด้วยว่าหากเชื้อไม่มากก็อาจหาไม่เจอได้ ซึ่งต้องใช้เวลาหลังติดเชื้อ 4-5 วัน แต่การตรวจ PCR จะตรวจได้เจอมากกว่า ยกเว้นชุดตรวจ ATK เสื่อมสภาพก็อีกเรื่องหนึ่ง

สถานการณ์สายพันธุ์ในประเทศไทยในช่วงสัปดาห์ที่ 8-14 เม.ย.66 มี 2 สายพันธุ์ต้องจับตามอง คือ XBB.1.16 และ XBB.1.9.1 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น โดยสายพันธุ์ XBB.1.16 ในไทยพบแล้ว 27 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 17 เม.ย.2566 ซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อในช่วงเดือนมี.ค.และเม.ย.2566 

"จากข้อมูลตอนนี้อาจมีความเป็นไปได้ที่ XBB.1.16 แพร่เชื้อในระดับที่มากกว่าสายพันธุ์ย่อย XBB.1 และ XBB.1.5 มีศักยภาพการหลบภูมิคุ้มกันคล้ายกับ XBB.1 และ XBB.1.5  และยังไม่มีหลักฐานเรื่องความรุนแรงเพิ่มขึ้น ที่สำคัญวัคซีนยังใช้ได้  ส่วน LAAB ยังใช้ได้ แต่ยอมรับว่าเมื่อเป็น XBB ก็ประสิทธิภาพอาจลดลงบ้าง"

นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ข้อมูลล่าสุดจากประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ยืนยันว่า อาการของ XBB.1.16 ไม่แตกต่างจากไข้หวัดใหญ่ อาการคล้ายกันมาก 

ส่วนอาการเยื่อบุตาอักเสบพบมากในผู้ป่วยเด็กเล็กในอินเดีย และคู่กับมีไข้ ย้ำว่าไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนักจนเกินไป ขณะที่ปัจจุบันวัคซีนโควิดยังได้ผลดี