วัคซีนต้านโควิด19 กลุ่มเสี่ยงไม่ควรหรือต้องฉีดเข็มกระตุ้นชนิดไหน เช็กเลย

18 มี.ค. 2565 | 03:07 น.

วัคซีนต้านโควิด19 กลุ่มเสี่ยงไม่ควรหรือต้องฉีดเข็มกระตุ้นชนิดไหน เช็กเลย หมอมนูญชี้คนกลุ่มเสี่ยงต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็ม 3 แม้จะฉีดวัคซีนครบโดส

วัคซีนต้านโควิด19 เป็นอาวุธสำคัญที่ใช้ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 (Covid-19) แต่ประเด็นที่สำคัญก็คือควรฉีดวัคซีนกี่เข็มถึงจะพอ หรือควรฉีดชนิดไหนเป็นเข็มกระตุ้น

 

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ (หมอมนูญ) ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC) โดยมีข้อความระบุว่า 

 

คนกลุ่มเสี่ยงต้องเร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น แม้จะฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว

 

ปัจจุบันเป็นที่ทราบดีว่า วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มไม่เพียงพอในคนกลุ่มเสี่ยงได้แก่คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 

 

และหญิงตั้งครรภ์สำหรับลดการป่วยหนักและเสียชีวิตจากเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) คนที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว 2 เข็ม 

 

เข็มที่ 3 ควรจะเป็นวัคซีนชนิด mRNA ไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา ไม่ใช่วัคซีนเชื้อตายซิโนแวคหรือซิโนฟาร์ม 
 

และคนที่ได้วัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม ตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็ม ควรกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด mRNA ไฟเซอร์หรือโมเดอร์นาอีก 1 เข็ม

 

ผู้ป่วยหญิงอายุ 71 ปี ปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง มีไขมันในเลือดสูงเล็กน้อย ไม่มียาประจำ 

 

ฉีดวัคซีนแอสตร้า 2 เข็มเดือนพฤษภาคม และกรกฎาคม 2564  ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์มเป็นเข็มที่ 3 

 

เดือนธันวาคม 2564  เริ่มมีอาการเจ็บคอ น้ำมูก ไอเล็กน้อย ไข้ต่ำๆ

 

วัคซีนต้านโควิด19 กลุ่มเสี่ยงไม่ควรหรือต้องฉีดเข็มกระตุ้นชนิดไหน

 

วันที่ 3 มีนาคม 2565 ตรวจ ATK ให้ผลบวก ยืนยันโดย RT-PCR เข้านอนใน รพ.

 

วันที่ 5-9 มีนาคม ระหว่างอยู่รพ. 5 วัน ไม่เหนื่อย ไม่มีไข้ วัดระดับออกซิเจนปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ อนุญาตให้กลับบ้าน 

 

หลังกลับบ้าน 2 วัน เริ่มมีเหนื่อย หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ไม่มีไข้ วัดระดับออกซิเจนเหลือ 92% เรียกรถฉุกเฉินมาส่งโรงพยาบาล

วันที่ 12 มีนาคม เอกซเรย์ปอดมีฝ้าขาวทั้ง 2 ข้างเข้าได้กับปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ให้ยาสเตียรอยด์ และยาเรมเดซิเวียร์ชนิดฉีด คนไข้ดีขึ้นเร็วใน 5 วัน

 

เปรียบเทียบผู้ป่วยรายนี้กับผู้ป่วยชายอายุ 89 ปี เป็นโรคเบาหวานต้องฉีดอินซูลิน ไตเสื่อม เคยป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองรักษาหายแล้วด้วยเคมีบำบัดได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม

 

เดือนมิถุนายนและสิงหาคม 2564 ฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์

 

เดือนมกราคม 2565 เริ่มมีอาการเจ็บคอ มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย ไม่มีไข้ 

 

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม รับเข้านอนโรงพยาบาล

 

วันที่ 11 มีนาคมด้วยอาการท้องเสียหลายครั้ง ตรวจ RT-PCR ยืนยันติดเชื้อไวรัสโควิด-19 

 

ตรวจอุจจาระพบติดเชื้อโนโรไวรัส ระหว่างอยู่โรงพยาบาล 8 วัน ท้องเสียดีขึ้น ไม่เหนื่อย ไม่มีไข้ วัดระดับออกซิเจนปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ 

 

ผู้ป่วยรายที่ 2 มีความเสี่ยงที่เชื้อจะลงปอดมากกว่าผู้ป่วยรายแรก แต่เชื้อกลับไม่ลงปอด เพราะได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม 

 

และกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิด mRNA ไฟเซอร์ 1 เข็ม คนที่เคยรับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม ไม่ควรฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีนเชื้อตายซิโนแวคหรือซิโนฟาร์ม