อาการลองโควิดโอมิครอนพบความผิดปกติที่ไหนได้บ้าง ยาวนานแค่ไหน อ่านเลย

12 พ.ค. 2565 | 05:27 น.

อาการลองโควิดโอมิครอนพบความผิดปกติที่ไหนได้บ้าง ยาวนานแค่ไหน อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ หมอธีระอัพเดทงานวิจัยจากต่างประเทศ

อาการลองโควิดโอมิครอนเป็นอย่างไร ส่งผลกระทบต่อร่างกายส่วนใดบ้าง เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจอย่างมากบนโลกออนไลน์

 

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (Covid-19) ยังมีอยู่เป็นจำนวนมากโดนยเฉพาะจากสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)
 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 
อัพเดตงานวิจัยโควิด-19

 

1. การศึกษาจากประเทศจีนโดย Huang L และคณะพบว่า คนที่ติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 

 

มีอาการคงค้าง Long COVID อย่างน้อย 1 อาการ มากถึง 55% แม้ติดตามยาวมาถึง 2 ปี

 

2. งานวิจัยโดย Prasanan N และคณะ จาก UCL สหราชอาณาจักร พบว่ากลุ่มคนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วมีอาการคงค้าง Long COVID 

 

จะตรวจพบว่ามีความผิดปกติของสารเคมีในเลือดที่อาจนำไปสู่การแข็งตัวของเลือดได้ง่าย 

 

ทั้งนี้ในกลุ่มผู้ป่วย Long COVID ในการศึกษานั้น มีถึง 1/3 ที่ตรวจพบว่ามีอัตราส่วนของสาร Von Willebrand Factor (VWF) Antigen (Ag):ADAMTS13 สูงขึ้นกว่า 1.5 เท่า

นอกจากนี้หากเจาะลึกในกลุ่มที่เป็น Long COVID และมีสมรรถนะในการออกกำลังกายที่จำกัด (impaired exercise capacity) 

 

จะตรวจพบความผิดปกติข้างต้นได้ถึง 55% และมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัญหาสมรรถนะในการออกกำลังกาย ถึง 4 เท่า

 

งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงปัญหา Long COVID ว่าอาจสัมพันธ์กับเรื่องความผิดปกติระยะยาวในระบบเลือดและหลอดเลือดขนาดเล็ก ที่เกิดหลังจากติดเชื้อโรคโควิด-19 

 

3. การศึกษาโดย Alghamdi HY และคณะจากประเทศซาอุดิอาราเบีย พบว่ากลุ่มคนที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้ว 

 

จะเกิดปัญหา Long COVID ที่มีอาการผิดปกติของระบบประสาท และปัญหาจิตเวชได้ 

 

อาการลองโควิดโอมิครอนพบความผิดปกติที่ไหนได้บ้าง

 

เกิดได้ตั้งแต่ปัญหาด้านความคิดความจำที่ถดถอยลง ปัญหาด้านการนอนหลับ ซึมเศร้า ความผิดปกติทางอารมณ์ 

 

ไปจนถึงการสูญเสียสมรรถนะการรับรสหรือดมกลิ่น โดยจากการสำรวจพบว่ามีผู้ที่ประสบอาการต่างๆ ตั้งแต่ 18.9-63.9%

 

ทั้งนี้ความผิดปกติทางอารมณ์ (mood alteration) ที่คงอยู่ยาวนานกว่า 6 เดือนนั้นพบได้สูงถึง 7.6%

สถานการณ์ระบาดของไทย

 

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย

 

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก ถึงแม้ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.เป็นต้นมาจนทำให้จำนวนเสียชีวิตที่รายงานนั้นลดลงก็ตาม

 

ทั้งนี้จำนวนเสียชีวิตของไทยเมื่อวานนั้นคิดเป็น 28.42% ของการเสียชีวิตทั้งหมดที่รายงานของทวีปเอเชีย

 

12 พฤษภาคม 2565

 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 552,113 คน ตายเพิ่ม 1,441 คน รวมแล้วติดไปรวม 518,980,114 คน เสียชีวิตรวม 6,281,875 คน

 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก

 

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็น 67.64% ของทั้งโลก 

 

ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็น 63.91%

 

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็น 30.27% ของทั้งโลก 

 

ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็น 13.67%