"ชัชชาติ" ดัน 3 ทางออก ปลุกกรุงเทพฯ ขึ้นแท่นเมืองสุขภาพดี

24 ก.พ. 2566 | 05:59 น.

"ชัชชาติ" ชูแนวคิด 3 ทางออก ดันกรุงเทพฯ สู่เมืองสุขภาพดี เร่งแก้ปัญหาระบบสาธารสุข กระตุ้นแผนเส้นเลือดฝอย ดันจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ-เพิ่มพื้นที่สีเขียว แนะใช้เครื่องยนต์มาตรยูโร 5 หนุนรถพลังงานไฟฟ้า สกัดฝุ่นPM2.5

นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนา THAN 2023 HEALTH AND WELLNESS SUSTAINABILITY หัวข้อ HEALTH IN THE CITY ว่า กทม.มองเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ City คือพื้นที่ที่คนมารวมกันเป็นจำนวนมากในพื้นที่ เมื่อมารวมกันจะทำให้พื้นที่กลายเป็นเมืองที่เกิดโรค เช่น การแพร่ระบาดจากเชื้อไวรัสโควิด-19ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆมาก หากพื้นที่ดังกล่าวไม่มี Healthy คงไปไม่รอด

\"ชัชชาติ\" ดัน 3 ทางออก ปลุกกรุงเทพฯ ขึ้นแท่นเมืองสุขภาพดี

"คำว่า Health และ City มาด้วยกันตลอด หากเมืองไม่ Healthy ประชาชนสุขภาพไม่ดี มีแต่คนป่วย ก็ไม่สามารถเป็น Hub Medical ได้"

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมากทม.จะพูดแต่เรื่องน้ำท่วม,การเก็บขยะ ทำให้งบประมาณไม่ได้นำไปใช้กับด้านสาธารณสุขมาก แต่หน้าที่หลักของกทม.คือการทำเมืองให้มีสุขภาพที่ดี ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1.เส้นเลือดฝอยและสุขภาพของคนกรุง ปัจจุบันพบว่าปัญหาสาธารณสุขในเมืองไทยอยู่ที่ระบบเส้นเลือดฝอยหรือระบบสาธารสุขปฐมภูมิ ซึ่งเมืองหรือคนเปรียบเหมือนร่างกายของคนที่มีทั้งระบบเส้นใหญ่และเส้นเลือดฝอยที่เข้มแข็ง ไม่ใช่ระบบใดระบบหนึ่งอ่อนแอ หากเส้นเลือดใดอ่อนแอ ระบบก็ตายเหมือนกัน

\"ชัชชาติ\" ดัน 3 ทางออก ปลุกกรุงเทพฯ ขึ้นแท่นเมืองสุขภาพดี

สำหรับระบบเส้นใหญ่ในไทยถือว่าแข็งแรง เพราะปัจจุบันมีโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (ตติยภูมิ)ที่เชี่ยวชาญในอันดับต้นๆของประเทศ ขณะที่โรงพยาบาลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) หรือทุติยภูมิ อย่าง โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน ที่ลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท จำนวน 600 เตียง รวมทั้งสามารถรองรับผู้ป่วยในช่วงสถานการณ์โควิด-19ได้

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันกทม.มีงบประมาณ ราว 80,000 ล้านบาท โดยเป็นการใช้งบประมาณด้านสาธารณสุข ราว 7,000 ล้านบาท คิดเป็น 8.8% ของงบประมาณทั้งหมด ซึ่งไม่รวมกับเงินอุดหนุนของสปสช.

 

"เราเชื่อว่าจะสามารถพัฒนาในเรื่องนี้ได้ ที่ผ่านมามีการใช้งบประมาณในการเก็บขยะ ประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี แต่ใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขเพียง 7,000 ล้านบาท หากสามารถจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้จะทำให้เรามีงบประมาณเหลือมาใช้ในด้านสาธารณสุขและด้านการศึกษาให้เข้มแข็งขึ้น"

 

สำหรับแนวทางการดำเนินงานของกทม. เบื้องต้นกทม.ได้มีการหารือร่วมกับสปสช. โดยใช้ศูนย์สาธารณสุขทั้ง 69 แห่ง ต้องทำหน้าที่เป็น Area Manager ดูแลประชาชนในพื้นที่ทุกกลุ่ม โดยเพิ่มบริการคลีนิคพิเศษเฉพาะทาง,เพิ่มบริการคลีนิคนอกเวลา,เครือข่ายบริการชุมชนในพื้นที่ (หมอเคลื่อนที่) ,เพิ่มเตียงพักคอย ฯลฯ เชื่อมโยงการรักษาโรงพยาบาลแม่ข่าย

\"ชัชชาติ\" ดัน 3 ทางออก ปลุกกรุงเทพฯ ขึ้นแท่นเมืองสุขภาพดี

ทั้งนี้กทม.มีแผนจะขยายเตียง จำนวน 10,000 เตียงในศูนย์สาธารณสุข เพื่อรองรับผู้ป่วย ซึ่งจะใช้เตียงจากผู้ป่วยภายในบ้านเป็น 1 ในระบบสาธารณสุข โดยส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลภายในชุมชน รวมทั้งการดึงประชากรแฝงเข้าสู่ระบบสาธารณสุขเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีประชากรแฝง ราว 3 ล้านคน ประชากรที่ลงทะเบียนกับสิทธิบัตรทองราว 1.5 ล้านคน ลงทะเบียนสปสช.ประมาณ 800,000 คน และประชาชนที่ไม่ได้เข้าระบบสาธารณสุขประมาณ 700,000 คน

 

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า 2.สังคมผู้สูงอายุและโรคคนเมือง ซึ่งเป็นสังคมที่น่ากังวลมาก เนื่องจากในกรุงเทพฯมีผู้สูงอายุเป็นอันดับ1ของประเทศและสูงเป็นอันดับ 2 เมื่อเทียบกับที่อื่นถึง 2 เท่า ขณะที่กลุ่มวัยรุ่นและคนทำงานจะขยับไปอยู่ในพื้นที่ชานเมืองมากขึ้น อีกทั้งในกรุงเทพฯพบว่ามีผู้สูงอายุที่มียังมีโรงไม่ติดเรื้อรังเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น โรคอ้วน,โรคมะเร็ง,โรคถุงลมโป่งพอง ฯลฯซึ่งเป็นโรคที่ใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขค่อนข้างมาก

\"ชัชชาติ\" ดัน 3 ทางออก ปลุกกรุงเทพฯ ขึ้นแท่นเมืองสุขภาพดี

ขณะเดียวกันยังพบว่าคนวัยทำงานกว่า 60% เป็นโรค Office Syndrome ที่นั่งทำงานเป็นเวลานาน ไม่ได้มีการขยับตัว จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึงและอักเสบ นอกจากนี้ในปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตของกทม.สูงถึง 7,500 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มคนวัยทำงาน อายุ21-59ปี ราว 60% สิ่งเหล่านี้กทม.ต้องสนับสนุน Preventive Care มากขึ้น โดยการผลักดันการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุทุกเขตและทุกแขวง รวมทั้งการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในการทำกิจกรรม เพื่อรองรับการเป็นเมืองผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบและเพิ่มสุขภาพจิตของประชาชนดีขึ้น ถือเป็นการลงทุนน้อย แต่ได้ผตอบแทนมากขึ้น ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายราว 110,000 บาทต่อปี ปัจจุบันมีการจัดตั้งชุมชนดังกล่าว 45 ชุมชน 360 ชมรม

 

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า 3.ปัญหาโรคทางเดินหายใจ หากถามว่าสาเหตุที่ทำให้กรุงเทพฯมีฝุ่นPM 2.5 มาก ซึ่งมาจาก2ปัจจัย คือ แหล่งกำเนิดฝุ่นและสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยาก พบว่าการเกิดฝุ่น PM 2.5 มาจากการขนส่งทางถนน 50-60% เช่น รถรถปิ๊กอัพ ราว 40-55% รถบรรทุกราว 20-35% และรถจักรยานยนต์ 5-10% ภาคอุตสาหกรรม 10-20% การเผาชีวมวล 10-20%

\"ชัชชาติ\" ดัน 3 ทางออก ปลุกกรุงเทพฯ ขึ้นแท่นเมืองสุขภาพดี

"หากจะดูแลสุขภาพด้านทางเดินหายใจ จะต้องดูแลด้านแหล่งกำเนิดฝุ่นให้ได้ก่อน"

 

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5 ของกทม.จะใช้มาตรการแก้ปัญหา ดังนี้ ระดับ 1 ค่าฝุ่นไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม. จำนวน 15 มาตรการ ,ระดับ 2 ค่าฝุ่นระหว่าง37.6-50มคก./ลบ.ม. จำนวน 7 มาตรการ,ระดับ 3 ค่าฝุ่นระหว่าง 51-75มคก./ลบ.ม. จำนวน 4 มาตรการ,ระดับ 4 ค่าฝุ่นมากกว่า 75 มคก./ลบ.ม. จำนวน 8 มาตรการ

 

 ทั้งนี้กทม.ได้มีการจัดตั้งศูนย์ฝุ่นสำหรับติดตามสถานการณ์ฝุ่น รวมถึงการเผาในพื้นที่และเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 โดยเป็นการพยากรณ์ล่วงหน้า 3 วันพร้อมทั้งระบุปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นการแจ้งเตือนผ่าน Line Alert เพื่อให้ประชาชนเตรียมรับมือ

 

นอกจากนี้หากจะแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นPM 2.5 ให้เด็ดขาดในอนาคตได้ควรใช้เครื่องยนต์ที่มีมาตรฐานสูงขึ้น เช่น เครื่องยนต์มาตรายูโร 5 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปี 2567 ทั้งนี้กทม.ได้มีโครงการต้นไม้ล้านต้นเพิ่มพื้นมี่สีเขียวในการดูดซับฝุ่นละอองและการสนับสนุน Eco system ในการใช้รถพลังงานไฟฟ้า เพิ่มจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าตามสถานที่ราชการและพื้นที่สาธารณะต่างๆ ปัจจุบันมีรถพลังงานไฟฟ้าในกรุงเทพฯราว 1,300 คัน รวมทั้งการปรับเมืองให้เป็นพื้นที่เมืองเดินได้ จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM2.5 ได้

\"ชัชชาติ\" ดัน 3 ทางออก ปลุกกรุงเทพฯ ขึ้นแท่นเมืองสุขภาพดี

"Health เป็นเรื่องสำคัญ เมืองไม่สามารถดีได้ถ้าเมืองไม่ Healthy ในอนาคตเราต้องใส่ใจ คงไม่ได้มองเมืองเป็น Medical Hub แต่มองว่าทำอย่างไรให้คนกรุงเทพฯอยู่อย่างมีสุภาพดี เป็นไปไม่ได้เลยที่จะมี Medical Hub ทั้งที่ประชาชนมีสุขภาพอ่อนแอ คนจำนวนมากมีความเหลือมล้ำด้านสุขภาพ โดยกทม.ต้องมุ่งเน้นสาธารสุขด้านปฐมภูมิ เพื่อทำให้กรุงเทพฯเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน"