หยุดพนัน! ฟุตบอลโลก 6 หมื่นล้าน

02 มิ.ย. 2561 | 09:08 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

6263626 นับถอยหลังอีกไม่กี่วัน มหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้ายในระหว่างวันที่ 14 มิถุนายน - 15 กรกฎาคมนี้ ที่ประเทศรัสเซียเป็นเจ้าภาพ ก็จะอุบัติขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่สำหรับคนไทยแล้วกว่าจะได้เซ็นสัญญาคว้าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 กับสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ก็ต้องลุ้นกันเหนื่อยจนถึงปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย “ธนวรรธน์ พลวิชัย” ประเมินว่า มหกรรมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 จะมีเงินสะพัดเชิงธุรกิจ 3-4 หมื่นล้านบาท จากการขายสินค้าและบริการ หรือเติบโตขึ้น 7-10% จากการแข่งขันฟุตบอลโลกเมื่อ 4 ปีก่อน ถือว่าช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากเลยทีเดียว
image_20180419_050054_27 แต่ที่น่าตกใจคือ มหกรรมฟุตบอลโลกในปีนี้จะทำให้เม็ดเงินจากการพนันสะพัดสูงถึง 6 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเม็ดเงินที่คาดว่าจะสะพัดเชิงธุรกิจเกือบเท่าตัว นั่นหมายความว่าในช่วง 1 เดือนของมหกรรมฟุตบอลโลก 2018 คนไทยจำนวนมากจะมัวเมาการพนันมากขึ้น

ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนันพบว่า ปัจจุบันคนไทยมีหนี้ที่เกิดจากการพนันสูงถึง 12,258 ล้านบาท ซึ่งการพนันทายผลฟุตบอล เป็นการพนันที่คนไทยนิยมเล่นเป็นอันดับ 4 รองจาก สลากกินแบ่งรัฐบาล จำนวน 20 ล้านคน หวยใต้ดิน 17.32 ล้านคน ไพ่ 4.11 ล้านคน และการพนันทายผลฟุตบอล 2.47 ล้านคน โดยมหกรรมฟุตบอลโลก เมื่อ 4 ปีที่แล้วเกิดนักพนันฟุตบอลหน้าใหม่ประมาณ 2 ล้านคน
แทงบอลออนไลน์ทำไมต้องที่-Fun88- คงต้องยอมรับว่าปัญหาการพนันฟุตบอลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะการแทงผ่านออนไลน์ ที่มีเว็บไซต์เปิดให้บริการกว่า 2 แสนเว็บไซต์ จึงถือเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งที่คนไทยจะตกเป็นทาสการพนันฟุตบอลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนและผู้สูงอายุ เพราะได้-เสียเงินง่ายและเร็ว
ดังนั้นเพื่อยับยั้งไม่ให้คนไทยตกเป็นทาสการพนันฟุตบอล เราเห็นว่าทุกภาคส่วน ควรใช้โอกาสช่วงมหกรรมฟุตบอลโลก 2018 แก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งด่วนและจริงจัง ทั้งการป้องกันปราบปราม การรณรงค์ ให้เห็นถึงโทษของการพนัน เพื่อยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมตามมา

บทบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ | ฉบับ 3371 ระหว่างวันที่ 3-6 มิ.ย.2561
e-book-1-503x62