“ณัฐวิน-กริช” เปิดมุมมองรัฐประหารเมียนมาไม่มีผลกับการทำธุรกิจ

02 ก.พ. 2564 | 13:39 น.

ข่าวเศรษฐกิจ อัพเดทข่าววันนี้ ราคาทอง น้ำมัน ข่าวตลาดหุ้น การเงิน ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ การตลาด เจาะลึกแบบตรงประเด็น | ฐานเศรษฐกิจ

เช้าวันที่ 1 ก.พ. 2564 คือวันที่ พล.อ. มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้ทำรัฐประหารในเมียนมา และประกาศภาวะฉุกเฉินนาน 1 ปี อ้างเหตุผลมี"การทุจริตเลือกตั้ง"ของพรรคเอ็นแอลดีที่เป็นพรรครัฐบาล เรียกเสียงประณามจากนานาชาติ พร้อมกับคำขู่ว่าจะตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ รวมถึงสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่าทิศทางการค้าการลงทุนในเมียนมาจะเป็นไปในทิศทางใดนับจากนี้ 

 

พรรคประชาธิปัตย์จัดกิจกรรมเวทีเสวนาเปิดอกถกทุกประเด็น ทุกรุ่น ทุกมุม” เชิญ”คนรุ่นใหม่”ทุกคนมาร่วมแชร์มุมมอง แสดงความคิดเห็น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ ... โดยพบกับแขกวีไอพีประจำสัปดาห์  โดยเฉพาะประเด็นที่อยู่ในกระแสในขณะนี้อย่าง การรัฐประหารในเมียนมา ซึ่งได้เชิญ 2 กูรูที่มี่ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเมียนมาจากคลุกคลีทำธุรกิจในเมียนมามานานกว่า 20 ปี มาแชร์มุมมอง การเมืองไทย-เมียนมา ค้าขายกับเมียนมา  โดย นายณัฐวิณ พงษ์เภตรารัตน์ รองประธาน Thai Business Association of Myanmar  และwww.tbam1997.com    และ นายกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ ประธานสภาธุรกิจไทย-เมียนมา

 

โดยนายกริช อึ้งวิฑูรสถิตย์ ประธานสภาธุรกิจไทยพม่า  และ นักธุรกิจที่ทำธุรกิจอยู่ในเมียนมากว่า 30 ปี  กล่าวว่า เมียนมาในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าไปมากถ้าเทียบกับ 50 ปีก่อน   ทั้งถนนหนทาง การเดินทางที่มีความคล่องตัวมากขึ้น การจ้างงาน ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่เจริญขึ้น แต่การค้าการลงทุนที่ยังเหมือนเดิม ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองในเมียนมาของทหาร และทีท่าของหลายชาติออกมาจะคว่ำบาตรเมียนมา ในทางกลับกับนักลงทุนในเมียนมาเองไม่มีใครตื่นตระหนก การค้าขายผ่านชายแดนยังเป็นปกติยังค้าขายได้ สังเกตได้ว่าการรัฐประหารครั้งนี้ ทหารไม่แตะเรื่องเศรษฐกิจเพราะเขามองว่าการค้ายังคงต้องเดินหน้าต่อ เขาปล่อยให้การทำธุรกิจต่างเดินหน้าต่อ แม้ว่าในวันแรกที่ยึดอำนาจจากรัฐบาล ธนาคารต่าง ๆ ในย่างกุ้ง จะปิดไปช่วงแรก  แต่หลังจากนั้นก็เปิดให้บริการตามปกติ เช่นเดียวกับด่านที่ติดกับชายแดนไทยก็เปิดให้บริการตามปกติ จะมีปิดแค่ช่วงแรก ๆ เท่านั้น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่หลายคนอาจจะคิดว่าค่าเงินจ๊าดต้องร่วงแน่ก็ไม่มีอะไรรุนแรง แต่ทั้งนี้คงต้องจับตาดูในช่วงนี้อย่างใกล้ชิดว่าจะมีประกาศอะไรออกมาอีกหรือไม่จากกรัฐบาลจัดตั้ง

 

 

“แน่นอนว่า การรัฐประหารเกิดขึ้นย่อมเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคของเมียนมา  แต่ก็ยังมีวิกฤติอื่น ๆ ที่หนักกว่าเช่น วิกฤติโควด-19 ที่กลับมาแพร่ระบาดอีกรอบและครั้งนี้ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆได้รับผลกระทบร้านค้าต่าง ๆ ปิดตัวอีกครั้ง การใช้ชีวิตมีความยากลำบากขึ้น  ดังนั้นสิ่งที่เป็นห่วงว่าการค้าการลงทุนในเมียนมาจะเป็นอย่าง เราต้องแยกออกเป็นสองประเด็น อย่างการค้า  เกิดขึ้นแล้วเราจะทำยังไง เพราะในเมียนมาเกิดรัฐประหาร 2 ครั้ง กว่า 50 ปี  ที่การค้าเงียบ ในยุคนั้น ถ้ามองถึงยุคนี้การค้าจะเงียบมั้ย ผมเชื่อว่าจะไม่เงียบประชาชนเขาเจ็บปวดมามากแล้วคงไม่ปล่อยให้การค้าทรุด วันนี้เมียนมาเดินไปไกล การลงทุน ระบบสาธารณูปโภคมีการพัฒนาแล้วในขณะที่ทหารเองถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นหรือแซงซั่นเกิดขึ้นในชาติตะวันตกคงอยู่ไม่เป็นสุกแน่ แต่คิดว่าคงไม่เกิดขึ้น ส่วนการค้าไทยกับเมียนมา มีการเข้าไปลงทุนในเมียนมามากขึ้น ทั้งนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อยากให้นักการเมืองไทย ทำอย่างไรให้ส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับเมียนมาให้ดีขึ้น ”

 

ส่วนการค้าการลงทุนกับไทยนั้น แน่นอนว่า ไทยกับเมียนมามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมานาน ดังนั้นเชื่อว่าเมียนมาจะรักษาความสัมพันธ์นี้ไว้ รวมถึงจีนด้วยเพราะจีนเข้าไปลงทุนในเมียนมาจำนวนมาก ดังนั้นเมียนมาอาจจะไม่แคร์ชาติตะวันตกหากจะคว่ำบาตร เพราะตลาดหลักของเมียนมาคือจีน

 

แต่สิ่งที่กลุ่มชาติพันธ์ุต่างกังวลและสอบถามตามมาคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2008 ของเมียนมาที่กำหนดให้แต่ละชาติพันธ์ุต้องดูแลกลุ่มของตัวเองห้ามรุกล้ำกันซึ่งหากมีการแก้ไขอาจจะเกิดการรุกล้ำกันได้แต่เชื่อว่ารัฐบาลรักษาการจะไม่แก้ไขรัฐธรรมนูญนี้

ขณะที่นายณัฐวิณ พงษ์เภตรารัตน์ รองประธาน Thai Business Association of Myanmar  และwww.tbam1997.com     กล่าวว่า  ตนและครอบครัวเข้าไปทำธุรกิจใจเมียนมามานานหลายปี  ซึ่งเห็นการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในเมียนมามาโดยตลอดและการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้   ซึ่งการยึดอำนาจมีที่มาที่ไป แต่เราจะทำอย่างไรในการใช้โอกาสตรงนี้ในการทำธุรกิจ คิดว่าช่วงที่เขาปิดประเทศการที่เขาเคยเป็นเมืองขึ้นอังกฤษเขามีระเบียบที่ดีมาก ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ยังสามารถใช้ได้ดีแม้ว่าจะมีอายุเป็นร้อยปี ต้องยอมรับว่าเขาปิดประเทศไป 50 ปีมีผลต่อเศรษฐกิจประเทศเขา

 

ทั้งนี้บริบทของเมียนมาไม่เหมือนกับไทย เพราะเมียนมาปิดประเทศมานาน  โดยในช่วง 3-4 ปีเขาเจริญมาก การยึดอำนาจครั้งนี้ทำให้เห็นว่าวิธีการของเขาไม่เหมือนกัน แต่คงจะไม่ย้อนกลับไปเหมือนเดิม เพราะเขามีประสบการณ์แล้ว  แต่ทั้งอย่างมีที่มาที่ไป แต่เราทำยังไงใช้โอกาสที่เกิดขึ้นให้เกิดประโยชน์กับไทยกับธุรกิจของไทย ส่วนตัวตนไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจแต่ก็เป็นเรื่องวิธีการที่แต่ละประเทศจะจัดการก็เป็นเรื่องภายในของเขา

 

การเกิดเหตุการณ์นี้จะส่งผลอะไรต่อเนื่องก็ยากจะคาดเดา จะย้อนกลับไปเมื่อ 2-3 ปี ที่มีเหตุการณ์โรฮิงญา ที่เขามาบุกรุกยืดพื้นที่ทำไม่ถูกกฎหมาย ซึ่งอองซาน ซูจีก็ไปศาลโลกเพื่อไปชี้แจงในฐานะเป็นตัวแทนเมียนมา แต่สิ่งที่เกิดขึ้น 2 ปีผ่านไป มาตรการต่าง ๆ ทางฝั่งยุโรปไม่ได้มีการที่เขาจะแซงซั่นไม่เกิดผลดีต่อเมียนมาแน่นอน  เขาก็แซงซั่นที่ตัวบุคคลแทน  เรามองว่าน่าจะเป็นไปตามมุมมองเดิมเพราะไม่เช่นนั้นความลำบากจะเกิดขึ้นกับประชาชนเมียนมา แต่ตอนนี้สิ่งที่เรามองว่าจะเกิดขึ้นเศรษฐกิจเมียนมาส่วนหนึ่งที่มีการเติบโต ธุรกิจการเงิน เสื้อผ้าส่งออก ซึ่งวิกฤติโควิดเขาได้รับผลกระทบแล้ว แต่ว่าเราคิดว่าสิ่งที่เกิดตามมาคือการคว่ำบาตร เพราะหลายประเทศในแถบยุโรป หรือญี่ปุ่นเริ่มออกมาตรการบางอย่าง วันนี้มาที่พรรคประชาธิปัตย์ก็อยากจะได้มุมมองของรัฐบาลไทย เพราะตอนนี้ทางรัฐบาลไทยยังเงียบมาก แต่คิดว่าพอเกิดเหตุการณ์นี้ ทางเมียนมาเขาไม่แตะเรื่องเศรษฐกิจเขาพยายามให้ทุกอย่างเดินเป็นปกติที่สุด