ไขข้อข้องใจ“เดินทางข้ามจังหวัด” หลังประกาศล็อกดาวน์

10 ก.ค. 2564 | 07:06 น.

สรุปข้อกำหนดการ"เดินทางข้ามจังหวัด" หลังประกาศ "ล็อกดาวน์" ของประชาชนต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ยังสามารถเข้าออกกรุงเทพ- ปริมณฑล จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ไหม ที่นี่มีคำตอบ

กรณีรัฐบาลได้ประกาศเคอร์ฟิว และมาตรการล็อกดาวน์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค. 2564 ซึ่งหนึ่งในมาตรการสำคัญคือการเดินทางข้ามจังหวัด ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ 9 ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี เรื่องข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนตการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  (ฉบับที่ 27)

ไขข้อข้องใจ“เดินทางข้ามจังหวัด” หลังประกาศล็อกดาวน์

เพื่อไขข้อข้องใจ “ฐานเศรษฐกิจ”จึงได้สรุปข้อกำหนดเกี่ยวกับการเดินทางข้ามจังหวัดของประชาชนมาให้เข้าใจแบบง่ายๆ

เงื่อนไขการเดินทางข้ามจังหวัด หลังประกาศล็อกดาวน์

  • ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดในช่วงระยะเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
  • กรณีที่จำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่อาจไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจต้องใช้ระยะเวลามากกว่าปกติ
  • ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองการเดินทางในเส้นทางคมนาคมเข้าออกกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการเดินทางเข้าออกจังหวัดอื่น เพื่อควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน และคัดกรองการเดินทางของประชาชนทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564 และตามแนวปฏิบัติที่ ศปก.ศบค. กำหนด
  • ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบและกำกับดูแลการให้บริการของผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะ สำหรับการขนส่งคนโดยสารระหว่างจังหวัด ซึ่งมีพื้นที่ต้นทางจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดปริมณฑล หรือพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อกำหนดนี้ โดยเพิ่มความเข้มงวดเพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติ รวมทั้งการตรวจคัดกรองการเดินทาง  การจัดระบบและระเบียบให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติที่ ศปก.ศบค. กำหนด
  • การขนส่งสินค้าระหว่างจังหวัด ให้กระทรวงคมนาคมจัดระเบียบหรือแนวปฏิบัติเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เหมาะสมและลดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

เงื่อนไขการเดินทางตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิ.ย. 2564

  • กำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมและตรวจคัดกรองการเดินทาง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการสนับสนุนจากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัด เพื่อคัดกรองการเดินทาง
  • เส้นทางคมนาคมเข้าออกจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และจังหวัดสงขลส) การตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัดเพื่อตรวจคัดกรอง การเดินทาง ให้ดำเนินการอย่างเข้มงวด โดยบุคคลที่ประสงค์จะเดินทางออกนอกพื้นที่ ต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรแสดงตนอื่น ๆ ควบคู่กับเอกสารรับรองความจำเป็นที่ออกโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือเจ้าหน้ำที่ฝ่ายปกครองในพื้นที่ เว้นแต่เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้น
  • เส้นทางคมนาคมเข้าออกกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร) การเดินทางข้ามเขตจังหวัด มีการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัดเพื่อตรวจคัดกรองการเดินทาง อย่างเข้มงวด
  • เส้นทางคมนาคมเข้าออกจังหวัดอื่น มีการตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ หรือจุดสกัดเพื่อตรวจคัดกรองการเดินทาง อย่างเข้มงวด ในกรณีที่พบผู้เดินทำงมำจำกจังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้ดำเนินมาตรการควบคุมและป้องกันโรคโดยการคุมไว้สังเกต แยกกัก หรือกักกันในพื้นที่พำนักหรือสถานที่ที่ทางราชการกำหนด หรือตามหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุขที่กระทรวงสาธสรณสุขหรือ ศบค. กำหนด
  • ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งตามกฎหมำยว่าด้วยโรคติดต่อเพื่อกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการป้องกันโรคสำหรับบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดขึ้นเป็นการเฉพาะในจังหวัดพื้นที่รับผิดชอบ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์หรือแนวปฏิบัติที่ ศบค. หรือนายกรัฐมนตรีกำหนด