ยึดที่รุกป่า/ส.ป.ก.แจกชาวบ้านทำกินรวมตั้งสหกรณ์

23 ก.ค. 2559 | 09:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

รมว.กระทรวงทรัพย์ชูนโยบาย พลิกฟื้นผืนป่าจัดทำแผน20 ปี ยึดที่ป่าอุทยานส.ป.ก.ได้ นำเข้ารัฐตั้งสหกรณ์คลอดกฎหมายรองรับที่ทำกิน เน้นรวมกลุ่ม มีระบบการเงินหมุนเวียนนำร่องแล้ว10 จังหวัด 80 พื้นที่ เป้าหมาย 2-3 ล้านไร่ พร้อมทั้งสนับสนุนท้องถิ่น7,000 แห่งเน้นสีเขียว เผยบิ๊กตู่ชูเป็นนโยบายระดับชาติ

พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ" ว่าแม้การบุกรุกป่าจะหยุดลง แต่ในทางปฏิบัติยังปรากฏอยู่ แต่ถือว่ามีไม่มากนัก ซึ่งปัจจุบันกรมมีพื้นที่ป่าไม้ 102 ล้านไร่ และหลังจากเปิดยุทธการทวงคืนผืนป่าระหว่างปี 2557 -2558 พบว่าการจัดยึดจะมีคนติดมาด้วยซึ่งเป็นทั้งประชาชนและผู้มีอิทธิพลและมีการดำเนินคดี รวมทั้งในกรณีที่ไม่ใครมาแสดงสิทธิ์ ก็จะยึดเป็นของรัฐ

ซึ่งรัฐบาลมีนโยบายจัดสรรที่ดิน ตามโครงการคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติซึ่งล่าสุดจัดสรร 80 พื้นที่ 47 จังหวัด 3.2 แสนไร่ ซึ่ง 2 แสนไร่ ดำเนินการใน 10 จังหวัด และมีเป้าหมายนำที่ดินมาจัดสรรให้เกษตรกร 2-3 ล้านไร่

อย่างไรก็ดีเมื่อทวงคืนผืนป่าและมีการบังคับใช้กฎหมายที่ยุ่งยาก เพราะ มีทั้งคนยากจนที่บุกรุกเพื่อเข้าไปทำกินจริงๆ และ คนจนที่เป็นนอมินีคนรวย แต่ เมื่อเข้าไปดำเนินการปรากฎว่า ไม่สามารถดำเนินการเอาผิดเจ้าของที่อยู่เบื้องหลังได้ เพราะไม่เป็นที่เปิดเผย ส่งผลให้ยุทธการทวงคืนผืนป่าไม่ตอบโจทย์ เราจึงขยายนโยบายเป็นโครงการ" พลิกฟื้นผืนป่าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยื่น"

ประกอบด้วยมีโยบายคือ 1.การสร้างความเข้าใจ โดยใช้นโยบายประชารัฐ ซึ่งจะพัฒนาตัวเจ้าหน้าที่ด้วยการ เปิด สถาบันพิทักษ์ ป่าที่จังหวัดแพร่ สถาบันพิทักษ์ทะเลที่จังหวัดภูเก็ตเป็นต้น ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนจากกลไกประชารัฐของรัฐบาลเดิมโดยเรียนรู้เรียนรู้กฎหมายเพื่อไม่ให้ ผิดกฎหมาย คือ ทัศนคติดี ต่อประชาชน เห็นประชาชนเหมือนญาติเรียนรู้ประชาชนเหมือนญาติ เน้นความรู้ความสามารถดี สุขภาพร่างกายดี ปิยวาจาดี และมนุษย์สัมพันธ์ดี ถ้าเรามีอย่างไม่ต้องใช้กฎหมายก็อยู่ร่วมกันได้

นโยบายที่ 2 การใช้วันแมพ แก้ปัญหาทับซื้อเขตที่ดินรัฐ และ3.โนโยบายทวงคืนผืนป่า ซึ่งโครงการนี้ คือ 1ในมาตรการ ที่ต่อไปจะไม่ใช่อันโดดเดี่ยว เรามีหน่วยในพื้นที่ ร้องขอส่วนกลางจะมีพยัคไพรฉลามขาว ทีมคนไม่มาก แต่มีทหารตำรวจ ให้ความร่วมมือเป็นต้น อย่างไรก็ดีเมื่อได้ที่ดินจากการยึดคืนจากผู้บุกรุกมาแล้ว จะเข้าสู่นโยบายที่ 4 คือ จัดที่ดินทำกินให้ผู้ยากไร้ ซึ่งจะต้องเป็นชาวบ้านที่ยากจนจริงๆ และต้องมีแหล่งน้ำ อาทิ จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งเป็นหนึ่งใน10 จังหวัดที่ดำนินโครงการจะนำพื้นที่มาทำเกษตรกรรม และ5 นโยบาย เพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว ซึ่ง จะไม่ให้เน้นพื้นที่ป่าสงวนและอุทยานเพียงอย่างเดียว แต่จะเน้น ให้ประชาชนทั่วไปร่วมกันสร้างพื้นที่สีเขียว

อย่างไรก็ดี ได้เร่งฟื้นฟูป่า ซึ่งมีทั้งหมด 32 ล้านไร่ เป็นเขาหัวโล้น13 จังหวัด จะให้เพิ่มพื้นที่สีเขียว 3.5 แสนไร่ นอกจากนี้ ยังเน้นการ อนุรักป่าชุมชน 2.4หมื่นหมู่บ้าน ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 9,000 หมู่บ้าน อีกทั้งยังให้มุ่งเน้นส่งเสริมอุตสาหกรรมป่าไม้ป่าพุ เป็นต้นทุน ในการเพิ่มพื้นที่ป่า จะส่งเสริมให้ประชาชนปลูกไม้มีค่า อาทิ ไม้สัก ไม่มะค่าฯลฯ เป็นเงินออม ในวันข้างหน้า เพื่อให้ เกิดแรงจูงใจเพื่อให้ได้ประโยชน์ คืนต่อชุมชนและ ผู้ที่ปลูกในพื้นที่อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังส่งเสริมชุมชนสีเขียว ซึ่งเรื่องนี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำหนดให้เป็นงานระดับชาติ ขณะนี้จะมีการประชุมประกวดชุมชนและเมืองสีเขียงเชื่อว่าเรามี ชุมชนเทศบาล7,000 แห่ง คาดว่าอีก 20ปี หรือ 2579ซึ่งได้จัดทำเป็นร่างแผน ข้างหน้า จะมีพื้นที่ป่า ที่ทำได้จริง 38-40 ล้านไร่ และ ขณะนี้ มีอยู่ 32 ล้านไร่

ส่วน เอกชนที่ถูกยึดจาก แผนทวงคืนผืนป่าช่วงแรก 2-3 แสนไร่ ซึ่งนักลงทุนรายใหญ่มี ไม่มาก ซึ่งภาพรวม ที่ มีรีสอร์ต ถุฏดำเนินคดี 1,000 ราย ที่กรมป่าไม้ อยู่ระหว่างดำเนนิการ อาทิ กาจนบุรี เชียงใหม่ ฯลฯ แต่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอน ส่วนภูทับเบิก คดีจบไปแล้วแต่ ผู้บุกรุกยังไม่ออกจากพื้นที่จึงใช้มาตรา 44 แต่กรณีโฮมสเตส ของคนในพื้นที่เราอยู่ระหว่างการจับกุม สำหรับที่ดินส.ป.ก. ที่ทั้งหมด 4แสนไร่ บางคดีจบแล้ว แต่ไม่ออกจากพื้นที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายต้องฟ้องศาลออก ทางส.ป.ก.จึงใช้มาตรา 44 ดังกล่าว

อย่างไรก็ดี ที่ดินดังกล่าว เป็นที่ป่าไม้ มอบให้สำนักงานการปฎิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ( ส.ป.ก.) จัดสรรให้เกษตรกร ซึ่ง ขณะนี้ ได้ยึดคืนมา 1,500 ไร่ซึ่งมี เจ้าของเพียง 1-2 ราย แต่ขณะนี้ รัฐ ได้นำมาให้ชาวบ้านขึ้นทะเบียนที่กระทรวงเกษตร และหาแหล่งน้ำเพิ่ม และรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ รวมทั้งที่ป่าพุที่ชุมพรที่บุกรุก ป่าชายเลน 3,000 ไร่ซึ่ง ผู้บุกรุกได้ส่งคืนพื้นที่แล้ว

ทั้งนี้ แผน 20 ปี ที่จะบูรณาการป่าให้กลับมาเขียวดังเดิม โดยปี 2559-2560 ที่จะเห็นเป็นรูปธรรมคือการจัดกุม และนำที่ดินมาจัดสรรให้เกษตรกร โดยล่าสุดได้ออกกฎหมายมารองรับซึ่งที่ดินที่ยึดมา จะไม่สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ แต่จะเน้นรูปแบบให้สหกรณ์มีหุ้นส่วน โดยหลักส่งเสริมให้เขาหมุนทั้งเงินในระบบได้

Photo : Pixabay
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,176 วันที่ 21 - 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2559