Covid Rebound เกิดจากอะไร เกี่ยวกับยาต้านไวรัส อย่างไร

02 ส.ค. 2565 | 17:05 น.

Covid Rebound เกิดจากกินยาต้านไวรัสครบ แต่กลับมาติดเชื้อซ้ำ เกี่ยวกับยาต้านไวรัสอย่างไร ขณะที่ประเทศไทยเจอแล้ว 2 ราย

จากกรณี นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตรวจพบเชื้อโควิด-19 ซ้ำภายในเวลาเพียง 4 วันหลังผลตรวจเป็นลบ ส่งผลให้ประเด็นการกลับมาป่วยซ้ำหลังได้รับยาต้านไวรัสหรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า “Covid rebound” ซึ่งก็คือ กินยาต้านไวรัสครบ แต่กลับมาติดเชื้อซ้ำ 

ขณะที่ในประเทศไทย เมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาพบ ปัญหาภาวะรีบาวด์เกิดขึ้นแล้วกับผู้ป่วยไทย 2 คน ซึ่งผู้ป่วยในไทยเองที่พบเป็นผู้ป่วย 60 ปีขึ้นไป คนแรกอายุ 60 ปี มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดัน ได้รับยาโมลนูพิราเวียร์จนหาย แต่เมื่อวันที่ 13-14 กลับมาตรวจ ATK พบผลบวก ผู้ป่วยมีอาการไอเล็กน้อย จึงให้คำแนะนำ ให้ติดตามอาการเท่านั้น จากนั้นไม่นานผลตรวจ ก็เป็นลบ

อีกคนเป็นผู้ป่วยอายุ 70 ปี ไปต่างประเทศ รับยาจากต่างประเทศ หลัง 14 วัน พบตรวจ ATK เป็นบวก จึงไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่ารีบาวด์เกิดได้จากอะไร

 

แต่อย่างไรก็ตาม นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า ภาวะการรีบาวด์ อาจเกิดจากซากเชื้อ หรือผลบวกลวงของ ATK หรือมาจากอะไร แต่หากอยู่ในความดูแลของแพทย์ การจ่ายยาก็อยู่ในความดูแของแพทย์ จึงมีกรณีบางคนอาจจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT PCR อีกครั้ง แต่หากมีอาการปกติก็ให้สังเกตอาการต่อ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ต้องการให้ผู้ป่วยใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล

 

เพราะการให้ยาต้านไวรัสที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกวิธี ไม่เหมาะกับผู้ป่วย อาจทำให้เกิดข้อเสียในเรื่องการดื้อยา ซึ่งปรากฎการณ์นี้ อาจเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ สำหรับการใช้ยาต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และคนทั่วไปไม่จำเป็นต้องกินยาทุกคน