โควิดโอมิครอนเข้าสู่จุดสูงสุด-ขาลงจากตัวแปรอะไร ป้องกันอย่างไร อ่านเลย

26 มี.ค. 2565 | 20:11 น.

โควิดโอมิครอนเข้าสู่จุดสูงสุด-ขาลงได้จากตัวแปรอะไร ป้องกันอย่างไร อ่านเลย หมอเฉลิมชัยเผยสถิติการระบาดโควิดระลอกที่ 4

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความว่า

 

ล่าสุด !! คาดว่าโควิดระลอกที่ 4  มีโอกาสเข้าสู่จุดสูงสุดและจะเริ่มสู่ขาลงได้ ถ้าไม่มีตัวแปรจากเทศกาลสงกรานต์

 

โควิดระลอกที่สี่ของไทย ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 

 

ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อ PCR 3011 ราย

 

ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย ATK 434 ราย

 

ผู้ติดเชื้อขยับขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

โดยวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 

 

ผู้ติดเชื้อแบบ PCR 7422 ราย

 

ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย ATK 2014 ราย

 

และยังคงเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง 

1 มีนาคม 2565 

 

ผู้ติดเชื้อแบบ PCR 20,420 ราย

 

ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย ATK 25,339 ราย

 

25 มีนาคม 2565 

 

ติดเชื้อแบบ PCR 26,050 ราย

 

โควิดโอมิครอนข้าสู่จุดสูงสุด-ขาลงได้จากตัวแปรอะไร

 

ติดเชื้อแบบ ATK 26,655 ราย

 

และติดเชื้อรวม 52,705 ราย

 

โดยจุดสูงสุดของผู้ติดเชื้อแบบ PCR 

 

คือวันที่ 18 มีนาคม จำนวน 27,071 ราย

 

ผู้ติดเชื้อแบบเข้าข่ายแบบ ATK  

 

สูงสุดวันที่ 10 มีนาคม 2565 

 

จำนวน 49,494 ราย

 

ผู้ติดเชื้อรวมสูงสุด 

 

 

วันที่ 10 มีนาคม 2565 

 

จำนวน 72,478 ราย

 

สถิติอีกตัวที่สำคัญ ในการบอกแนวโน้มผู้ติดเชื้อคือ จำนวนร้อยละของการตรวจพบผู้ติดเชื้อแบบ PCR ซึ่งขึ้นสูงสุดในกลางเดือนมีนาคม 49.11%

 

หมายถึงตรวจ PCR 100 ราย พบเป็นบวกมากถึง 49 ราย

 

แต่ในขณะนี้ ร้อยละของการตรวจพบลดลงเป็น 27.28% (เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2565)

 

จึงทำให้คาดว่า สถานการณ์โควิดระลอกที่ 4 ของไทย น่าจะอยู่ในจุดสูงสุดหรือกำลังจะเข้าสู่จุดสูงสุดในระยะเวลาอันใกล้นี้ และอาจมีโอกาสจะเริ่มเข้าสู่ขาลงได้

 

ซึ่งยังจะต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 3 เดือนเท่ากับช่วงขาขึ้น ที่จะพ้นจากระลอกนี้
อย่างไรก็ตามมีตัวแปรที่สำคัญคือเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะมีโอกาสสูง ที่อาจจะมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกครั้ง

 

เนื่องจากมีผู้คนจำนวนมากนับล้านคนเดินทางพร้อมกัน เพื่อกลับบ้านเกิด เพื่อเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ เพื่อพบปะเพื่อนฝูง ร่วมกันเฉลิมฉลองปีใหม่ไทย

 

มาตรการต่างๆทั้งจากภาครัฐและความร่วมมือของภาคประชาชนในการฉลองสงกรานต์อย่างระมัดระวังจึงมีความสำคัญมาก

 

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตรวจ ATK ก่อนออกเดินทาง

 

การใส่หน้ากากตลอดเวลา

 

การฉีดวัคซีนให้ครบ 3 เข็ม ทั้งตัวผู้เดินทาง และญาติผู้ใหญ่ที่อยู่ต่างจังหวัด
จะทำให้สถานการณ์การติดเชื้อในช่วงสงกรานต์ไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

 

รวมทั้งมาตรการให้ทำงานจากที่บ้าน(WFH : Work From Home) หลังจากฉลองสงกรานต์เสร็จแล้วเป็นเวลา 7-10 วัน ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการทำให้โควิดระลอกที่สี่ควบคุมได้ดี และมีโอกาสเข้าสู่ช่วงขาลงต่อไป

 

แต่ถ้ามาตรการฉลองสงกรานต์จากทุกฝ่าย ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ก็จะทำให้โควิดระลอกที่สี่พุ่งสูงขึ้น เข้าหาจุดสูงสุดใหม่อีกครั้ง และยังคงเป็นขาขึ้นต่อเนื่องต่อไปอีก