ฝีดาษลิงล่าสุดติดต่อได้จากคนสู่คน ลักษณะของโรคเปลี่ยนไปอย่างไร เช็คเลย

07 มิ.ย. 2565 | 21:11 น.

ฝีดาษลิงล่าสุดติดต่อได้จากคนสู่คน ลักษณะของโรคเปลี่ยนไปอย่างไร เช็คเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระวัฒน์สรุปการเปลี่ยนแปลงของเชื้อในปี 2022

ฝีดาษลิงล่าสุดเป็นอย่างไร ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้ทรพิษยังมีถูมิคุ้มกันอยู่หรือไม่ เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจ และต้องการคำตอบ

 

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความว่า

 

ฝีดาษลิง 

 

เกิดอะไรขั้น ในปี 2022?

 

คนสู่ตน โดยหาความเชื่อมโยง ไม่ได้ 

 

ลักษณะของโรคคล้ายปรับเปลี่ยน ให้สังเกตุ ยากขึ้น ผื่น ตุ่ม มีหลายระยะ พร้อมกัน ขนาดเล็ก

 

แต่อาการไม่รุนแรงมากถึงชีวิต

 

  • การวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากที่พบในปี 2017 ถึงมากกว่า 40 ตำแหน่ง  (ปกติเชื่อว่าไวรัสดีเอ็นเอมีความเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ปีละ 4 ) และการวิวัฒนาการในลักษณะเช่นนี้อาจต้องใช้เวลาถึง 50 ปีด้วยซ้ำ และอนุมานว่าอาจเป็นผลของการปรับตัวของไวรัสต่อระบบต่อสู้ของมนุษย์ (APOBEC3)

 

(Richard Neher, a computational evolutionary biologist at the University of Basel) รูปจาก Neher twitter และการให้ความเห็นใน STAT news

  • ในปี 2020 องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่ามีผู้ที่น่าจะติดเชื้อฝีดาษลิงในอัฟริกา 4594 รายและเสียชีวิต 171 ราย (สัดส่วนการเสียชีวิต case fatality ratio 3.7%) โดยที่สายพันธุ์ฝีดาษลิง สายพันธ์แอฟริกันตะวันตก จะมีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์แอฟริกันกลาง

 

  • สถานะภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity)ที่ได้รับจากวัคซีนไข้ทรพิษ ทั้งใน อาฟริกา และทั้งโลก น่าจะเริ่มเสื่อมโทรมไป

 

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน
ปาสเตอร์ได้ทำแบบจำลองคณิตศาสตร์ รายงานใน bulletin ของ องค์การอนามัยโลกในปี 2020 

 

และได้ข้อสรุป รวมทั้งตั้งข้อสังเกตว่าฝีดาษลิงจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ แปรตาม สัดส่วนของภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ ที่เริ่มลดลงในประชากรในประเทศแอฟริกา เช่น คองโก หลังจากที่หยุดการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันข้ามไปยังฝีดาษลิงได้ และเริ่มเห็นการระบาด หนาตาขึ้นเรื่อยๆ

 

ฝีดาษลิงล่าสุดติดต่อได้จากคนสู่คน

 

  • รูปแบบการติดต่อจากคนสู่คนชัดเจนขึ้น จากรายงานในประเทศอังกฤษ ในปี 2018 2019 และ 2021 และเป็น secondary และ tertiary transmission 
     

ทั้งนี้ไวรัสสามารถตรวจพบจากตุ่ม ผื่น จากจมูกและลำคอ ปัสสาวะ และในเลือด โดยที่ ไวรัสมีการปะทุขึ้นอีกหลังจากที่ตรวจไม่เจอ ทำให้ต้องกักตัวนานถึงมากกว่าหนึ่งเดือน


อย่างไรก็ตาม การสังเกตตนเองเมื่อเริ่มไม่สบาย มีไข้ปวดเมื่อยไม่ว่าจะมีผื่นหรือตุ่มหรือไม่ต้องแยกตัวกักตัวเองรวมทั้งใส่หน้ากากล้างมือเพื่อไม่เอาไวรัสไปปล่อยที่พื้นผิว และมีคนสัมผัสต่อ


จากที่มีการระบาดในสหรัฐฯในปี 2003 จากการนำสัตว์ฟันแทะ เข้ามาในประเทศและมีการแพร่ไปยังกระรอกดิน ที่เอาไปขายเป็นสัตว์เลี้ยงและแพร่มาคน หลังจากนั้นมีการติดตามในหลายมลรัฐ ว่าไวรัสจะมีการตั้งตัวในสัตว์หรือไม่แต่ไม่พบและรายงานในปี 2007 


ลักษณะการติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ในประเทศไทยมีรายงานเผยแพร่จากสถาบันสุขภาพสัตว์ และยังไม่พบลักษณะดังกล่าว รวมทั้งมีการควบคุมระวังการนำสัตว์ป่าเข้ามาในประเทศไทย