ข่าวโควิดวันนี้รวมatk ยอดติดเชื้อกว่า 1.2 หมื่นราย หมอธีระห่วง Long covid

06 พ.ค. 2565 | 10:30 น.

ข่าวโควิดวันนี้รวมatk ยอดติดเชื้อกว่า 1.2 หมื่นราย หมอธีระห่วง Long covid พร้อมอัพเดทอาการต่อหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่ช่วงที่ติดเชื้อ

ข่าวโควิดวันนี้ยังคงเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากประชาชน ทั้งจำนวนของผู้ติดเชื้อในแต่ละวัน และผู้เสียชีวิต

 

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ (หมอธีระ) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)" โดยมีข้อความว่า 

 

  • 7,705

 

  • ATK 5,288

 

  • รวม 12,993

 

หนึ่งสัปดาห์ผ่านไป ปอดอักเสบจาก 1,818 คน เป็น 1,622 คน ลดลง 10.78%
ใส่ท่อช่วยหายใจจาก 815 คน เป็น 778 คน ลดลง 4.53%

 

จำนวนติดเชื้อรวม ATK ของวันนี้ น้อยกว่าสัปดาห์ก่อน 50.57% และน้อยกว่าสองสัปดาห์ก่อน 69.38%

 

บุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 150 คน (ชาย 28, หญิง 122)

 

 

หมอธีระยังโพสต์อีกว่า

 

อัพเดต Long COVID กับผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด

 

ทีมงานจาก Department of Cardiology, Kaiser Permanente San Francisco Medical Center สหรัฐอเมริกา 

 

ทบทวนข้อมูลวิชาการแพทย์จนถึงปัจจุบัน เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Current Atherosclerosis Reports เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา

 

ข่าวโควิดวันนี้ยอดติดเชื้อรวมatk กว่า 1.2 หมื่นราย

 

สรุปให้เห็นว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 (Covid-19) นั้นส่งผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือด ตั้งแต่ช่วงที่ติดเชื้อ 

 

และมีโอกาสส่งผลกระทบต่อเนื่องไประยะยาวในลักษณะของ Long COVID
ภาวะผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เกิดได้มากมายหลายอย่าง เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว (เป็นได้ทั้งด้านซ้ายและขวา) 

 

ลิ่มเลือดอุดตัน (ในปอด หรือในหลอดเลือดดำ) โรคหลอดเลือดสมอง

 

นอกจากนี้ ยังพบว่าจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการต้องมานอนรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยเรื่องหัวใจล้มเหลว 

เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน

 

ด้วยข้อมูลทางการแพทย์ปัจจุบัน ยืนยันอีกครั้งว่า โควิดไม่ใช่หวัดธรรมดา และไม่กระจอก

 

Long COVID is real

 

การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

 

โควิด...ติด...ไม่ใช่แค่คุณ

 

โควิด...ติด...ไม่จบแค่หายและตาย แต่ปัญหาระยะยาวคือ Long COVID ที่จะบั่นทอนคุณภาพชีวิต 

 

บั่นทอนสมรรถนะในการดำรงชีวิตประจำวัน การทำงาน และเป็นภาระค่าใช้จ่ายในอนาคตต่อทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม