สธ. หนุนแก้ปัญหายาเสพติด เตรียมเปิด "มินิธัญญารักษ์" ทั่วประเทศ 1 ธ.ค.นี้

30 ต.ค. 2566 | 05:35 น.

สาธารณสุข เร่งสร้างความเข้าใจการดำเนินงาน "มินิธัญญารักษ์" และการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนแก่ผู้ปฏิบัติงาน ยึดหลัก "เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย" จัดตั้ง "มินิธัญญารักษ์" 146 แห่ง เปิดพร้อมกันทั่วประเทศ 1 ธ.ค.นี้

30 ตุลาคม 2566 ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 โดยมี นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ รักษาราชการแทนรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหาร บุคลากรกระทรวงสาธารณสุข และผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดในพื้นที่ จำนวน 536 คน ร่วมประชุม

นพ.ชลน่าน รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ภายใต้ความร่วมมือของทุกหน่วยงาน โดยยึดหลัก "เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย" สนับสนุนให้ผู้เสพเข้ารับการบำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด 

สธ. หนุนแก้ปัญหายาเสพติด เตรียมเปิด \"มินิธัญญารักษ์\" ทั่วประเทศ 1 ธ.ค.นี้

ด้วยการพัฒนารูปแบบการเข้ารับบริการที่เชื่อมโยงตั้งแต่ศูนย์คัดกรอง สถานพยาบาลยาเสพติด สถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และศูนย์ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ภายใต้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 และได้กำหนดให้เป็นหนึ่งในนโยบายหลักของกระทรวงสาธารณสุขที่จะต้องเร่งรัดดำเนินการให้เห็นผลภายใน 100 วัน (Quick win) โดยมีเป้าหมายการดำเนินการ 3 เรื่อง คือ 

1.จัดตั้งมินิธัญญารักษ์ ดูแลผู้ป่วยยาเสพติดระยะยาวให้ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ ปัจจุบันมีโรงพยาบาลชุมชนที่ประสงค์จัดตั้งมินิธัญญารักษ์ 146 แห่ง รองรับผู้ป่วยยาเสพติดได้ทั้งสิ้น 1,957 เตียง แบ่งเป็น

รูปแบบ Intermediate Care 692 เตียง และ Long Term Care 1,265 เตียง โดยจะเปิดบริการผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในรูปแบบมินิธัญญารักษ์ทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ธันวาคม 2566 นี้

สธ. หนุนแก้ปัญหายาเสพติด เตรียมเปิด \"มินิธัญญารักษ์\" ทั่วประเทศ 1 ธ.ค.นี้

2.มีหอผู้ป่วยจิตเวชทุกจังหวัด โดยปัจจุบันมีเตียงจิตเวช 7,796 เตียง หอผู้ป่วยจิตเวช (Ward) 69 แห่งใน 58 จังหวัด หรือคิดเป็นร้อยละ 76.32 ของจังหวัดทั่วประเทศ 

3.มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดทุกอำเภอ ปัจจุบันโรงพยาบาลชุมชนทั้งหมด 776 แห่ง มีกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดแล้ว 626 แห่ง (ร้อยละ 80.67) ที่เหลืออีก 150 แห่ง อยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ จะช่วยสร้างความเข้าใจในนโยบายการดำเนินงานบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

สธ. หนุนแก้ปัญหายาเสพติด เตรียมเปิด \"มินิธัญญารักษ์\" ทั่วประเทศ 1 ธ.ค.นี้

เกิดการพัฒนารูปแบบการดำเนินงาน "มินิธัญญารักษ์" และการบำบัด รักษาผู้ติดยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (Community Based Treatment : CBTx) ที่ชัดเจนในทุกจังหวัด เพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าถึงบริการคุณภาพตั้งแต่ระยะแรก และสามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชนได้อย่างเป็นปกติ

 

สธ. หนุนแก้ปัญหายาเสพติด เตรียมเปิด \"มินิธัญญารักษ์\" ทั่วประเทศ 1 ธ.ค.นี้