“นอร์ม” รองเท้าลำลองไอเดียลํ้า ในกระแสเศรษฐกิจหมุนเวียน

07 พ.ค. 2564 | 08:25 น.

วงจรการใช้สินค้าทุกวันนี้ อาจจะก่อให้เกิดขยะและการสูญเสียทรัพยากรได้อย่างมาก โดยเริ่มจากการซื้อสินค้าอย่างหนึ่งมาใช้ เมื่อใช้จนหมดอายุการใช้งานแล้วก็จำเป็นต้องทิ้งไป ส่วนใหญ่เรื่องก็จบตรงที่ทิ้งแล้วกลายเป็นขยะ รอหน่วยงานต่างๆมาเก็บไปกำจัด วัฏจักรของสินค้ามักเป็นเช่นนี้ แต่ถ้าหากสินค้าที่กลายเป็นขยะนั้น ถูกนำกลับมารีไซเคิลแล้วนำไปใช้ประโยชน์ได้อีก สินค้านั้นก็ไม่ได้เป็นขยะ แต่เหมือนได้ฟื้นคืนชีพในร่างใหม่ ได้กลับมาทำประโยชน์ได้ต่อไป หมุนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ นับว่าตอบโจทย์แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้เป็นอย่างดี 

“เซอร์เคิล บาย นอร์ม” (Circle by Norm) เป็นบริษัทผู้ผลิตและออกแบบรองเท้าลำลองจากประเทศเบลเยี่ยม เจ้าของรองเท้าแบรนด์ “นอร์ม” (Norm) ซึ่งให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืน การผลิตรองเท้านอร์มคำนึงถึงการเก็บรองเท้าที่ลูกค้าใช้จนเก่าและไม่ใช้แล้ว คืนกลับเข้าสู่กระบวนนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ โดยขั้นแรกจะมีการคัดเลือก หากรองเท้าเก่าที่ลูกค้าคืนกลับมายังอยู่ในสภาพดีที่ยังใช้ได้ บริษัทก็จะบริจาคให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรที่จะนำไปแจกจ่ายให้ผู้ที่ต้องการใช้รองเท้า แต่หากคู่ไหนอยู่ในสภาพที่นำไปใช้ไม่ได้อีกแล้ว ทางบริษัทก็จะนำไปเข้าโรงงานรีไซเคิลเพื่อนำวัสดุจากการรีไซเคิลกลับมาทำรองเท้าคู่ใหม่ต่อไป


“นอร์ม” รองเท้าลำลองไอเดียลํ้า ในกระแสเศรษฐกิจหมุนเวียน

“นอร์ม” รองเท้าลำลองไอเดียลํ้า ในกระแสเศรษฐกิจหมุนเวียน

“นอร์ม” รองเท้าลำลองไอเดียลํ้า ในกระแสเศรษฐกิจหมุนเวียน

 

“นอร์ม” รองเท้าลำลองไอเดียลํ้า ในกระแสเศรษฐกิจหมุนเวียน

 

นิโคลัส ลาวิญา ผู้ร่วมก่อตั้งและดีไซเนอร์ของเซอร์เคิล บาย นอร์ม เปิดเผยว่า ฐานการผลิตของบริษัทอยู่ในประเทศยุโรป ประมาณ 90% ของรองเท้าแต่ละคู่เป็นวัสดุที่มาจากกระบวนการรีไซเคิลยกตัวอย่างเช่นในการผลิตรองเท้า 1 คู่ ต้องใช้ขวดพลาสติกที่ถูกนำมารีไซเคิลจำนวน 6 ขวดบริษัทระบุว่า กระบวนการผลิตของบริษัทนั้น สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ถึง 80% เมื่อเทียบกับกระบวนการผลิตรองเท้ากีฬาหรือรองเท้าลำลองประเภทสนีกเกอร์โดยทั่วไป 

รองเท้า “นอร์ม” แต่ละคู่มีค่าคาร์บอนฟุตปรินท์ (carbon footprint) 6.5 กิโลกรัม ขณะที่รองเท้าสนีกเกอร์โดยทั่วไปมีค่าคาร์บอนฟุตปรินท์ถึง 32 กิโลกรัม นอกจากนี้ เพื่อให้เป็นรองเท้าเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง บริษัทยังมอบเงินบริจาคจากยอดขายรองเท้านอร์มทุกๆ 1 คู่สำหรับนำเงินไปปลูกต้นไม้จำนวน 2 ต้น

 

นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 หน้า 24 ฉบับที่ 3,676 วันที่ 6 - 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2564