วัคซีนต้านโควิด19 ชนิด mRNA กันโอมิครอนดีกว่า viral vector จริงไหม อ่านเลย

18 พ.ค. 2565 | 01:16 น.

วัคซีนต้านโควิด19 ชนิด mRNA กันโอมิครอนดีกว่า viral vector จริงไหม อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระเผยผลวิจัย van Gils MJ และคณะจากประเทศเนเธอร์แลนด์

วัคซีนต้านโควิด19 เป็นปัจจัยสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 (Covid-19) โดยมีให้เลือกหลากหลายยี่ห้อตามการพัฒนาของแต่ละบริษัท

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า
อัพเดตความรู้

 

1. van Gils MJ และคณะจากประเทศเนเธอร์แลนด์ เปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัคซีนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในน้ำเลือด (แอนติบอดี้) ต่อไวรัสสายพันธุ์ที่น่ากังวล รวมถึง Omicron (โอมิครอน) โดยวัด ณ 4 สัปดาห์ หลังฉีดวัคซีน และหลังฉีดเข็มกระตุ้น 

 

เป็นที่ชัดเจนว่า วัคซีนประเภท mRNA มีประสิทธิภาพดีกว่าประเภท viral vector 
2. Nordstrom P และคณะ จากประเทศสวีเดน ชี้ให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเข็มที่่ 2 ในกลุ่มผู้สูงอายุ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้มากกว่าการฉีดเข็มกระตุ้นเพียงเข็มเดียวได้อีก 42% (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 35%-49%) 

3. ข้อมูลจาก Prof.Page C (UK) สรุปสถานการณ์ในสหราชอาณาจักรว่า ปัจจุบันมีอัตราการว่างงานน้อยที่สุดในรอบ 50 ปี ทั้งนี้ทาง BBC ชี้ให้เห็นว่ามีตำแหน่งงานว่างถึง 1.3 ล้านตำแหน่ง เพราะมีจำนวนแรงงานในระบบที่ลดลง อันเป็นผลมาจาก 3 เหตุผลหลักคือ 

 

กฎเกณฑ์สำหรับแรงงานหลังนโยบาย Brexit

 

การออกจากระบบแรงงานของคนที่สูงอายุหลังช่วงโควิดระบาด 

 

วัคซีนต้านโควิด19 ชนิด mRNA กันโอมิครอนดีกว่า viral vector จริงไหม

 

และการมีจำนวนคนที่ประสบปัญหาเจ็บป่วยระยะยาวที่มากขึ้น (Long term sickness)

 

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก Bank of England วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ระบุว่าการขาดแคลนแรงงานวัย 16-64 ปีอันเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยระยะยาวนั้นสูงขึ้นเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพศหญิง และเชื่อว่าเป็นผลมาจากโรคระบาดและ Long COVID

สถานการณ์ที่เห็นในต่างประเทศนั้น ไทยจำเป็นต้องมองไปข้างหน้า และเตรียมรับมือสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อันเป็นผลมาจากการติดเชื้อจำนวนมากตั้งแต่ระลอกสอง (ปลายปี 63 ถึงต้นปี 64 จากสายพันธุ์ G) 

 

ระลอกสาม (เมษายนปี 64 จนถึงปลายปี จากอัลฟ่าและเดลต้า) และสี่ (Omicron ตั้งแต่ต้นปี 65 เป็นต้นมา) 

 

ซึ่งมีโอกาสที่จะเกิดผู้ป่วย Long COVID มีผลทำให้บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวัน และการทำงาน 


การป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ


ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด