กินยาแพ็กซ์โลวิด โมลนูพิราเวียร์จนหาย แต่ป่วยอีกหลังหยุดยาคืออะไร เช็คเลย

22 ก.ค. 2565 | 03:20 น.

กินยาแพ็กซ์โลวิด โมลนูพิราเวียร์จนหาย แต่ป่วยอีกหลังหยุดยาคืออะไร เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ หมอมนูญเผยเคสจริงเป็นกรณีตัวอย่าง

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ (หมอมนูญ) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC) โดยมีข้อความระบุว่า 

 

มีรายงานผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิด หรือโมลนูพิราเวียร์นาน 5 วัน 

 

ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นหลังจากได้รับยา และอาจมีผลการตรวจการติดเชื้อเช่น ATK เป็นลบ 

 

แต่ 2-8 วันหลังหยุดยา กลับมามีอาการป่วยใหม่เหมือนกับการป่วยครั้งแรก 
และผลการตรวจการติดเชื้อ ATK กลายเป็นบวกอีก (COVID-19 rebound) ปรากฎการณ์เช่นนี้พบได้น้อยแค่ 1-2 % เท่านั้น 

 

หลังกลับมาป่วย ไม่ต้องกินยาต้านไวรัสใหม่อีกรอบ แต่ขอให้กักตัวอย่างน้อย 5 วันนับจากวันที่เริ่มป่วยรอบที่สอง 

และใส่หน้ากากอนามัยต่ออีก 5 วันจนครบ 10 วัน เมื่อคนไทยส่วนใหญ่เข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์ 

 

เราจะเห็นปรากฏการณ์ COVID-19 rebound หลังกินยาโมลนูพิราเวียร์มากขึ้น

 

ผู้ป่วยหญิงอายุ 60 ปี ไม่มีโรคประจำตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบ 4 เข็ม 

 

มีอาการเจ็บคอ เสียงแหบ ไข้ต่ำๆ 37.8 องศาเซลเซียส ตรวจ ATK ให้ผลบวก 

 

กินยาแพ็กซ์โลวิด โมลนูพิราเวียร์จนหาย แต่ป่วยอีกหลังหยุดยาคืออะไร

 

เริ่มกินยาโมลนูพิราเวียร์ 4 แคปซูล เช้า เย็น 

 

วันที่ 2 หลังกินยา อาการดีขึ้น 

 

วันที่ 4 ไม่มีอาการเลย ตรวจ ATK ให้ผลลบ 

 

กินยาโมลนูพิราเวียร์จนครบ 5 วัน 40 แคปซูล

ต่อมา 7 วันหลังหยุดยาโมลนูพิราเวียร์ กลับมาเจ็บคอ เสียงแหบใหม่

 

ตรวจ ATK ให้ผลบวกอีก คาดว่าน่าจะเป็น COVID-19 rebound จากการใช้ยาโมลนูพิราเวียร์  

 

ผู้ป่วยรายนี้ 11 วันหลังหยุดยาโมลนูพิราเวียร์ อาการเกือบปกติแล้ว มีน้ำมูกบ้าง แต่ผล ATK ยังเป็นบวก 

 

คนที่กลับมาป่วยใหม่ไม่ต้องกินยาต้านไวรัสอีก ให้กินยาตามอาการ  หลังจากนั้นก็จะหายเอง