"อาการฮีทสโตรก" เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน กลุ่มไหนเสี่ยงสูงเช็คเลย

11 เม.ย. 2566 | 03:53 น.

"อาการฮีทสโตรก" เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน กลุ่มไหนเสี่ยงสูงเช็คเลยที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมไว้ให้แล้ว หลังประเทศไทยเข้าสู่หน้าร้อน และมีอุณภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่าต่อเนื่อง

อาการฮีทสโตรกเป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน ยังคงเป็นคำถามที่ได้รับความสนใจอย่างมาก

หลังจากที่เวลานี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงหน้าร้อน และมีอุณภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ "ฐานเศรษฐกิจ" เพื่อไขคำตอบเรื่องดังกล่าว พบว่า 

4 อาการสำคัญของโรคฮีทสโตรก ได้แก่ 

  • เหงื่อไม่ออก 
  • สับสน มึนงง 
  • ผิวหนังเป็นสีแดง และแห้ง 
  • ตัวร้อนจัด 

กรมการแพทย์ได้มีการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ"ฮีทสโตรก" หรือโรคลมแดดว่า ฮีทสโตรกนั้น เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวหรือควบคุมระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่ออุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นจากการเผชิญกับสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง เช่น การออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมท่ามกลางอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน ซึ่งพบว่ามีอุบัติการณ์เพิ่มมากขึ้นในฤดูร้อน 

ส่วนอาการของโรคเป็นอย่างไรนั้น นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า อาการจะเริ่มจากอุณหภูมิร่างกายค่อย ๆ สูงขึ้น เมื่อเกิน 40 องศาเซลเซียส ร่างกายจะไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้รู้สึกผิดปกติ หน้ามืด ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ซึม สับสน 

ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว หายใจหอบ ตัวแดง หากปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการอาจส่งผลกระทบ ที่รุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเมื่อพบผู้ที่มีอาการจากโรคลมแดด ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดย 

สำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก ประกอบด้วย 

  • ผู้สูงอายุ 
  • เด็กเล็ก 
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ 
  • ประชาชนทั่วไป 
     

วิธีการป้องกัน "ฮีทสโตรก"

  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือกลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ หากสามารถเลี่ยงได้ 
  • ควรเลือกเวลาที่ต้องการทำกิจกรรมในช่วงเช้ามืด หรือระหว่างพระอาทิตย์ตกดิน 
  • ผู้ที่ชอบออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิร้อนจัด ควรดื่มน้ำให้มากเพียงพอ 
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น เครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน กาแฟ เหล้า เบียร์ หากไม่สามารถชดเชยน้ำได้มากพอจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคลมแดดได้ 
  • หากจำเป็นต้องออกไปกลางแจ้งควรมีอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด เช่น เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี หมวก ร่ม อุปกรณ์ ที่ควรพกติดตัวเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด 
  • การอยู่ในรถที่ติดเครื่องยนต์กลางแจ้ง ยังเพิ่มความเสี่ยงของการได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทจึงควรหลีกเลี่ยง