ราชกิจจาฯประกาศ "ล็อกดาวน์-เคอร์ฟิว" พื้นที่สีแดงเข้ม 29จว. เริ่ม 3 ส.ค.นี้ 

01 ส.ค. 2564 | 16:33 น.

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่มาตรการล็อกดาวน์ เคอร์ฟิว ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 30) เริ่ม 3 สิงหาคมนี้

วันที่ 1 สิงหาคม 2564 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 30) ซึ่งเป็นมาตรการล็อกดาวน์ เคอร์ฟิว  ห้ามนั่งทานอาหารในร้าน รวมทั้งมาตรการอื่นๆ  ที่จะเริ่มบังคับใช้วันที่ 3 สิงหาคมนี้ ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  โดยเนื้อหาระบุว่า 

ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไป เป็นคราวที่ 13 จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564  นั้น

โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ยังคงทวีความรุนแรง โดยเฉพาะไวรัส กลายพันธุ์ชนิดสายพันธุ์เดลตาที่เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายและติดต่อโรคกันได้โดยง่าย ทําให้มีจํานวน ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในเขตกรุงเทพมหานครและจังหวัดที่ได้กําหนดให้ เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยฝ่ายสาธารณสุขได้รายงานผลการประเมินแนวโน้ม ของสถานการณ์ที่แสดงผลว่าจะมีจํานวนผู้ติดเชื้อในระดับสูงเพิ่มมากขึ้นหากมิได้ดําเนินมาตรการควบคุม

และจํากัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางและการรวมกลุ่มของบุคคลอย่างรัดกุม มีประสิทธิภาพเพียงพอ 

แม้ปรากฏว่าผู้ติดเชื้อที่หายป่วยหรืออาการดีขึ้นจนออกจากโรงพยาบาลได้ในแต่ละวันมีจํานวนเพิ่มขึ้น ด้วยก็ตาม ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงจําเป็นต้องบังคับใช้บรรดามาตรการ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติต่าง ๆ อย่างเข้มงวดกวดขันเพื่อการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องออกไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง และยกระดับบางมาตรการ เพื่อให้การควบคุมการระบาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและป้องกันมิให้การระบาดเพิ่มความรุนแรงขึ้น 

อย่างไรก็ตาม จากการที่ได้ควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อน โดยปิดสถานที่ก่อสร้างและ บริเวณที่พักอาศัยชั่วคราวสําหรับคนงาน ตลอดจนได้มีการกําหนดมาตรการปิดสถานที่หรือกิจการที่มี ความเสี่ยงบางกรณีเพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

ซึ่งผลการดําเนินการ ในช่วงเวลาที่ผ่านมาปรากฏว่าได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการและผู้รับผิดชอบในการปรับปรุง สถานที่พักคนงานและการสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ การปรับปรุงสถานประกอบกิจการและเตรียมมาตรการ ด้านป้องกันและควบคุมโรค 

รวมทั้งการกํากับติดตามให้เป็นไปตามมาตรการที่ทางราชการกําหนด เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงสมควรปรับการบังคับใช้บางมาตรการต่อกลุ่มบุคคล สถานที่ และกิจการ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม แต่ยังคงให้ปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและ กํากับติดตามการป้องกันและควบคุมโรคตามที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัดต่อไปด้วย

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงออกข้อกําหนดและข้อปฏิบัติแก่ส่วนราชการทั้งหลายตามคําแนะนําของศูนย์บริหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 การปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัดตามพื้นที่สถานการณ์ ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) มีคําสั่งปรับปรุงเขตพื้นที่จังหวัด จําแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ตามบัญชีรายชื่อจังหวัดแนบท้ายคําสั่ง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ การระบาดที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

โดยให้นํามาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่กําหนดไว้สําหรับพื้นที่ สถานการณ์ระดับต่าง ๆ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกําหนดที่ได้ประกาศไว้แล้วก่อนหน้านี้ มาใช้บังคับ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดนี้

สําหรับจังหวัดที่ได้ปรับระดับเขตพื้นที่สถานการณ์ขึ้นใหม่ตามคําสั่งที่ออกตามข้อกําหนดนี้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเตรียมการด้านบุคลากร สถานที่ และ ประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนและเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมเพื่อการดําเนินการตามมาตรการ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติต่าง ๆ เป็นการล่วงหน้า โดยเฉพาะบรรดาจังหวัดที่กําหนดเป็นพื้นที่ควบคุม สูงสุดและเข้มงวด

ข้อ 2 การขยายเวลาการบังคับใช้มาตรการสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อการชะลอและลดแนวโน้มความรุนแรงของการระบาดที่จะเกิดขึ้นจากการประเมินสถานการณ์ของ ฝ่ายสาธารณสุขซึ่งเห็นสมควรให้ดําเนินมาตรการเพื่อมุ่งจํากัดการเคลื่อนย้ายและการรวมกลุ่มของบุคคล ต่อเนื่องไป จึงกําหนดให้บรรดามาตรการ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติสําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามที่กําหนดไว้ในข้อกําหนด (ฉบับที่ 28) ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ได้แก่ 

การลดและ จํากัดการเคลื่อนย้ายเดินทาง การห้ามออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น.  ของวันรุ่งขึ้น การขนส่งสาธารณะ การปฏิบัติงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน และมาตรการควบคุมบูรณาการเร่งด่วนสําหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง รวมถึงบรรดามาตรการ หลักเกณฑ์ หรือแนวปฏิบัติที่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้กําหนดขึ้นภายใต้ข้อกําหนดดังกล่าวเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดนี้ ยังคงใช้บังคับต่อเนื่องออกไป สําหรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดทุกจังหวัด จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2564

ข้อ 3 การปรับเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและการตรวจคัดกรองการเดินทางในเขต พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสนับสนุนจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไข สถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) กรุงเทพมหานคร จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัด ในเส้นทางคมนาคมข้ามเขตจังหวัด และการเดินทางออกนอกเขต พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดไปยังพื้นที่อื่น 

เพื่อการตรวจคัดกรอง ชะลอ หรือสกัดกั้นการเดินทาง ของบุคคล โดยให้เป็นไปตามแนวทางการปฏิบัติที่ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) กําหนด และให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามมาตรการ ข้อห้าม ข้อยกเว้น และแนวปฏิบัติ รวมทั้งการพิจารณากรณีหรือบุคคลที่ได้รับยกเว้น ตามที่ได้กําหนดไว้ในข้อ 5 แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ 28) ลงวันที่17 กรกฎาคม พ.ศ.2564 และนํากรณีตามข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5 แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2564 มาใช้พิจารณาเป็นกรณียกเว้นด้วยโดยอนุโลม

ข้อ 4 ห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ห้ามจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มกัน ของบุคคลเพื่อลดความเสี่ยงในการติดต่อสัมผัสกันที่สามารถแพร์โรคได้ เว้นแต่เป็นกรณีได้รับอนุญาต จากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัด หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ที่จะพิจารณาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จัดกิจกรรมและสถานการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบ โดยกําหนด จํานวนบุคคลจําแนกตามเขตพื้นที่สถานการณ์ ดังนี้

  1. พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจํานวน รวมกันมากกว่าห้าคน
  2. พื้นที่ควบคุมสูงสุด ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจํานวนรวมกัน มากกว่ายี่สิบคน
  3. พื้นที่ควบคุม ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจํานวนรวมกัน มากกว่าห้าสิบคน
  4. พื้นที่เฝ้าระวังสูง ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจํานวนรวมกัน มากกว่าหนึ่งร้อยคน
  5. พื้นที่เฝ้าระวัง ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจํานวนรวมกัน มากกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบคน

กิจกรรมรวมกลุ่มของบุคคลที่เคยได้รับอนุญาตให้จัดกิจกรรมได้ตามข้อกําหนดที่ได้ประกาศ ไว้แล้วก่อนหน้านี้ เมื่อข้อกําหนดนี้ได้มีการปรับระดับมาตรการในเรื่องจํานวนบุคคลให้เข้มงวดขึ้น ให้ผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมดําเนินการขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบและทบทวน มาตรการป้องกันโรคในการจัดกิจกรรมในช่วงระยะเวลานี้ให้เหมาะสมกับห้วงเวลาและสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ ศปก.ศบค. กําหนด

ให้ ศปม. พิจารณามาตรการที่จําเป็นและเหมาะสมของสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่เพื่อการ เข้าระงับยับยั้ง การตรวจสอบ การยุติการชุมนุมหรือการทํากิจกรรมหรือการมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อ การแพร่ระบาดของโรคเพื่อป้องกันการติดเชื้อทั้งต่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมและประชาชนอื่นทั่วไป โดยให้ เร่งรัดการปฏิบัติตามหน้าที่และอํานาจอย่างเข้มข้นเพื่อเกิดผลสัมฤทธิ์ที่รวดเร็ว

ข้อ 5 กิจกรรมที่ได้รับยกเว้น กิจกรรมหรือการรวมกลุ่มของบุคคลดังต่อไปนี้สามารถจัดได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตตามข้อ ๔ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกําหนด อย่างเคร่งครัด

  1. กิจกรรมเกี่ยวกับการขนส่งหรือขนย้ายประชาชน ได้แก่ การขนส่งประชาชนเพื่อเดินทางไป หรือออกจากที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ศูนย์พักคอยรอการส่งตัว หรือสถานที่เพื่อการ ช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในชั้นแรก
  2. กิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและการสาธารณสุข
  3. กิจกรรมเกี่ยวกับการให้บริการ การให้ความช่วยเหลือหรืออํานวยประโยชน์หรือ ความสะดวกแก่ประชาชน
  4. การรวมกลุ่มของบุคคลตามปกติในที่พักอาศัย สถานที่ทํางาน การประชุมโดยวิธีการ ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการออกกําลังกายในสถานที่ตามที่ทางราชการกําหนด
  5. กิจกรรมที่ดําเนินโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมที่จัดโดยองค์กรหรือหน่วยงาน ของรัฐโดยความเห็นชอบของหัวหน้าหน่วยงานดังกล่าว หรือกิจกรรมอื่นตามที่ ศปม. กําหนด

พนักงานเจ้าหน้าที่อาจเข้าไปกํากับตรวจสอบหรือให้คําแนะนําการดําเนินกิจกรรมรวมกลุ่ม ของบุคคลได้ และหากพบว่าการจัดหรือการดําเนินกิจกรรมดังกล่าวมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอํานาจตักเตือนหรือแนะนําเพื่อให้แก้ไขให้ถูกต้อง หรืออาจสั่งให้ยุติการดําเนิน กิจกรรมนั้นได้

ข้อ 6 การปรับมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วนสําหรับสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอํานวยความสะดวกแก่ประชาชน ในการดําเนินชีวิต จึงกําหนดให้สถานที่และกิจกรรมดังต่อไปนี้ เปิดดําเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข ที่กําหนด

1. ร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบกิจการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันเฉพาะในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครหรือผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยความเห็นชอบ ของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครหรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด แล้วแต่กรณี พิจารณาดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ 

ให้ร้านจําหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่มที่ตั้งอยู่ใน ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบกิจการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เปิดดําเนินการได้จนถึงเวลา 20.00 น.  โดยให้ดําเนินการได้เฉพาะการจําหน่ายในรูปแบบ การสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านการบริการขนส่งอาหาร (Food Delivery Service) เท่านั้นโดยไม่มี การจําหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรงเพื่อลดการติดต่อระหว่างผู้จําหน่ายกับผู้บริโภคจํานวนหลายคน และต้องดําเนินการภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบ และมาตรการป้องกันโรค ที่ทางราชการกําหนด

ให้ผู้จัดการหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือ สถานประกอบกิจการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน จัดให้มีระบบการคัดกรองและตรวจสอบการลงทะเบียน ผู้ขนส่งอาหารก่อนเข้าภายในอาคารหรือพื้นที่ การจัดระบบคิวและกําหนดพื้นที่เป็นการเฉพาะสําหรับรอคิว มีบริเวณพักคอยซึ่งมีการเว้นระยะห่างระหว่างที่นั่งหรือยืนที่เหมาะสม และต้องกํากับดูแลให้มีการดําเนิน มาตรการดังกล่าว รวมถึงมาตรการด้านสาธารณสุขอื่น ๆ ตามที่ทางราชการกําหนดอย่างเคร่งครัด

2. กลุ่มแรงงานก่อสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดปริมณฑล (จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร) อาศัยอํานาจตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พิจารณา ปรับมาตรการเพื่อให้พื้นที่หรือสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร สถานที่พักอาศัยชั่วคราว สําหรับแรงงาน งานก่อสร้าง และการเดินทางเคลื่อนย้ายแรงงาน 

ตามข้อ 2 แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ซึ่งได้เคยมีประกาศหรือคําสั่งให้ปิดสถานที่หรือหยุดดําเนินการ หรือเคยได้รับการผ่อนคลายแบบมีเงื่อนไข แต่ต่อมาสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคได้ ตามมาตรฐานทางสาธารณสุข หรือได้ดําเนินการแก้ไขเพื่อให้สถานที่มีสภาวะที่ถูกสุขลักษณะแล้ว โดยให้เปิดหรือดําเนินการได้ภายใต้หลักเกณฑ์ มาตรการ และแนวทางกํากับติดตามประเมินผล ที่กระทรวงสาธารณสุขหรือทางราชการกําหนด ซึ่งรวมถึงการมีคําสั่งให้ผู้ประกอบการหรือผู้รับผิดชอบ ในพื้นที่หรือสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคารดําเนินมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ เฉพาะ (Bubble and Seal) 

เพื่อป้องกันการระบาดในแรงงานก่อสร้าง และเมื่อเกิดการระบาด ในพื้นที่ต้องมีการปรับระดับความเข้มข้นของมาตรการ ทั้งนี้ ยังคงให้ดําเนินกิจการต่อไปภายใต้มาตรการ การเดินทางเคลื่อนย้ายระหว่างที่พักและสถานที่ทํางานภายใต้การกํากับควบคุม (Sealed Route) มีการ บริหารจัดการในการแยกผู้ติดเชื้อ ผู้สัมผัสใกล้ชิด ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ และกลุ่มเปราะบาง มีบริการ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งมีการจัดเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งอํานวยความสะดวกตามที่ กระทรวงสาธารณสุขกําหนดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะไม่ใช้บังคับกับพื้นที่ สถานที่ หรือกิจกรรมที่มีประกาศหรือคําสั่งปิดหรือห้ามดําเนินกิจกรรมเนื่องจากปรากฎการแพร่ระบาด แบบเฉพาะเจาะจงเป็นรายกรณี

ข้อ 7 การปรับเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและการเดินทางของกลุ่มแรงงานก่อสร้าง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้ ศบค.มท. ศปม. กรุงเทพมหานคร และจังหวัด ปริมณฑล พิจารณาผ่อนคลายมาตรการคัดกรองการเดินทางเข้าออกของแรงงานก่อสร้างที่เดินทางข้าม เขตจังหวัดในเส้นทางคมนาคมเข้าออกกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลตามความในข้อ 7 (2) แห่งข้อกําหนด (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ให้สอดคล้องกับมาตรการผ่อนคลาย มาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้างในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและ ปริมณฑลตามข้อ ๖ (๒) แห่งข้อกําหนดฉบับนี้ด้วย

ข้อ 8 มาตรการเพื่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง ทั่วราชอาณาจักร เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในกลุ่มแรงงานก่อสร้างในเขตพื้นที่อื่นนอกจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด พิจารณานํามาตรการป้องกันและควบคุมโรค ในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) และมาตรการการเดินทางเคลื่อนย้ายระหว่างที่พักและสถานที่

ทํางานภายใต้การกํากับควบคุม (Sealed Route) มาใช้บังคับให้เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาด ในพื้นที่และลักษณะของพื้นที่หรือสถานที่ก่อสร้าง ดัดแปลงหรือรื้อถอนอาคาร สถานที่พักอาศัยชั่วคราว สําหรับแรงงาน งานก่อสร้าง และการเดินทางเคลื่อนย้ายแรงงาน ในกลุ่มแรงงานก่อสร้างในพื้นที่ ความรับผิดชอบด้วย

ข้อ 9  มาตรการเพื่อการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานในสถาน ประกอบกิจการหรือโรงงานทั่วราชอาณาจักร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ดําเนินการตรวจสอบ กํากับดูแล ประเมินผลการปฏิบัติ และให้ข้อเสนอแนะต่อผู้ประกอบการหรือ ผู้รับผิดชอบในสถานประกอบกิจการหรือโรงงานในการยกระดับมาตรฐานการปฏิบัติด้านสาธารณสุข ของสถานประกอบกิจการหรือโรงงานและมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่ราชการกําหนด หากมี กรณีเกิดการแพร่ระบาดขึ้นในสถานประกอบกิจการหรือโรงงาน ให้ผู้ประกอบการหรือผู้รับผิดชอบ ในสถานประกอบกิจการหรือโรงงานดําเนินการให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) 

ซึ่งต้องมีการปรับระดับความเข้มข้นของมาตรการ ทั้งนี้ ยังคงให้สถานประกอบ กิจการหรือโรงงานดําเนินกิจการต่อไปภายใต้เงื่อนไขที่กําหนด มีมาตรการการเดินทางเคลื่อนย้าย ระหว่างที่พักและสถานที่ทํางานภายใต้การกํากับควบคุม (Sealed Route) มีการบริหารจัดการ ในการแยกผู้ติดเชื้อ ผู้สัมผัสใกล้ชิด ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ และกลุ่มเปราะบาง มีบริการด้านการแพทย์ และสาธารณสุข รวมทั้งมีการจัดเครื่องอุปโภคบริโภคและสิ่งอํานวยความสะดวกตามที่กระทรวงสาธารณสุข กําหนดอย่างเคร่งครัด

การดําเนินการของสถานประกอบกิจการหรือโรงงานตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) และมาตรการการเดินทางเคลื่อนย้ายระหว่างที่พักและสถานที่ทํางานภายใต้ การกํากับควบคุม (Sealed Route) ดังกล่าว ให้เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรค หลักเกณฑ์ และ แนวปฏิบัติที่ ศปก.ศบค. ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกําหนด โดยให้มีการกํากับ ติดตามผลการดําเนินงานเป็นระยะต่อไป

ข้อ 10 การกําหนดมาตรการเพิ่มเติมของแต่ละจังหวัด เพื่อให้การป้องกันและควบคุม การระบาดของโรคสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครหรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจพิจารณาดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ในการสั่งปิด จํากัด หรือ ห้ามการดําเนินการของสถานที่ กิจการ หรือสั่งให้งดการทํากิจกรรมอื่นในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เป็นการเพิ่มเติมนอกเหนือจากมาตรการควบคุมแบบบูรณาการที่ส่วนกลางกําหนดได้ โดยให้เป็นไป ตามแนวปฏิบัติที่ ศปก.ศบค. หรือ ศบค.มท. กําหนด

ข้อ 11 การบังคับใช้มาตรการตามข้อกําหนด ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและกํากับ การปฏิบัติตามมาตรการ ข้อห้าม และข้อปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2564  โดยให้ประเมินสถานการณ์และความเหมาะสมของมาตรการ ตามข้อกําหนดนี้ทุกห้วงระยะเวลา 14 วัน

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป