"โควิดรีบาวด์" เกิดจากอะไร น่ากลัวแค่ไหน กลุ่มไหนเสี่ยงที่สุด เช็คเลย

06 ส.ค. 2565 | 23:11 น.

"โควิดรีบาวด์" เกิดจากอะไร น่ากลัวแค่ไหน กลุ่มไหนเสี่ยงที่สุด เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ ดร.อนันต์เผยข้อมูลพบการรีบาวด์ ไม่ได้จำเพาะต่อแพ็กซ์โลวิด

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว (Anan Jongkaewwattana)โดยมีข้อความระบุว่า 

 

ข้อมูลไวรัสที่กลับขึ้นมาเป็นบวกอีกครั้ง (Rebound) หรือ โควิดรีบาวด์ ในผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านไวรัส (NMV-r = Paxlovid) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาต้าน 

 

โดยผู้ป่วยทุกคนได้รับวัคซีน mRNA และ ไปติดไวรัสตระกูล BA.2 จะเห็นภาพค่อนข้างชัดว่า 

 

กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ยาต้านไวรัสจะขึ้นจุดสูงสุด (Ct ต่ำสุด) ช่วง 5 วันแรกและจะค่อยๆลดระดับลงมา ที่ 10 วัน 

 

ส่วนใหญ่จะมี Ct ต่ำกว่า 30 กันหมด ซึ่งทำให้การตรวจด้วย ATK ส่วนใหญ่จะเป็นลบ 

 

แต่ถ้า RT-PCR จะยังให้ผลบวกอยู่ ในบรรดา 25 ตัวอย่างที่ทำการศึกษา พบว่า 

 

มี 1 เคสที่พบการ rebound วันที่ 13 หลังไวรัสให้ผลลบไปแล้วประมาณ 4 วัน 
 

แต่ระดับของไวรัสที่ดีดตัวขึ้นมาของเคสนี้อยู่ในระดับที่ไม่มาก (Ct ประมาณ 30 หรือมากกว่า) ซึ่งการตรวจด้วย ATK ปกติอาจจะไม่พบ 

 

และระดับที่ rebound ขึ้นมาจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ และกลับมาอยู่ในระดับที่ตรวจไม่พบในที่สุด

 

ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยา 11 คน มี 8 คน ที่ไม่พบการ rebound และระดับไวรัสตกลงไวมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ยาอย่างเห็นได้ชัด ภายใน 5 วัน 

 

"โควิดรีบาวด์" เกิดจากอะไร น่ากลัวแค่ไหน

 

ทั้ง 8 คนให้ค่า Ct ต่ำกว่า 30 กันหมด และ ตกไปที่ระดับที่ RT-PCR ตรวจไม่พบอย่างรวดเร็ว 

 

ในกลุ่มนี้มี 3 คน ที่พบการ rebound ประมาณ 3-5 วัน หลังจากที่ RT-PCR ให้ผลลบ

 

ที่น่าสนใจคือ ระดับ Ct หลัง rebound พุ่งสูงขึ้นไวมากและสูงกว่าระดับไวรัสของการติดในช่วงแรก มี 2 รายที่ Ct หลัง rebound พุ่งไปสูงถึง Ct ต่ำกว่า 20 คร่าวๆคือ ปริมาณไวรัสจะมากกว่าจุดสูงสุดหลังติดเชื้อประมาณ 10 เท่า

 

และการตกลงของระดับของไวรัสที่ rebound ขึ้นมาจะเป็นไปในลักษณะใกล้เคียงกับสภาวะที่ไม่ได้ใช้ยา คือ ไม่ได้ไว้เหมือนตอนที่ร่างกายมียาอยู่เหมือนตอนช่วงแรก (การกดไวรัสช่วงแรกเกิดขึ้นจากกลไกของยาต้าน แต่ช่วงหลังเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ร่างกายกระตุ้น)

ไวรัสที่ rebound ขึ้นมามีปริมาณมากและเพียงพอที่จะสามารถแพร่เชื้อต่อได้ สาเหตุว่าทำไมบางคนที่ใช้ยาหายได้ไวไม่ rebound 

 

แต่บางคนกลับพบปรากฏการณ์ดังกล่าวยังไม่ชัดเจน อาจจะเป็นคุณสมบัติของโฮสต์แต่ละคนที่ตอบสนองต่อยา 

 

และการติดเชื้อที่ต่างกัน หรืออาจจะเป็นไวรัสที่เปลี่ยนไปก็ได้ เพราะทีมวิจัยระบุว่า 

 

ไวรัสที่พบในกลุ่ม rebound มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันที่ยีน ORF3a แต่ก็ยังหาจุดเชื่อมโยงยังไม่ชัด

 

ข้อมูลอีกชุดนึงระบุว่า การ rebound ไม่ได้จำเพาะต่อ Paxlovid ตัวเลขที่ไปสำรวจมาพบว่า 

 

ยาต้านตัวอื่น เช่น Monulpiravir มีโอกาสเกิด rebound ได้สูงกว่า

 

***คหสต ไวรัสตกไปไวเกินไป โปรตีนของไวรัสยังแสดงออกไม่มากพอ ภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยบางคนยังถูกกระตุ้นไม่เต็มที่ 

 

ภูมิอาจจะขึ้นได้ช้าและน้อยกว่า ทำให้งานช่วงหลังไปได้ช้าและไม่มีประสิทธิภาพเท่าแบบที่ไม่ใช้ยา ซึ่งร่างกายเจอเชื้อนานกว่า