“คัมซาฮัมนีดา” บทสรุปผู้นำเกาหลีใต้เยือนไทย

04 ก.ย. 2562 | 01:10 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ทีมไทย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีพาณิชย์

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีต่างประเทศ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมต.คมนาคม

นายพุฒิพงษ์ ปุณกันต์ รัฐมนตรีดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีอุตสากรรม

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาฯ

 

ทีมเกาหลีใต้

นายมุน แช-อิน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลี

นางคัง คยอง-ฮวา รัฐมนตรีต่างประเทศ

นส.ยู อึน-ฮเย รมว.ศึกษาฯ

นางยู มยอง-ฮึ รมต.อุตสาหกรรมและพลังงาน

นายอี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย  

“คัมซาฮัมนีดา” บทสรุปผู้นำเกาหลีใต้เยือนไทย

“คัมซาฮัมนีดา” บทสรุปผู้นำเกาหลีใต้เยือนไทย

ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) 6 ฉบับ

คัง คยอง-ฮวา รมว.ต่างประเทศ VS พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

คัง คยอง-ฮวา รมว.ต่างประเทศ VS พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี

1.ความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐเกาหลี รายละเอียด สนับสนุนความร่วมมือกันในสาขาการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกัน โดยคำนึงถึงการมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในด้านต่าง ๆ

นส.ยู อึน-ฮเย รมว.ศึกษาฯ VS นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาฯ

นส.ยู อึน-ฮเย รมว.ศึกษาฯ VS นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาฯ

2. ความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลีระหว่างสองประเทศ ช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาภาษาเกาหลีสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของไทยมีรูปแบบความร่วมมือที่หลากหลาย

คัง คยอง-ฮวา รมต.ต่างประเทศ VS ดอน ปรมัตถ์วินัย รมต.ต่างประเทศ

คัง คยอง-ฮวา รมต.ต่างประเทศ VS ดอน ปรมัตถ์วินัย รมต.ต่างประเทศ

3. ความตกลงว่าด้วยการคุ้มครองข่าวสารทางทหารที่มีชั้นความลับร่วมกัน ช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศระหว่างไทยและเกาหลีใต้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทหารระหว่างกัน ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขสำหรับการคุ้มครองข่าวสารที่ได้มีการแลกเปลี่ยนกัน

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมต.อุตสาหกรรม vs ยู มยอง-ฮึ รมต.อุตสาหกรรมและพลังงาน

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมต.อุตสาหกรรม vs ยู มยอง-ฮึ รมต.อุตสาหกรรมและพลังงาน

4. ร่วมมืออุตสาหกรรม 4.0 ยกระดับความร่วมมือในอุตสาหกรรมเป้าหมาย การส่งเสริมการลงทุนด้านอุตสาหกรรม การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)  

อี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย vs ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมต.คมนาคม

อี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย

vs

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมต.คมนาคม 

5. ความร่วมมือระบบราง ส่งเสริมความร่วมมือด้านการขนส่งทางรางของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง ความตกลงฯ มีอายุ 2 ปี และต่ออายุได้อีก 2 ปี ตามความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย

อี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย VS พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมต.ดีอี

อี อุก-ฮ็อน เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย

VS

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รมต.ดีอี

6. ความร่วมมือพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนโยบาย เทคโนโลยี ข้อมูลและทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ผลประโยชน์ร่วมกัน

คำกล่าว 2 ผู้นำ


“คัมซาฮัมนีดา” บทสรุปผู้นำเกาหลีใต้เยือนไทย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

“ดีใจที่ประธานาธิบดีเกาหลีมาเยือนไทย เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าไทยเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับการลงทุนของนักลงทุน นอกจากเอ็มโอยูและ เหลือเพียงเอ็มโอดู คือต้องลงมือทำให้สัมฤทธิ์ผลอาเซียนมีนโยบายเดินไปข้างหน้าโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง สอดคล้องกับการพัฒนาของเกาหลีใต้ ขอชื่นชมการพัฒนาของประเทศเกาหลีที่ใช้เวลาเพียง 60 ปี ทำให้ประเทศเจริญรุ่งเรืองได้มาก ต่างจากหลายประเทศที่ใช้เวลาเป็นร้อยปีก็ยังพัฒนาไม่เท่าที่เกาหลีทำได้ เพราะชาวเกาหลีมีความรักชาติ เสียสละ มีจิตสำนึก ซึ่งวัฒนธรรมความรักชาติของเกาหลีนั้น ได้สอดแทรกผ่านหนังและละครต่างๆ เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศชาติ

และขอชื่นชมนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของเกาหลี (New Southern Policy - NSP) ที่มุ่งขยายความร่วมมือด้านต่างๆ มาสู่ภูมิภาคอาเซียน นักลงทุนเกาหลีเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติที่สำคัญ กลุ่ม CLMVT เป็นหัวใจที่แท้จริงของอาเซียน ซึ่งไทยมีทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางอนุภูมิภาคนี้ สามารถทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง ฐานการลงทุน และเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านในอนุภูมิภาค ภูมิภาค และโลกได้อย่างดีเยี่ยม

ผมได้มอบหมายให้บีโอไอและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สำนักงานอีอีซี)ดูแลนักลงทุนเกาหลีใต้ที่ลงทุนในไทยแล้วขณะนี้กว่า 400 บริษัทให้เป็นอย่างดีและคาดหวังว่าการมาเยือนนักลงทุนของเกาหลีใต้กว่า 100 บริษัทครั้งนี้การลงทุนในปี 2562 ที่เหลือจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้อีก ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีแห่งการลงทุนของไทย”

 

มุน แจ อิน ประธานาธิบดีเกาหลีใต้

“เกาหลีใต้ได้ดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่ (New Southern Policy) ให้ความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะกับประเทศไทย ซึ่งไทยมีบทบาทสำคัญในนโยบายนี้ 3 เรื่อง 1.เดินหน้าร่วมมือปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ร่วมกัน เป็นการเชื่อมความร่วมมือให้สอดคล้องกับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 เน้นพัฒนาใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก 2. ร่วมมือเสริมสร้างระบบนิเวศ ให้กับธุรกิจสตาร์ทอัพ ปัจจุบันเกาหลีใต้ยังมีสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ (ยูนิคอร์น) จำนวน 9 ราย แสดงให้เห็นถึงศักยภาพและขีดความสามารถที่จะส่งเสริมสตาร์ทอัพของไทย 3. เกาหลีใต้และไทย สามารถร่วมมือกัน ในเวทีการค้าโลกอย่างเสรี ต่อต้าน ลัทธิปกป้องการค้า ภายใต้ระบบพหุภาคี ที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ เกาหลีใต้มีความมุ่งมั่นและพร้อมให้การสนับสนุนไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิตชั้นนำของอาเซียน โดยในเร็วๆ นี้ จะมีการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าที่เรียกว่า ไอโอนิก (IONIG) ในประเทศไทย ซึ่งรถยนต์ รุ่นดังกล่าวได้รับความนิยมมากในเกาหลีใต้ และได้มีการส่งออกไปยังสหรัฐและ หลายประเทศในยุโรป"