ชิงผู้ว่ากทม. โพลโซเชียล “ชัชชาติ” นำโด่ง

20 เม.ย. 2565 | 04:20 น.

“เรียลสมาร์ท” โชว์ผล Social Listening พบ “ชัชชาติ” นำโด่ง ผู้สมัครผู้ว่ากทม. ที่โลกโซเชียลพูดถึงมากที่สุด ทะลุ 7 แสนข้อความ ตามด้วย วิโรจน์และอัศวิน

บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด Digital Super Agency  เกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) ด้วยการทำ Social Listening เพื่อสำรวจ ความสนใจชาวเน็ตเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 22 พ.ค.2565

 

นายอุกฤษฎ์ตั้งสืบกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด กล่าวว่า  การจัดทำ Social Listening  ในประเด็นการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในโซเชียลมีเดียในหัวข้อ “10 อันดับผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด”  ซึ่งการสำรวจไม่ได้ระบุพื้นที่ผู้ใช้งาน และเก็บข้อมูลจากหลายแพลตฟอร์ม อาทิ twitter , facebook , website , youtube , Instagram ฯลฯ

ผู้ว่ากทม.

ภาพรวมตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.-7 เม.ย.2565 พบว่า มีเสียงพูดถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. รวม 1,297,072 ข้อความโดยเนื้อหาส่วนใหญ่สนทนาเกี่ยวกับนโยบายของผู้สมัครที่มีความแตกต่างกันในแต่ละมุมมองทั้งในเชิงบวก เชิงลบ และเชิงทั่วไปแบ่งเป็นการพูดถึงผ่าน twitter 55.11% , facebook 40.16% , website 3.86% , youtube 0.44% , Instagram 0.18% , pantip 0.08% , blockdit 0.07% , tiktok 0.07% , webboard 0.02%”

ผู้ว่ากทม.

พบว่า ผู้สมัครที่มีการกล่าวถึงบนโลกออนไลน์มากที่สุดจำนวน 10 ท่าน ดังนี้ อันดับที่ 1 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถูกกล่าวถึง 729,388 ข้อความ หรือ 56.23%, อันดับที่ 2 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ถูกกล่าวถึง 228,808 ข้อความ หรือ 17.64%, อันดับที่ 3 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ถูกกล่าวถึง 180,163 ข้อความ หรือ 13.89%, อันดับที่ 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ถูกกล่าวถึง 46,560 ข้อความ หรือ 3.59%

 

อันดับที่ 5 น.ส.รสนา โตสิตระกูล ถูกกล่าวถึง 43,292 ข้อความ หรือ 3.34%, อันดับที่ 6 นายสกลธีภัททิยกุล ถูกกล่าวถึง 32,533 ข้อความ หรือ 2.51%, อันดับที่ 7 น.ต.ศิธา ทิวารี ถูกกล่าวถึง 27,845 ข้อความ หรือ 2.15%, อันดับที่ 8 นายธเนตรวงษา ถูกกล่าวถึง 1,603 ข้อความ หรือ 0.12%, อันดับที่ 9 นายศุภชัย ตันติคมน์ ถูกกล่าวถึง 1,057 ข้อความ หรือ 0.08%และอันดับที่ 10 นายวีรชัย เหล่าเรืองวัฒนะ ถูกกล่าวถึง 939 ข้อความ หรือ 0.07%

ผู้ว่ากทม.

ขณะที่เพื่อจำแนกการพูดถึงผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. เป็นเสียงเชิงบวก, เชิงทั่วไป และเชิงลบ พบข้อมูลที่น่าสนใจ คือ 5 อันดับแรก ได้แก่

  • นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถูกกล่าวถึง 729,388 ข้อความ แบ่งเป็น เชิงบวก 213,005 ข้อความ เชิงทั่วไป 490,020 ข้อความ และเชิงลบ 26,363 ข้อความ
  • นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ถูกกล่าวถึง 228,808 ข้อความ แบ่งเป็น เชิงบวก 25,090 ข้อความ เชิงทั่วไป 177,081 ข้อความ และเชิงลบ 26,637 ข้อความ
  • พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ถูกกล่าวถึง 180,163 ข้อความ แบ่งเป็น เชิงบวก 22,001 ข้อความ เชิงทั่วไป 152,610 ข้อความ และเชิงลบ 5,552 ข้อความ
  • นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ถูกกล่าวถึง 46,560 ข้อความ แบ่งเป็น เชิงบวก 1,953 ข้อความ เชิงทั่วไป 41,890 ข้อความ และเชิงลบ 2,717 ข้อความ
  • น.ส.รสนา โตสิตระกูล ถูกกล่าวถึง 43,292 ข้อความ แบ่งเป็น เชิงบวก 2,211 ข้อความ เชิงทั่วไป 38,671 ข้อความ และเชิงลบ 2,410 ข้อความ

 

ทั้งนี้ Social Listening เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่คนทำงานด้านการตลาดดิจิทัล นำมาใช้เพื่อบริหารจัดการข้อมูล และสามารถนำใช้เพื่อรับฟังเสียงของผู้คนในโซเชียลมีเดียที่อยู่ในหลากหลายแพลตฟอร์ม โดยการนำข้อมูลมาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ จะทำให้เห็นเสียงสะท้อนในโซเชียลมีเดีย ที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร บุคลิก ความคิด นโยบาย รวมถึงการสะท้อนปัญหาที่ควรรีบแก้ไขได้อีกด้วย