ปภ.อัพเดท 15 จังหวัดยังมีอุทกภัย เปิดพท.เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง ท่วมขัง 28 ต.ค.

28 ต.ค. 2564 | 04:05 น.

ปภ.อัพเดทสถานการณ์น้ำท่วม มีสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง รวม 15 จังหวัด เปิดพื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง วันที่ 28 ต.ค.64

เกาะติดข่าวน้ำท่วม วันที่ 28 ต.ค.64 เวลา 09.45 น. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานมีสถานการณ์อุทกภัย น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง รวม 15 จังหวัด

อิทธิพลความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อน ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 24 – 28 ต.ค. 64 ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก 3 จังหวัด (เชียงใหม่ ชุมพร ตรัง) สถานการณ์คลี่คลายแล้ว

ปภ.อัพเดท 15 จังหวัดยังมีอุทกภัย เปิดพท.เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง ท่วมขัง 28 ต.ค.

ส่วนร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนล่างและประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ตั้งแต่วันที่ 17 - 19 ต.ค. 64 ยังคงมีสถานการณ์ 5 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และนครปฐม รวม 30 อำเภอ 137 ตำบล 825 หมู่บ้าน 22,006 ครัวเรือน

ส่วนอิทธิพลพายุ “คมปาซุ” เมื่อวันที่ 15 -17 ต.ค. 64 ยังคงมีสถานการณ์ 2 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี และปราจีนบุรี รวม 2 อำเภอ 7 ตำบล 27 หมู่บ้าน 95 ครัวเรือน ขณะที่อิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” ตั้งแต่วันที่ 23 ก.ย. – 7 ต.ค. 64 ยังคงมีสถานการณ์ 6 จังหวัด ได้แก่

มหาสารคาม สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี รวม 23 อำเภอ 214 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน 67,290 ครัวเรือน สำหรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่งจากฝนตกต่อเนื่องและการระบายน้ำในอ่างเก็บน้ำ ตั้งแต่วันที่ 20 - 28 ต.ค. 64 ยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น หนองบัวลำภู รวม 3 อำเภอ 8 ตำบล 14 หมู่บ้าน 239 ครัวเรือน ทั้งนี้ ในภาพรวมสถานการณ์เริ่มคลี่คลายในหลายพื้นที่ ระดับน้ำลดลง แต่ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ

รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 28 ตุลาคม 2564

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.หนองบัวลำภู (อ.โนนสัง ศรีบุญเรือง) ชัยภูมิ (อ.คอนสวรรค์ บ้านเขว้า เมืองฯ) ขอนแก่น (อ.ชนบท) มหาสารคาม (อ.โกสุมพิสัย กันทรวิชัย เมืองฯ) นครราชสีมา (อ.โนนสูง คง เมืองยาง ประทาย โนนไทย โชคชัย พิมาย ปักธงชัย เมืองฯ จักราช แก้งสนามนาง เฉลิมพระเกียรติ ห้วยแถลง ชุมพวง) บุรีรัมย์

(อ.นางรอง เมืองฯ เฉลิมพระเกียรติ) และศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ ห้วยทับทัน อุทุมพรพิสัย)

ภาคกลาง จ.ลพบุรี (อ.บ้านหมี่) สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า สองพี่น้อง) สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อินทร์บุรี

พรหมบุรี) อ่างทอง (อ.เมืองฯ ไชโย ป่าโมก วิเศษชัยชาญ) พระนครศรีอยุธยา (อ.ผักไห่ เสนา บางบาล พระนครศรีอยุธยา บางไทร บางปะอิน มหาราช บางปะหัน บางซ้าย) นครปฐม (อ.บางเลน นครชัยศรี สามพราน กำแพงแสน ดอนตูม พุทธมณฑล เมืองฯ) ปทุมธานี (อ.เมืองฯ สามโคก) และปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี)

พื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง

ภาคเหนือ จ.ตาก สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ และอุทัยธานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์

ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง จ.ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM