วช.เปิดเวทีเชียงใหม่ถก"ฝุ่นควันข้ามแดน"

15 ธ.ค. 2563 | 09:51 น.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)เปิดเวทีประชุมวิชาการเชียงใหม่ ถก“ปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เปิดเวทีประชุมวิชาการ เชียงใหม่ ถกปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ จากภาวะฝุ่นจิ๋วPM2.5เริ่มส่งผลกระทบ 

 

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)ประชุมวิชาการ“ปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ”เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะสร้างความตระหนักถึงปัญหาฝุ่นควันซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อมเพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะระหว่างภาควิชาการและภาคประชาชนที่ให้ความตระหนักถึงปัญหาฝุ่นควันซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่โรงแรมแคนทารี ฮิลส์ เชียงใหม่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการและจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ในการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ร่วมกับ ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (RCSD) คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสภาลมหายใจเชียงใหม่ ได้จัดงานประชุมวิชาการขึ้นในหัวข้อ “ปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ” (Transboundary Impact of Climate Change and Haze Pollution) 

วช.เปิดเวทีเชียงใหม่ถก"ฝุ่นควันข้ามแดน"

ดร.ชยันต์ วรรธนะภูติ ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า การประชุมวิชาการฯครั้งนี้ เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะระหว่างภาควิชาการและภาคประชาชนที่ให้ความตระหนักถึงปัญหาฝุ่นควัน ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อันมีสาเหตุปัจจัยมาจากกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ปัญหาฝุ่นควันและมลพิษทางอากาศ มีความซับซ้อนและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง ไม่เพียงแต่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีประเด็นเรื่องของสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิทธิขั้นพื้นฐาน และผลกระทบข้ามพรมแดนในภูมิภาค ที่ประชาชนจะต้องให้ความตระหนัก โดยเวทีวิชาการนี้ให้ความสำคัญในประเด็นปัญหาฝุ่นควันที่หลากหลาย ที่จะเปิดมุมมองของผู้เข้าร่วมให้เห็นถึงสภาพของปัญหาที่มีมิติที่ซับซ้อน ช่วยให้ผู้เข้าร่วมและสาธารณะได้เข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาที่แท้จริงในประเด็นที่กว้างขึ้น 

วช.เปิดเวทีเชียงใหม่ถก"ฝุ่นควันข้ามแดน"

โดยการจัดงานครั้งนี้จะเป็นเนื้อหาในการบรรยายและแลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมประชุม เป็นการบรรยาย 2 หัวข้อหลักคือ 1)“Climate Change and Haze Resilience in Southeast Myanmar” และ 2) “Transboundary Haze Pollution in Northern Thailand and ASEAN” โดยบรรยายภาคภาษาอังกฤษ และมีล่ามแปลเป็นภาษาไทยและเมียนมา 

ในส่วนของภาคบ่าย เป็นการบรรยาย 5 ประเด็นหลักคือ 1) ฝุ่นควันข้ามแดน ปัญหาทางอุตุนิยมวิทยาที่สัมพันธ์ต่อการเกิดปัญหามลพิษทางอากาศในภาคเหนือของไทย 2) การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกข้าวโพด ร่องรอยพื้นที่เผาไหม้ (burn scar) และจุดความร้อน (hotspot) ในพื้นที่ 3 ประเทศได้แก่ ประเทศไทย เมียนมา และสปป.ลาว 3) ข้าวโพด ปัญหาการเปลี่ยนแปลงในการใช้ที่ดินของภาคการเกษตรและมลพิษข้ามพรมแดน 4) มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม 5) มลพิษฝุ่นละเอียด PM 2.5 ผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพ และ 6) นโยบายสาธารณะและมาตรการการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามแดน 

นอกจากนี้ ยังได้มีการสรุปถึงสถานการณ์และความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน ในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ โดยสภาลมหายใจเชียงใหม่ เพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงสถานการณ์ของปัญหาฝุ่นควันในปัจจุบัน ให้ประชาชนได้ตระหนักและมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในครั้งนี้ด้วย

วช.เปิดเวทีเชียงใหม่ถก"ฝุ่นควันข้ามแดน"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศกพ. แถลง ฝุ่น PM2.5 แนวโน้มสูงขึ้น เข้มงวดการตรวจวัดควันดำ งดเผา

รับมือ PM2.5 "บิ๊กป้อม" เข้ม สั่งบังคับใช้กฎหมายคู่ขนานการป้องกัน ลดปัญหาที่ต้นเหตุ

กทม.อ่วม เช้านี้ ฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐาน 66 พื้นที่

ดีเดย์ 1 ธ.ค. "ห้ามรถบรรทุกเข้ากทม." แก้ “PM 2.5”

วช.เปิดเวทีเชียงใหม่ถก"ฝุ่นควันข้ามแดน"

ดร.ชยันต์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาคิดว่าทางจังหวัดก็ได้ทำงานเต็มที่ โดยเฉพาะการระดมความช่วยเหลือความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาไฟป่า และการบริหารจัดการเชื้อเพลิง ได้มีการพูดคุยเปลี่ยนแนวความคิดมาสู่การเปิดโอกาสให้มีการเผา แต่ว่ามีการจัดการ มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่จะตรวจสอบว่าเมื่อไหร่จะเผาได้ อันนี้ก็เป็นข้อดี แต่ว่าเราอยากจะเห็นการมองภาพรวมที่กว้างขึ้นในบริบทที่เป็นฝุ่นควัน เราอยากจะทำให้เห็นปัญหา ที่ต้องอาศัยมุมมองในหลาย ๆ มุมมอง
      
ในส่วนเรื่องที่เป็นปัญหาสำคัญที่เรามีความรู้น้อยก็คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จะมีความรู้เรื่องนี้ เพราะฉะนั้นเราต้องการให้นักวิชาการด้านนี้ได้มาอธิบายให้เห็นถึงสภาพความกดอากาศในฤดูหนาวจะทำให้ความกดอากาศสูงลงมา เหมือนฝาชีครอบลงมาซึ่งมันแก้ไม่ได้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่มากระทบนอกเหนือฝีมือมนุษย์ แล้วเราจะจัดการอย่างไร เราจะมีความรู้ล่วงหน้าอย่างไร ว่าเมื่อไหร่จะมีสภาวะอากาศแบบนั้น จะได้ลดสาเหตุของการเผาลง 

รวมทั้งเรื่องที่มาจากการใช้ระบบยานยนต์ที่อาศัยน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลเป็นต้น จะทำอย่างไรให้เกิดแนวทางที่จะเปลี่ยนการใช้รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงไปสู่รถไฟฟ้ามากขึ้น อันนี้ก็เป็นความหวังอีก 10 ปี หรือ 20 ปีข้างหน้า รวมทั้งระบบขนส่งมวลชน  อย่างเช่น ญี่ปุ่นเขาฟันธงว่าอีก 20 ปีข้างหน้าเขาก็จะใช้รถไฟฟ้าทั้งหมด เชียงใหม่เราก็ต้องดูว่า ซึ่งเรานำจะเอาประเด็นมาพูดคุยกันมากขึ้น เสียงเรียกร้องจากประชาชนทำให้นโยบายขับเคลื่อนได้

วช.เปิดเวทีเชียงใหม่ถก"ฝุ่นควันข้ามแดน"

วช.เปิดเวทีเชียงใหม่ถก"ฝุ่นควันข้ามแดน"

ด้านรศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษาเรื่องเมืองและนโยบายสาธารณะ กล่าวว่า การแก้ปัญหา เราพบว่าพื้นฐานของเหตุที่เราควบคุมได้และบางสิ่งเราก็ควบคุมไม่ได้แล้ว หรือว่าโอกาสคุมได้ก็น้อยลง ที่คุมได้ง่ายที่สุดก็คือเรื่องของกิจกรรมและการใช้บริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะในบริเวณนอกเมือง อย่างไรก็แล้วแต่ชาวบ้านลักษณะที่เราพบอยู่ไม่มีทางเลือกมาก ดังนั้น อะไรที่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับชาวบ้านก็จะเลือกสิ่งนั้นก่อน แต่ก็ไม่ใช่ว่าสิ่งที่ชาวบ้านเลือกเป็นสิ่งที่ดี 

เป็นที่ยอมรับว่าการปลูกพืชเชิงเดี่ยวในหลายพื้นที่สร้างปัญหาในเรื่องฝุ่นควันที่มีการเผาตอซัง แต่ก็น่าเห็นใจว่าไม่ได้มีทางเลือกอื่นให้คนในพื้นที่เหล่านั้นปลูกทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่จะทำให้เขามีรายได้ในการเลี้ยงครอบครัว เพราะในอดีตที่ผ่านมามีการเข้าไปส่งเสริมการปลูกข้าวโพดทดแทนการปลูกฝิ่น แต่มาอีกยุคสมัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กลายเป็นปัญหาในอีกรูปแบบ และทำให้มองเห็นว่าการแก้ปัญหาลดพื้นที่ปลูกฝิ่นไปปลูกข้าวโพด เป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ยั่งยืน แต่ติดปัญหาตรงขณะนี้ยังไม่มีกรณีตัวอย่างของพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ ว่าเมื่อไม่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แล้ว ในสภาพพื้นที่แบบนั้นจะส่งเสริมอาชีพอะไรที่ทำให้เขามีรายได้มาทดแทน

ในเรื่องนี้จึงอยากสะท้อนและให้มองถึงนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะปัญหาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูมิภาคแบบนี้ จะมองเฉพาะพื้นที่ไม่ได้ แต่ทำอย่างไรที่จะทำให้การผลักดันหรือการส่งเสียงจากประชาชนไปถึงหน่วยงานภาครัฐและบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องได้ตระหนัก ในฐานะที่เราเป็นประชากรของโลกจำต้องส่งเสียงให้พร้อมกัน เพราะตอนนี้ทางสหประชาชาติเองก็มีนโยบายว่าในการลงทุน ทำอย่างไรให้บริษัทเอกชนมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

 

เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ ไม่ได้แล้ว ต้องคิดให้ลึกกว่านั้น ก่อนหน้านั้นเราแก้ปัญหาเรื่องของฝิ่น เราก็เอาข้าวโพดเข้าไป เอาท่องเที่ยวเข้าไป วันนี้ข้าวโพดเยอะ ท่องเที่ยวเยอะก็นำเข้าสู่ปัญหาอื่น อันนี้ก็คือรุ่นหนึ่งที่ผ่านมาฝากมาไว้ ไม่ใช่ว่าไม่ดีแต่ดีที่สุดเท่าที่เขาทำได้ แต่คราวนี้ถึงรุ่นของเรา ซึ่งต้องฝากนโยบายสาธารณะที่สำคัญนี้ให้กับรุ่นต่อไปว่าเราแก้ปัญหาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเราไม่มีเวลามาก โดยแนวโน้มในลักษณะนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเชิงภูมิภาค และมีการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเชิงระดับไมโครเยอะมาก ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองด้วย จำนวนของ Hot Sport ที่ผ่านมา 10 ปีอาจจะไม่มากขึ้น แต่สิ่งที่เราเห็นมาเรารู้สึกว่าเรามีปัญหามาก แต่อีกนัยหนึ่งปัญหาก็เห็นโดยหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ามีมากขึ้นจริง ๆ 

    

ฉะนั้นสิ่งหนึ่งที่เราคุยกันเราพยายามบอกว่า เราน่าจะมีส่วนร่วมในการคิดว่ารุ่นต่อไปจะเป็นอย่างไร เราจะรักษาป่าอย่างไร สิ่งที่เราทำได้ก็คือการพูดคุย ถ้าไม่ทำอะไรจะเกิดขึ้น ซึ่งในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าก็จะมีเวทีพูดคุยกันในเรื่องนี้อีก

วช.เปิดเวทีเชียงใหม่ถก"ฝุ่นควันข้ามแดน"