แก้ปัญหาความเหลื่อมลํ้า กฎหมายต้องศักดิ์สิทธิ์

07 ธ.ค. 2561 | 13:44 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

บท-บก 141103182938-income-inequality-1024x576 ปัญหาความเหลื่อมลํ้าในเรื่องของการกระจายรายได้ในสังคมไทยถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างอีกครั้งหลังจากนายบรรยง พงษ์พานิช อดีตคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ นำรายงานของ CS Global Wealth Report 2018 ที่เป็นการวัดการกระจายความมั่งคั่ง (Wealth Distribution) ของประเทศต่างๆพบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมลํ้าด้านความมั่งคั่งอยู่ในอันดับสูงที่สุดของโลก โดยคนไทย 1% แรก ประมาณ 5 แสนคน มีทรัพย์สินรวม 66.9% ของทรัพย์สินรวมทั้งประเทศ

ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ติดตามสถานการณ์ความเหลื่อมลํ้าของไทยมาอย่างต่อเนื่อง ชี้แจงว่ารายงานดังกล่าวเป็นการวัดการกระจายความมั่งคั่ง ที่มีข้อมูลสมบูรณ์มีเพียง 35 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ฝรั่งเศส อิตาลี สวีเดน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และจีน ส่วนของประเทศไทยนั้น ไม่มีการจัดเก็บ ไม่ใช่มาตรฐานตามธนาคารโลก ที่ใช้กันกว่า 100 ประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าปัญหาความเหลื่อมลํ้าและการกระจายรายได้ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมไทย แม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ดัชนีชี้วัดด้านความเหลื่อมลํ้ามีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับสถานการณ์ด้านความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงที่สุดและกลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อยที่สุด ที่ลดลงจาก 25.1 เท่า ในปี 2550 เป็น 19.29 เท่า ในปี 2560

[caption id="attachment_358383" align="aligncenter" width="335"]  เพิ่มเพื่อน [/caption]

[caption id="attachment_358582" align="aligncenter" width="503"] weighing team and leader but leader is more powerful vector weighing team and leader but leader is more powerful vector[/caption]

เราเห็นว่าการลดความเหลื่อมลํ้าและความแตกต่าง ของรายได้ ถือเป็นเรื่องสําคัญเร่งด่วนที่ภาครัฐต้องให้ความสําคัญ เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เพิ่มโอกาสในการสร้างอาชีพและรายได้ ซึ่งนอกจากการจัดสวัสดิการทางสังคม ทั้งในด้านการศึกษา สาธารณสุข และที่อยู่อาศัย การอัดฉีดเงินให้กับคนในระดับฐานรากแล้ว รัฐควรบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ที่มีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาด ใช้อำนาจผูกขาด ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมทางการค้า

นอกจากนี้ควรทบทวนกฎหมายที่ออกมาแล้วแต่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะกฎหมายสำคัญ 2 ฉบับ คือพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ.2558 และพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2561 ที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเหลื่อมลํ้าได้ตามเจตนารมณ์ เนื่องจากมีการแก้ไขในสาระสำคัญของกฎหมาย โดยเฉพาะการลดอัตราภาษี และเงื่อนไขต่างๆในกฎหมายที่เปิดช่องให้คนรวยสามารถบริหารจัดการทรัพย์สินในมือไม่ให้อยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมาย

| บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิิจ ฉบับ 3425 ระหว่างว้นที่ 9-12 ธ.ค.2561
595959859