วัคซีนโควิด-19 เหตุใดบริษัทผู้ผลิตจึงไม่ขายตรงให้เอกชน เช็กที่นี่

22 พ.ย. 2564 | 01:19 น.

หมอยงเผยเหตุผลทำไมวัคซีนโควิด-19 บริษัทผู้ผลิตจึงไม่ขายตรงให้เอกชน กลัวการเร่งการผลิต พัฒนา และใชในภาวะฉุกเฉิน การเกิดอาการแทรกซ้อน ทั้งระยะสั้น ระยะยาว

รายงานข่าวระบุว่า ศ.นพ.ยง  ภู่วรวรรณ (หมอยง) หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสเฟซบุ๊ก (Yong Poovorawan) โดยมีข้อความว่า
โควิด-19 วัคซีน บริษัทผู้ผลิตจะไม่ขายโดยตรงให้ภาคเอกชน
หมอยง ระบุว่า โควิดวัคซีน ที่ใช้อยู่ การขึ้นทะเบียนจะอนุญาติให้ใช้ในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น
บริษัทจะไม่ยอมขายให้ภาคเอกชนโดยตรง เพราะการเร่งการผลิต พัฒนา และใชในภาวะฉุกเฉิน 

การเกิดอาการแทรกซ้อน  ทั้งระยะสั้น ระยะยาว บริษัท จะให้ทางรัฐบาลรับผิดชอบ ได้เลย ทั้งระยะสั้นระยะยาว ถ้าขายให้เอกชน ภาคเอกชนจะรับผิดชอบได้อย่างไร จึงต้องขายให้ภาครัฐ หรือองค์กรที่เป็นตัวแทนของรัฐ 

ทางรัฐเองจึงต้องมีงบประมาณไว้สำหรับในการเกิดอาการข้างเคียง ให้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอการตรวจสอบถูกผิด อย่างเช่น ขณะนี้จะมีงบประมาณผ่าน สปสช มาชดเชย 

ในส่วนของภาคเอกชน เช่นวัคซีน  Moderna (โมเดอร์นา)  ที่ใช้อยู่ ทางภาคเอกชนจะต้องให้องค์การเภสัช เป็นตัวแทนของรัฐ ในการจัดซื้อ และทุกโดสของ วัคซีน จึงต้องมีการทำประกัน ในการชดเชย ถ้าเกิดเหตุการณ์แทรกซ้อนเกิดขึ้น

 บริษัทผู้ผลิตวัคซีนจะไม่ขายโดยตรงให้ภาคเอกชน
แน่นอนราคาของวัคซีนในภาคเอกชน จึงต้องบวกค่าขนส่ง  การเก็บรักษา และค่าประกัน (แต่ละโดสไม่ถูกเลย) เข้ามารวมในราคาวัคซีน
ถึงแม้ว่าจะมีกฎเกณฑ์ดังกล่าว ถึงแม้จะมีเงิน เมื่อของมีน้อย ผู้ขายก็ย่อมถือไพ่ เหนือกว่าแน่นอน
 

สำหรับสถานการณ์การฉีดวัคซีนโควิด-19 (covid-19) ในประเทศไทยนั้น "ฐานเศรษฐกิจ" ติดตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขพบว่า ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.- 20 พ.ย. 64 มีการฉีดสะสมแล้วทั้งหมด 88,803,596 โดส แบ่งเป็น เข็มที่ 1 จำนวน 46,646,938 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 39,101,640 ราย  และเข็มที่ 3 จำนวน 3,055,018 ราย