svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม thansettakij

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
thansettakij

ข่าวดี!ฉีดวัคซีนหลังเสี่ยงสูงติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" ลดความรุนแรงของโรคได้

07 สิงหาคม 2565

ข่าวดี!ฉีดวัคซีนหลังเสี่ยงสูงติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" ลดความรุนแรงของโรคได้ ดร.อนันต์เผยข้อมูลจากฝรั่งเศส ระบุเป็นการเก็บข้อมูลจากผู้เสี่ยงสูงจำนวน 276 คน

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว (Anan Jongkaewwattana)โดยมีข้อความระบุว่า 

 

ผู้เสี่ยงสูงจากการสัมผัสกับผู้ป่วยฝีดาษลิงเชื่อว่าสามารถให้วัคซีนตามหลังได้ ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ 

 

แต่สามารถลดระดับความรุนแรงของโรคได้ ข้อมูลล่าสุดจากฝรั่งเศสออกมาน่าสนใจ 

 

โดยเป็นการเก็บข้อมูลจากผู้เสี่ยงสูงจำนวน 276 คน โดยการสัมผัสส่วนใหญ่ผ่านทางละอองฝอย (91%) 

 

หรือสัมผัสทางอ้อมที่ไม่ได้ถูดตัวผู้ป่วยโดยตรง เช่น ไปสัมผัสสิ่งของที่ผู้ป่วยเคยใช้ หรือ (71%) 

 

และการสัมผัสผ่านกิจกรรมทางเพศที่ไม่ได้มีการป้องกัน (54%) ค่า% จะมีส่วนซ้ำซ้อน 

 

เพราะผู้ให้ข้อมูลคิดว่าอาจจะมีความเสี่ยงสัมผัสเชื้อได้มากกว่า 1 ช่องทาง 

โดยผู้เสี่ยงสูงทั้งหมดได้รับวัคซีนหลังจากวันที่มีความเสี่ยงประมาณ 11 วัน (เร็วสุด 8 วัน และ ช้าสุด 14 วัน) 

 

โดยวันที่ได้รับวัคซีนทุกคนยังไม่มีอาการใดๆ โดยวัคซีนที่ให้กับผู้เสี่ยงสูงคือ JYNNEOS (MVA-BN) Vaccine (IMVANEX, IMVAMUNE) ซึ่งเป็นแบบฉีด ไม่ใช่รุ่นเก่าที่เป็นตัวปลูกฝี

 

ในจำนวนผู้เสี่ยงสูงที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด พบว่า 12 คน ตรวจพบการติดเชื้อฝีดาษลิง (ออกจากระยะฟักตัว) 

 

โดย 3 คน พบติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน 1วัน และคนที่ตรวจพบวันที่ 2 และ 3 อีกวันละ 1 คน อีก 5 คน คือกลุ่มที่ตรวจพบหลังรับวัคซีน ไป 4-5 วัน 

 

ฉีดวัคซีนหลังเสี่ยงสูงติดเชื้อ "ฝีดาษลิง" ลดความรุนแรงของโรคได้

 

และ มี 2 คน คือ อาการมาค่อนข้างช้า คือ หลังรับวัคซีนไป 22-25 วัน ข้อมูลยังระบุว่ามีผู้ป่วย 1 ราย ( Patient #6) เป็นผู้ได้รับเชื้อจากการเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย

 

และเผลอโดนเข็มที่ปนเปื้อนไวรัสเข้าโดยตรง ซึ่งหลังโดนเข็มทิ่มก็ฉีดวัคซีนทันที แต่ก็พบการติดเชื้อที่ 4 วันต่อมา

 

อาการของผู้ติดเชื้อ 12 คนที่ได้รับวัคซีนตามหลัง พบว่า 50% ยังมีตุ่มแผลขึ้นอยู่ 

และมีอาการอื่นๆเช่น ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ แต่อาการโดยรวมมีความรุนแรงน้อยกว่าผู้ป่วยฝีดาษลิงโดยทั่วไป 

 

ทีมวิจัยเชื่อว่า การให้วัคซีนตามหลังการสัมผัสเสี่ยงสูงถึงแม้อาจจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่น่าจะสามารถลดความรุนแรงของโรคได้

 

เสียดายจากการศึกษานี้ไม่มีตัวเลขระบุว่า ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแล้วไม่ได้รับวัคซีนจะมีการตรวจพบเชื้อกี่ % (มากกว่า 12 ใน 276 คน เท่าไหร่?) 

 

ซึ่งถ้ามีตัวเลขตรงนี้จะช่วยให้เห็นความสำคัญต่อการนำวัคซีนมาใช้ในผู้เสี่ยงสัมผัสกับผู้ป่วยได้ดีขึ้น