ดราม่าเดือด “บุพเพสันนิวาส 2” ทวงคืนดอกลำดวน ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา?

24 ก.ค. 2565 | 05:40 น.

ดราม่าเดือด “บุพเพสันนิวาส 2” เบลล่า ถือ “ดอกลำดวน”ชาวเน็ตเขมรทวงคืน ยันเป็นดอกไม้ประจำชาติของกัมพูชา ขอให้ทีมงานให้เครดิตรวมถึงศึกษาในวัฒนธรรมด้วย งานนี้ถกกันสนั่นโซเชี่ยล

กลายเป็นเรื่องราวสุดดราม่าระหว่างชาวเน็ตไทยและประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชาขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว เมื่อเฟซบุ๊กแฟนเพจของค่ายหนัง  GDH ที่ได้โพสต์ภาพโปรโมทหนังภาคต่อจากละครสุดดังแห่งยุค “บุพเพสันนิวาส 2” ซึ่งนำแสดงโดย “เบลล่า ราณี” และ “โป๊ป ธนวรรธน์

 

ดราม่าเดือด “บุพเพสันนิวาส 2” ทวงคืนดอกลำดวน ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา?

 

ต้นเรื่องของดราม่าเกิดขึ้นจากภาพที่โปรโมตนับถอยหลังอีก 5 วันหนังจะเข้าโรง ในโปสเตอร์เบลล่าถือดอกลำดวน ถ่ายรูปคู่กับโป๊ป โดยในโพสต์เตอร์ ระบุว่า "ดอกลำดวน"แทนความรักที่ยั่งยืน

อีก 5 วันเตรียมพบกับ ‘ความรัก’ ที่ยั่งยืน..

 

"ดอกลำดวนหวนคำนึงคิดถึงเจ้า แม้รักเรานั้นผันผ่านนานแค่ไหนรักของพี่จักไม่หวั่นผันแปรไปทุกห้องใจมีแต่เจ้ามิรู้ลืม”

 

บุพเพสันนิวาส ’พร้อมสร้างปรากฏการณ์ความรักเบ่งบานทั่วสยาม 28 กรกฎาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์

 

เมื่อภาพดังกล่าวได้เผยแพร่ไปเมื่อคืนวันที่ (23 ก.ค.65) ได้มีชาวเน็ตกัมพูชาบางส่วนเข้ามาแสดงความไม่พอใจ พร้อมคอมเมนต์ท้วงว่า “ดอกลำดวน” เป็นดอกไม้ประจำชาติของกัมพูชา และขอให้ทีมงานให้เครดิตรวมถึวศึกษาในวัฒนธรรมด้วย

 

ดราม่าเดือด “บุพเพสันนิวาส 2” ทวงคืนดอกลำดวน ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา?

 

จากคอมเมนต์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดการถกเถียงกันระหว่างชาวเน็ตไทย และชาวเน็ตกัมพูชาเป็นอย่างมาก จนถึงขณะนี้มีการคอมเมนต์แล้วมากกว่า 1.3 หมื่นความเห็น เช่น "ดอกลำดวน แทน ความรักที่ยั่งยืน เราสื่อไปในทางที่ดีนะ ทำไมถึงดิ้นขนาดนั้น ถ้ารู้ว่าคนไทยกินขนมกลีบลำดวน จะไม่ช็อกตายกันเลยหรอ"

"อย่าทะเลาะด่าทอกันด้วยแค่เรื่องดอกไม่เลยครับ ในความเชื่อของชาวเขมรโบราณ ดอกลำดวนเป็นดอกไม้ในตำนานของประเทศเขา ต่อมากัมพูชาถึงได้ยกให้ "ดอกลำดวน" หรือ "ผการ็อมดวล" เป็นดอกไม้ประจำชาติของเขา จังหวัดศรีสะเกษก็ถือว่าเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด สำหรับคนไทยเรา ดอกลำดวน เป็นดอกไม้พื้นถิ่นที่มีมานานแล้ว ไม่ได้ให้ความสำคัญอะไรมากมาย แต่ในกัมพูชาต่างกัน ดังนั้นถ้าเขาจะเคลมว่าเป็นดอกไม้บ้านเขา ปล่อยให้เขาภาคภูมิใจไปเถอะครับ"

 

ขณะที่บางคนได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “ดอกลำดวน” ไว้ว่า ลำดวน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melodorum fruticosum Lour. มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า หอมนวล (ภาคเหนือ) ลำดวน (ภาคอีสาน) เป็นต้นไม้ยืนต้นที่มีดอกหอมชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเอเชียเขตร้อน (Tropical of Asia) ตั้งแต่อินเดียตะวันออกไปจนถึงฟิลิปปินส์ 

 

ลำดวนเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ดอกลำดวนยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยเรียกว่าดอกหอมนวล, ดอกไม้ประจำโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ กรุงเทพมหานคร และเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ควบคู่ไปกับดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วยลำดวนเริ่มออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมีนาคม และมีช่วงอายุดอกบานประมาณ 15 วัน

 

ในทุก ๆ ปี จังหวัดศรีสะเกษจะจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน ในช่วงที่ต้นลำดวนกว่า 45,000 ต้น ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จะพากันบานสะพรั่งอวดโฉมความงดงาม ตั้งแต่ช่วงเย็นไปจนถึงพลบค่ำ ดอกลำดวนจะอวลกลิ่นหอมเย็น ๆ ตลบอบอวลไปทั่วบริเวณ

 

ขณะที่เพจโบราณนานมา เผยถึงอิทธิพลทางวัฒนธรรมไทยที่มีต่อกัมพูชา จนทำให้ถูกสะกดจิตหมู่ว่า “ไทยลอกกัมพูชา” โดยระบุว่า

 

ดราม่าเดือด “บุพเพสันนิวาส 2” ทวงคืนดอกลำดวน ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา?

 

ที่ผ่านมาจะเห็นประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา ชอบดรามาเรื่องไม่เป็นเรื่องระหว่างประเทศไทย และส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องวัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมการกิน วัฒนธรรมการแสดง (โขน) ฯลฯ

 

จนมาถึงเรื่องล่าสุด “ดรามาดอกลำดวน” จากโปสเตอร์ภาพยนตร์ของ GDH เรื่อง “บุพเพสันนิวาส ๒” ปรากฏว่ามีชาวเน็ตกัมพูชารายหนึ่งเข้ามาแสดงความคิดเห็นประมาณว่า “...ขอขอบคุณสำหรับการส่งเสริมดอกไม้ประจำชาติของเรา (ชาติกัมพูชา) ให้โลกรู้ แต่ครั้งหน้าอย่าลืมให้เครดิตเจ้าของด้วย...” จากนั้นก็เกิดสงครามทางโซเชียลระหว่างไทยและกัมพูชา อย่างเดือด 

 

 

ซึ่งจริง ๆ แล้ว “ดอกลำดวน” มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า “หอมนวล” (ภาคเหนือ) “ลำดวน” (ภาคอีสาน) เป็นต้นไม้ยืนต้นที่มีดอกหอมชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเอเชียเขตร้อน (Tropical of Asia) ตั้งแต่อินเดียตะวันออกไปจนถึงฟิลิปปินส์ ไม่ได้มีอยู่ที่กัมพูชาประเทศเดียว และในประเทศไทย “ลำดวน” เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดศรีสะเกษ

 

นอกจากนี้ดอกลำดวนยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยเรียกว่าดอกหอมนวล, ดอกไม้ประจำโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒ กรุงเทพมหานคร และเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ควบคู่ไปกับดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย

 

ปรากฏการณ์ระหว่าง 2 ประเทศนี้ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดเป็นประจำ และคนที่ทำให้เกิดเรื่องแทบทุกเรื่องล้วนมาจากคนกัมพูชาเอง

 

เรื่องนี้เกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ที่จะเห็นได้มากและชัดเจนคือช่วงเลือกตั้งของประเทศกัมพูชา เมื่อถึงคราวเลือกตั้ง ก็จะมีการปลุกกระแสชาตินิยมในหมู่คนกัมพูชาให้เกลียดชังประเทศไทย กล่าวหาว่าไทยไปขโมยวัฒนธรรม พวกสยามเป็นพวกขี้ขโมย โขนเป็นของพวกเรา ฯลฯ เป็นที่น่าเศร้าเมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ ก็จะมีคนคล้อยตามและอินเป็นส่วนใหญ่

 

วัฒนธรรม การแต่งกาย ภาษา การกิน การอยู่ ฯลฯ ของไทยน่าจะเริ่มเข้าไปมีอิทธิพลในเขมร ตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งในสมัยก่อนเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จะมีประเพณีหนึ่ง คือ การชุบเลี้ยงดูองค์รัชทายาทเขมรเป็นพระราชบุตรบุญธรรม ในฐานะลูกเจ้าเมืองประเทศราช (เมืองขึ้น) ซึ่งเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ มีมาแต่โบราณ เพื่อมิให้เขมรเกิดความกระด้างกระเดื่องต่อสยาม (ไทย) เหตุการณ์และประเพณีนี้เริ่มตั้งแต่สมัยรัชกาลที่1 จนถึงรัชกาลที่4  รวมเวลาทั้งสิ้น 73 ปี 

 

การที่องค์รัชทายาทเขมร ได้เข้ามาบวชเรียนและเติบโตในราชสำนักไทยตั้งแต่วัยเยาว์ จึงได้รับเอาวัฒนธรรมและรสนิยมแบบไทยในราชสำนักไทย เอาไว้มาก เมื่อต้องกลับไปครองราชบัลลังก์เขมร

 

ในปี 2408สมัยรัชกาลที่ 4 ในกัมพูชาเกิดความขัดแย้งขึ้น สยามได้เรียกตัว “นักองค์ศรีวัตถา” และ “นักองค์ราชาวดี” เข้ากรุงเทพฯ สยามได้ตัดสินใจสนับสนุนให้ “นักองค์ราชาวดี” ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งกรุงกัมพูชา โดยมีขุนนางกัมพูชาในกรุงเทพช่วยกันประกอบพิธี พิธีราชาภิเษกของพระนโรดมที่กรุงเทพฯ ได้เป็นไปโดยนิตินัย ก่อนที่จะมีพิธีราชาภิเษกอีกครั้งที่กรุงพนมเปญ โดยพฤตินัย

 

จากนั้นพระองค์ได้ถูกเรียกตัวให้เข้าเฝ้าที่พระบรมมหาราชวังเพื่อเป็นการอำลา รัชกาลที่ 4  และเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทรงยินดีในพระนโรดมและได้พระราชทานพระปรมาภิไธยแก่พระนโรดม ขณะนั้นกัมพูชาเป็นประเทศราชของสยาม เชื้อพระวงศ์ที่จะอภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา ต้องมาจากการแต่งตั้งของรัตนโกสินทร์ ทางสยามมีสิทธิในการสถาปนากษัตริย์กัมพูชา

 

พระราชวังหลวงเขมร ในช่วงแรกที่สร้างขึ้นออกแบบโดยสถาปนิกชาวเขมร คือ นักออกญาเทพนิมิต (มัก) และก่อสร้างโดยฝรั่งเศสแล้วเสร็จใน 2409 สมเด็จพระนโรดม จึงทรงย้ายราชสำนักจากอุดงมีชัย มายังพระราชวังหลวงแห่งใหม่ที่พนมเปญ ในเวลาต่อมา ได้มีการก่อสร้างหรือรื้อถอนสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพิ่มเติมในพระราชวังนี้

 

รวมถึงพระที่นั่งจันทรฉายา และพระที่นั่งเทวาวินิจฉัย (ท้องพระโรง) องค์เดิม กำแพงพระราชวังถูกสร้างขึ้นในปี 2516 สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่สร้างในช่วงนี้ มีสถาปัตยกรรมแบบสยามเป็นหลัก เช่น ผังพระราชวัง (ที่มีวัดพระแก้ว) พระที่นั่งจันทรฉายา ที่มีต้นแบบมาจากพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท (พระบรมมหาราชวัง) และพลับพลาสูง (วังหน้า)  ฯลฯ

 

ในนิราศนครวัดโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพบรรยายว่า พระราชวังแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในราวต้นรัชกาลที่ 5 ที่เมืองพนมเปญ โดยสมเด็จพระนโรดมได้เคยเข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ จึงนิยมแบบแผนพระราชวังอย่างในกรุงเทพนำไปสร้างเท่าที่จะทำได้หมดโดยริมกำแพงหน้าวังมีปราสาทพลับพลาสูงอย่างพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ เรียกว่า “พระที่นั่งจันทรฉายา”

 

กษัตริย์กัมพูชาทุกพระองค์ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18ไปจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ยกเว้นสมเด็จพระนางเจ้ามี) ล้วนเคยได้รับการศึกษาในกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกไว้ว่า “...ในราชสำนักกรุงกัมพูชาครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนโรดมนั้นใช้ภาษาไทยเป็นพื้น “เพราะเมื่อครั้งสมเด็จพระนโรดมตรัสแต่ภาษาไทย ถึงกล่าวกันว่าตรัสภาษาเขมรมิใคร่คล่อง”...”

 

นั่นเองจึงเป็นที่มาของความคล้ายคลึงวัฒนธรรมกัมพูชา (ในปัจจุบัน) ที่คล้ายกับวัฒนธรรมไทยเอามาก ๆ 

 

ในเรื่องศิลปะการแสดงนั้น แม้แต่สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี ซึ่งเป็นพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาในกษัตริย์ รัชกาลปัจจุบัน แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และเป็นพระราชธิดาในกษัตริย์รัชกาลก่อน พระองค์ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้กับทาง Khmer Dance Project คือโครงการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปะการแสดงของเขมรซึ่งมี New York Public Library ให้การสนับสนุน) ว่า “...ตั้งแต่ยุคนักองค์ด้วง กษัตริย์นโรดม และกษัตริย์สีสุวัตถิ์

 

อิทธิพลจากไทยมีสูงมาก เพราะเราขาดแคลนครู ครูจากไทยเดินทางมาถึงราชสำนักเขมร บางทีครูเขมรก็ไปที่ราชสำนักไทย นี่เป็นช่วงเวลาของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างราชสำนักไทยและราชสำนักเขมร...” “มันคือการผสมผสานอย่างแท้จริง” สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวีกล่าว

 

พระองค์กล่าวว่า “...ทางฝ่ายกัมพูชาได้รับความรู้จากครูไทยแล้วก็นำไปประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมของตัวเอง หลังจากนั้นระบำของราชสำนักเขมรกับราชสำนักไทยก็มีรูปแบบที่แตกต่างกัน...”

 

สมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี ยังบอกว่า “...ในสมัยกษัตริย์สีสุวัตถิ์ ร่วมสมัยกับรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 ของไทย เครื่องแต่งกายของนางรำก็ยังเป็นแบบไทยอยู่ ก่อนที่ทางคณะละครของกัมพูชาจะดัดแปลงให้เป็นแบบของกัมพูชาเอง...”

 

จึงไม่แปลกที่การแสดงเรื่องรามายณะดัดแปลงฉบับกัมพูชาจะมาคล้ายคลึงกับ “โขน” ของไทย และนี่ก็เป็นหลักฐานของการ “แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม” ของสองราชสำนักที่เกิดขึ้นโดยสมัครใจ

 

ยังมีเรื่อง “เลขไทย” อีก ซึ่งเลขไทยในยุคต้นได้รับอิทธิพลมาจาก “เขมรโบราณ” ซึ่งเขมรก็รับมาจาก “อักษรอินเดียใต้ (หรืออักษรสมัยราชวงศ์ปัลลวะ)” อีกทีหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ “อักษรทวารวดี” ที่พบในภาคกลางของประเทศไทย ในส่วนของอักษรไทยนั้น

 

ศาสตราจารย์ ยอช เซเดส์ กล่าวว่า ระบบอักษรไทยสุโขทัย ถูกพัฒนาจากอักษรขอมหวัด + อักษรมอญ ส่วน “เลขเขมรปัจจุบัน” ได้รับอิทธิพลมาจากเลขไทยในยุค “รัตนโกสินทร์ตอนต้น” ที่เวลานั้นเขมรเป็นประเทศราชของสยาม จึงทำให้ “เลขไทยปัจจุบัน” และ “เลขเขมรปัจจุบัน” เหมือนกันอย่างกับแกะ 

 

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการสูญหายไปของ “วัฒนธรรมเขมร” แบบดั้งเดิม ที่ผ่านมากัมพูชาถือ “วัฒนธรรมอินเดีย” เป็นวัฒนธรรมครูเหมือน “ไทย” และ “ลาว” แต่กัมพูชาก็ไม่ยอมรับวัฒนธรรมความเชื่อแบบเวียดนามที่มาจากจีน ดังนั้น กัมพูชาจะคุ้นเคยทางวัฒนธรรมกับ “ไทย” และ “ลาว” มากกว่า

 

เพราะภูมิศาสตร์ของประเทศกัมพูชาล้อมไปด้วย “เผ่าไท” (กลุ่มตระกูลไท-กะได) กัมพูชาตอนนี้จึงอาจจะอยู่ในสภาวะ “การหลอมรวมหรือกลืนกลายทางวัฒนธรรม” 

 

ซึ่งปรากฏการณ์นี้ก็กำลังเกิดขึ้นเรื่อย ๆ เช่น คนกัมพูชาเริ่มรู้ภาษาไทยมากขึ้น ภาษาเขมรเริ่มมีเสียงวรรณยุกต์ ศัพท์ไทยบางคำก็เริ่มจะแทรกซึมเข้าไปในภาษาเขมรมากขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงการแต่งกายเริ่มคล้ายไทย รสนิยมการกินการใช้ อาหาร ฯลฯ เริ่มเหมือนไทย

 

ทาง “ประเทศไทย” นั้นรู้จักว่าอะไรเป็น “ศิลปะของสยาม” อะไรเป็น “ศิลปะของขอม ศิลปะของของเขมร”  แต่ในเมื่อกัมพูชาไม่รู้จึงเลยแยกแยะไม่ได้ เมื่อแยกแยะไม่ได้จึงรับ “วัฒนธรรมไทย (สยาม)” เข้าไปเต็ม ๆ

 

 

ล่าสุดค่ายหนัง GDH ได้โพสต์ภาพโปรโมทหนัง “บุพเพสันนิวาส 2” เพิ่มเติม 
โดยโพสต์ภาพซึ่ง “เบลล่า ราณี” ถือดอกชงโค ‘ความรัก’ ที่ซื่อสัตย์ โดยระบุว่า

 

ดราม่าเดือด “บุพเพสันนิวาส 2” ทวงคืนดอกลำดวน ดอกไม้ประจำชาติกัมพูชา?


อีก 4 วันเตรียมพบกับ ‘ความรัก’ ที่ซื่อสัตย์..

 

“ดอกชงโคแด่รักไม่ย่อท้อแม้ต้องรอกี่สิบปีมิขัดขืนร้อยพันหมื่นอุปสรรคสู้หยัดยืน
ทุกวันคืนมีกานดาเพียงผู้เดียว”

 

‘บุพเพสันนิวาส ๒’ พร้อมสร้างปรากฏการณ์

 

ความรักเบ่งบานทั่วสยาม
28 กรกฎาคมนี้ ในโรงภาพยนตร์