7 วันอันตรายสงกรานต์ 2568 อุบัติเหตุ บาดเจ็บ - เสียชีวิตรวม 171 ราย

16 เม.ย. 2568 | 08:34 น.
อัปเดตล่าสุด :16 เม.ย. 2568 | 08:55 น.

7 วันอันตรายสงกรานต์ 2568 วันที่ 5 ปภ.สรุปอุบัติเหตุระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน เช็กรายละเอียดจังหวัดไหนอุบัติเหตุมาสุด และ เสียชีวิตมากสุด เช็กที่นี่

7 วันอันตรายสงกรานต์ 2568   เทศกาลสงการนต์ 2568 ซึ่งเป็นวันปีใหม่ไทย ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปรากฏว่าเกิดอุบัติและเสียชีวิต เนื่องจากการขับขี่บนท้องถนน  ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 ประจำวันที่ 16 เมษายน 2568 เปิดเผยว่า ได้สรุปเหตุการณ์ดังนี้

สรุปข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์  2568 วันที่ 5 ดังนี้

สำหรับข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 ประจำวันที่ 15 เมษายน 2568 ซึ่งเป็นวันที่ห้าการรณรงค์ “ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ” ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2568 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและความร่วมมือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 15 เมษายน 2568

  • เกิดอุบัติเหตุ 214 ครั้ง
  • ผู้บาดเจ็บ 209 คน
  • ผู้เสียชีวิต 27 ราย

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่

  • ขับรถเร็ว ร้อยละ 36.92
  •  ดื่มแล้วขับ 31.31
  • และทัศนวิสัยไม่ดี ร้อยละ 20.09 ยานพาหนะที่เกิด

 

7 วันอันตรายสงกรานต์ 2568

 

7 วันอันตรายสงกรานต์ 2568

 

อุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่

  • รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 85.32
  • ส่วนใหญ่เกิดบนเส้นทางตรง ร้อยละ 87.38 ถนนกรมทางหลวง ร้อยละ 36.45 ถนนในอบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 33.18 ถนนกรมทางหลวงชนบท ร้อยละ 14.95

 

ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่

  • เวลา 18.01 -21.00 น. ร้อยละ 22.90
  • เวลา 15.01 – 18.00 น. ร้อยละ 20.56
  • และเวลา 00.01 – 03.00 น. ร้อยละ 13.55

ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด

  • อยู่ในช่วงอายุ 20-29 ปี ร้อยละ 20.34
  • จัดตั้งจุดตรวจหลัก 1,764 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 51,039 คน

 

จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด

  • ประจวบคีรีขันธ์ (10 ครั้ง)

จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่

  • ประจวบคีรีขันธ์ (13 คน)

จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่

  • พิษณุโลก (3 ราย)

สรุป : อุบัติเหตุทางถนนสะสมในช่วง 5 วันของการรณรงค์ (11 เมษายน – 15 เมษายน 2568)

  • เกิดอุบัติเหตุรวม 1,216 ครั้ง ผู้บาดเจ็บรวม 1,208 คน
  • ผู้เสียชีวิต รวม 171 ราย จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต (ตายเป็นศูนย์) มี 21 จังหวั

 จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่

  • พัทลุง (44 ครั้ง)

จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่

  • ลำปาง (47 คน)

จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่

  • กรุงเทพมหานคร (15 ราย).

ที่มา: