“รมต.สาธิต"รับกลางสภาผู้ติดโควิด-19 รายวัน 3 หมื่นคน อาการไม่รุนแรง

08 ก.ค. 2565 | 04:59 น.

“สาธิต"รมช.สาธารณสุข ตอบกระทู้ถามสดยอมรับยอดผู้ติดโควิด-19 รายวัน 3 หมื่นคน แต่รายงานตัวเลขให้เหมาะกับสถานการณ์ ชี้สายพันธุ์ BA4-5 อาการไม่รุนแรง

วันนี้(8 ก.ค.65) ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข ชี้แจงช่วงกระทู้ถามสดต่อสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งล่าสุดพบการติดเชื้อของประชาชนในหลายพื้นที่จำนวนมาก ถามโดยนายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย  พร้อมกับตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 ระลอก 5


นายสาธิต ยอมรับว่า ทิศทางการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น แต่จะมีตัวเลขเท่าไรนั้น สาธารณสุขมีตัวเลข แต่การรายงานข้อมูลนั้นเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตัวเลขจากการรายงานของกรมควบคุมโรค ที่บันทึกในรายการผู้ที่ติดเชื้อและรักษาตัวที่บ้าน รวมถึงการรักษาที่หน่วยบริการสถานพยาบาล แบบเจอ แจก จบ  ภาพรวมกรติดเชื้อ อยู่ที่ 2.7แสนคน 

ส่วนข้อมูลรายวัน ตามที่ตนตรวจสอบกับ สปสช. ล่าสุด เมื่อวันที่  4 ก.ค.คือ จำนวน 1หมื่นคน ดังนั้น เมื่อประมาณจากลงทะเบียน คาดว่าจะมีตัวเลขผู้ติดเชื้อ วันละ 3 หมื่นคน

 

“พัฒนาการกลายพันธุ์ของไวรัส BA4-5 พบว่ามีผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่ม 30% ไทยก็เพิ่ม แต่จากการจับตามอง พบว่าการติด BA4-5 ไม่มีอาการรุนแรงที่มีนัยสำคัญ ดูได้จากผู้ป่วยที่ใส่ท่อหายใจ มีประมาณ  327 รายไม่เพิ่มขึ้น และไม่ป่วยรุนแรง 

 

 

สำหรับอัตราครองเตียงมีพื้นที่รองรับได้ ไม่มีอาการรุนแรง ไปกินสมุนไพรไทย หรือจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ หรือจ่ายยาตามโรคประจำตัว ดังนั้นการสู้ตามสถานการณ์ของโควิด BA45 ทำให้การผ่อนคลาย ต้องควบคู่กับการรักษาศักยภาพเ และการผ่อนคลายเศรษฐกิจ “ นายสาธิต ชี้แจง



รมช.สาธาณสุข กล่าวด้วยว่า อัตราของผู้ติดเชื้อจากการติดเชื้อจากต่างประเทศมีไม่เยอะเท่ากับคนไทยติดเอง ดังนั้น จึงรณรงค์ต่อมาตรการสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่ปิดนอกจากนั้นยังแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-29 เข็มกระตุ้นด้วย

 

ทั้งนี้ยอมรับว่าคนที่ฉีดวัคซีนครบจำนวนแต่ติดโควิด ทำให้คนไม่อยากไปฉีด


“การฉีดวัคซีนขึ้นอยู่กับความสมัครใจ แต่ต้องป้องกันอาการรุนแรงและการเสียชีวิต ใช้สถานการณ์ติดเชื้อมากให้ฉีดเข็มกระตุ้นมากที่สุด โดยเข็ม 3 ทำได้ตามเป้าหมาย 60% ขณะนี้ต้องรณรงค์การฉีดวัคซีนให้มากขึ้น ปัจจุบันวัคซีนมีเพียงพอ แต่มีคนต้องการฉีดน้อยลง 


ส่วนการจ่ายยาผู้ติดโควิด ขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์  ฟาวิพิราเวียร์ไม่ใช่ยารักษาโควิด หลายประเทศใช้ไม่ได้ผล แต่ของไทยใช้ได้ผล ข้อมูลของญาติสุทิน คลังแสง รับบริการที่รพ.มหาสารคาม ตั้งครรภ์ 10 สัปดาห์ วินิจฉัยให้ยาตามอาการ ทั้งนี้ผู้ตั้งครรภ์การจ่ายงานมีความละเอียดอ่อน” นายสาธิต ชี้แจง