Startup กับ Trend

27 ส.ค. 2559 | 14:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

Trend หมายถึงแนวปฏิบัติที่เป็นที่นิยม หรือ ได้รับการตอบรับที่ดีจากลุ่มคน เช่น fashion trend คือ fashionที่กำลังเป็นที่นิยม เห็นได้ว่าถ้าธุรกิจใดที่ได้ตาม Trendได้ทันก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก ดังนั้นในงานวิจัยต่างๆ ก็จะมีการทำวิจัยในด้านTrend อยู่เป็นจำนวนมาก หรือถ้ามองด้านเศรษฐศาสตร์ก็จะใช้ตัว Market Trend เป็นตัวบอกว่าขณะนี้ตลาดการเงินกำลังอยู่ในขาขึ้น (Bull Market) หรือ กำลังอยู่ในขาลง (Bear Market) ในด้านของสถิติก็มีหัวข้อที่เรียกว่า Trend Estimation ซึ่งเป็นเทคนิคทางสถิติที่ใช้ช่วยในการวิเคราะห์และทำความเข้าใจข้อมูลโดยที่อนุกรมเองค่าที่ได้จะเก็บในลักษณะอนุกรมเวลาและใช้กลุ่มของค่าที่ได้วัดเหล่านี้มาใช้ในการอธิบายว่าค่าที่ได้วัดเหล่านี้ น่าจะเพิ่มขึ้น เท่าเดิมหรือลดลงในอนาคต

[caption id="attachment_89929" align="aligncenter" width="500"] Market Trend Market Trend[/caption]

ตัวอย่างของบริษัทที่ได้นำการศึกษาด้าน trend มาใช้สร้างประโยชน์ให้กับองค์กรอย่างจริงจัง คือ Google โดยจัดออกมาอยู่ในรูปการให้บริการทาง web โดยใช้ชื่อว่า “Google Trends”ข้อมูลที่สามารถสืบค้นได้จาก Google Trends นี้ได้ถูกนำไปทำงานวิจัยหลากหลายด้าน ทั้งเพื่อเพิ่มประโยชน์ทางธุรกิจ โดยใช้ข้อมูลเหล่านี้สามารถใช้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน นอกจากนี้ข้อมูลที่หาได้จาก Google Trends ก็ยังได้ถูกนำไปทำประโยชน์ให้กับสังคมได้อีกด้วย

ในปี 2012 Tobias Preis, Helen Susannah Moat, H. Eugene Stanley และ Steven R. Bishop ใช้ Google Trends แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ Internet จากประเทศที่มี GDP สูงนั้น มีโอกาสที่จะใช้ Googleหาข้อมูลเกี่ยวกับอนาคตมากกว่าสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับอดีตผลของงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าอาจจะมีความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมออนไลน์ของประชากรกับตัวชี้วัดด้านเศรษฐกิจของโลก

ในปี 2012 บริษัทสตาร์ตอัพ ชื่อ Chapul เริ่มทดลองขายจิ้งหรีดโปรตีน บาร์ ด้วยเงินเพียง $16,065 ด้วยเวลาไม่ถึงปี Chapul สามารถทำยอดขายได้จากออนไลน์มากกว่า $400,000 นอกจากบริษัท Chapulแล้วยังมีอีกหลายบริษัทที่เข้ามาธุรกิจอาหารที่นำจิ้งหรีดมาทำเป็นอาหาร ธุรกิจอาหารที่ใช้แมลงเหล่านี้เติบโตอย่างรวดเร็ว และประสบความสำเร็จได้ดี จนถึงกับมีการเปิดทำฟาร์มแมลงในประเทศไทยเพื่อที่จะนำส่งตลาดการผลิตอาหารในอเมริกาเลยทีเดียว

[caption id="attachment_89928" align="aligncenter" width="500"] Market Trend Market Trend[/caption]

บริษัทที่ทำฟาร์มแมลงที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ บริษัท AgriProtein ในแอฟริกาใต้ โดยมีแมลงวันมากกว่า 8.5 พันล้านตัว โดยที่แมลงวันเหล่านี้จะมีผลผลิตตัวหนอนซึ่งสามารถนำไปขายเป็นโปรตีนได้มากกว่า 30 ตัน ต่อวัน

ตัวอย่างที่ได้กล่าวมานี้คือ “Foodtrends” ที่จะหาสารอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ นอกจากสิ่งที่เคยเป็นตัวหลักทั่วไป เช่นความพยายามที่จะสกัดโปรตีนจากสาหร่าย จากแมลง เป็นต้น เมื่อวิเคราะห์เพิ่มเติมจาก Food trendsนี้เห็นได้อีกว่าจำนวนของผู้ที่ยินดีที่จะกินอาหารที่ทำจากแมลงมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในมุมมองวิศวกรรมข้อมูล หรือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล สิ่งที่น่าสนใจจากกรณีศึกษาเหล่านี้ คือข้อมูลอะไรที่จะต้องจัดหามา และจะต้องวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นอย่างไรจึงจะสามารถบอก Trend ออกมาได้ ยิ่งไปกว่านั้นคือข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำนาย Trend ในอนาคตได้หรือไม่ และถ้าจะทำต้องทำอย่างไร

ก่อนที่จะได้เริ่มทำการวิเคราะห์ Trend นั้น จำเป็นที่จะต้องเริ่มด้วยการพิจารณาข้อมูล และควรมีความเข้าใจข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ด้วย เช่น ในกรณีของ Google นั้น Google เริ่มจากคำถามที่ว่าจะสามารถตอบคำถามว่า Food Trend ปี 2016 จะเป็นอย่างไร แล้วจึงเริ่มพิจารณาจากข้อมูลการสืบค้นของผู้ใช้ Google Search Engine ในรายละเอียด

ด้วยจำนวนของข้อมูลที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน รวมทั้งยุคของ“Big Data”ทำให้นักวิเคราะห์สามารถนำข้อมูลเข้ามาได้จากหลากหลายแหล่ง ทั้งจากSocial Network ต่างๆที่ผลิตข้อมูลอย่างมหาศาลอยู่ตลอดเวลาโอกาสเหล่านี้น่าจะช่วยให้ผู้ที่สนใจจะทำ Startup หันมาพิจารณาในการทำ Startup ที่สามารถให้บริการด้านนี้ได้

ท้ายสุดขอฝาก 4 ข้อที่ต้องใส่ใจให้ผู้ที่สนใจจะทำ Startup ด้านการให้บริการด้านวิเคราะห์Trend เพื่อที่จะช่วยให้ผลวิเคราะห์มีความน่าเชื่อถือ

1. พิจารณาให้ชัดเจนว่าข้อมูลที่มีอยู่นี้ได้ผ่านกระบวนการเก็บมาอย่างไร เชื่อถือได้หรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจให้เก็บใหม่สักสามเดือนก่อนที่จะนำมาใช้

2. ต้องอย่าลืมว่าข้อมูลที่นำมาใช้วิเคราะห์นั้น คือ ข้อมูลในอดีต แปลว่ายิ่งเก่ายิ่งอาจจะส่งผลกับการวิเคราะห์ซึ่ง Trend อาจมีความผิดพลาดได้สูง

3. ต้องเข้าใจว่าข้อมูลที่ได้นั้น อาจจะมีช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ช่วงฤดูร้อน ช่วงฤดูหนาว ซึ่งถ้าไม่พิจารณาการเลือกช่วงให้ดี และไม่เข้าใจวัฎจักร เหล่านี้ก็จะทำให้การวิเคราะห์ผิดพลาดได้

4. อย่าลืมที่จะทำ Data Segmentation เพื่อที่จะสามารถแบ่งข้อมูลมาใช้วิเคราะห์ตามความเหมาะสมได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น Segment ตามประเทศ หรือ Segment ตาม GDP ของประเทศ การทำ Segment เหล่านี้ช่วยให้สามารถพิจารณา Trend ได้อย่างตรงจุดเป้าหมายมากที่สุด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,186 วันที่ 25 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559