ทำความรู้จัก “ไข้หวัดมะเขือเทศ” หลังระบาดในอินเดีย

25 ส.ค. 2565 | 17:05 น.

ทำความรู้จัก “ไข้หวัดมะเขือเทศ” หลังระบาดในอินเดีย ไวรัสใหม่ ลามแล้วใน 4 รัฐ พบผู้ติดเชื้อแล้วอย่างน้อย 80 คน

"ไข้หวัดมะเขือเทศ" ตรวจพบครั้งแรกในเด็ก ที่รัฐเกรละ ทางตอนใต้ของ ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 65 กระทรวงสาธารณสุขของอินเดียเพิ่งประกาศแนวทางการป้องกัน การตรวจเชื้อ และการรักษาโรค หลังพบว่ามีการระบาดของไข้หวัดมะเขือเทศใน รัฐเกรละ รัฐทมิฬนาฑู รัฐโอริสสา และรัฐหรยาณา  "ไข้หวัดมะเขือเทศ" เป็นโรคใหม่ที่เกิดกับเด็กใน อินเดีย ซึ่งกำลังหาสาเหตุว่ามาจากอะไร

 

ไข้หวัดมะเขือเทศถูกพบครั้งในเด็กที่อาศัยอยู่ในรัฐเกรละตั้งแต่เดือน พ.ค. ต่อมา บทความจากวารสารทางการแพทย์ Lancet Respiratory Medicine ระบุว่า มีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ทั้งหมด 82 รายถูกพบว่าติดไวรัสในรัฐเกรละ ในช่วงปลายเดือน ก.ค.

"ไข้หวัดมะเขือเทศ" เกิดขึ้นในขณะที่อินเดียมีผู้ป่วย โควิด เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ควบคู่ไปกับกรณีของ ไข้หวัดหมู ซึ่งพบว่ากลับมาระบาดเพิ่มอีกครั้ง

 

ทำไมเรียก "ไข้หวัดมะเขือเทศ"

  • ทำให้เกิดแผลพุพองสีแดงที่เจ็บปวดในร่างกายและติดต่อได้ง่ายเมื่อสัมผัสใกล้ชิด
  • เด็กจึงมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ
  • การวินิจฉัยโรคไข้หวัดมะเขือเทศเป็นเรื่องยาก เนื่องจากอาการของโรคจะคล้ายกับอาการของ โควิด19 ชิคุนกุนยา และ ไข้เลือดออก

 

"ไข้หวัดมะเขือเทศ" อาการอย่างไร

  • มีผื่น
  • มีไข้สูง
  • มีอาการบวมตามข้อ
  • ปวดเมื่อย
  • อ่อนเพลีย
  • พุพองสีแดงคล้ายมะเขือเทศ

 

 

 

 

 

 

ซึ่งในปัจจุบัน "ไข้หวัดมะเขือเทศ" เกิดขึ้นในขณะที่อินเดียมีผู้ป่วย โควิด เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา ควบคู่ไปกับกรณีของ ไข้หวัดหมู ซึ่งพบว่ากลับมาระบาดเพิ่มอีกครั้ง

 

 

 

สาเหตุที่โรคนี้ถูกเรียกว่า "ไข้หวัดมะเขือเทศ" เนื่องจากทำให้เกิดแผลพุพองสีแดงที่เจ็บปวดในร่างกายและติดต่อได้ง่ายเมื่อสัมผัสใกล้ชิด เด็กจึงมีความเสี่ยงเป็นพิเศษ การวินิจฉัยโรคไข้หวัดมะเขือเทศเป็นเรื่องยาก เนื่องจากอาการของโรคจะคล้ายกับอาการของ โควิด19 ชิคุนกุนยา และ ไข้เลือดออก

 

 

 

 

ทั้งนี้ เมื่อพบเด็กป่วย ผู้ปกครองต้องคอยระวังให้เด็กอย่าเกา หรือทำให้ตุ่มแตก และควรรีบนำเด็กพบแพทย์สุขอนามัยเบื้องต้น ซึ่งการป้องกันจะคล้ายกับโรค ไข้หวัดใหญ่ คือ ปิดจมูกปาก เมื่อไอหรือจาม, หมั่นล้างมือ, หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น และเมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรมจนกว่าจะหายเป็นปกติ

 

 

 

การติดเชื้อไวรัส "ไข้หวัดมะเขือเทศ" ยังอยู่ในสถานะเฉพาะถิ่น และถือว่าไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต