สภาวิศวกรพัฒนาหลักสูตรแผน ข. ผลักดันวิศวกรไทยรองรับตลาด

17 ก.พ. 2561 | 01:12 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

จากโครงการเมกะโปรเจ็กต์ของประเทศไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี รวมไปถึงโครงการลงทุนใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (นิว เอสเคิร์ฟ) ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์ 4.0 ทำให้เกิดอัตราความต้องการช่างฝีมือแรงงาน และวิศวกรสาขาต่างๆ จำนวนมาก

“ศ.ดร.อมร พิมานมาศ” เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า สภาวิศวรกรในฐานะผู้ควบคุมและส่งเสริมวิศวกร จึงมีหน้าที่ทั้งพัฒนาคน ให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพ พร้อมทั้งทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้กับบรรดาวิศวกรสาขาต่างๆ ขณะนี้ สภาฯ กำลังปรับปรุงและแก้ไขในหลายๆ ส่วน เพื่อผลักดันให้มีวิศวกรที่มีคุณภาพ และมีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ออกสู่ตลาดแรงงานมากที่สุด อย่างน้อยปีละ 1 หมื่นราย

[caption id="attachment_258719" align="aligncenter" width="503"] ศ.ดร.อมร พิมานมาศ ศ.ดร.อมร พิมานมาศ[/caption]

สิ่งที่กำลังจะได้เห็นเร็วๆ นี้ คือ การพัฒนาหลักสูตรแผน ข. เนื่องจากขณะนี้แรงงานฝีมือขาดแคลนมาก แต่หลักสูตรแผน ก. ที่ใช้อยู่ มีข้อจำกัดในส่วนของอาจารย์ผู้สอนที่ต้องจบปริญญาโท และในหลักสูตรมีแต่ภาควิชาการ แต่ไม่มีหลักสูตรที่ให้นักศึกษาได้ลงฝึกทำงานในพื้นที่จริง ทำให้เด็กจบใหม่มีทักษะและศักยภาพไม่ตรงตามที่บริษัทเอกชนต้องการ โดยจะเริ่มนำร่องกับสาขาโยธาก่อน หลังจากนั้นจะทำให้ครอบคลุมให้ครบ 7 สาขา คือ โยธา ไฟฟ้า เครื่องกล อุตสาหการ เคมี สิ่งแวดล้อม และเหมืองแร่

“เรามาดูว่า งานวิศวกรต้องการ คือ งานคุมงาน งานก่อสร้าง หลักสูตรแผน ข. จึงเน้นการคุมงาน และปีสุดท้าย ไปทำงานในสถานประกอบการได้ ไม่ใช่เรียนเฉพาะในห้อง ต้องได้ทำงานจริง ใช้สถานที่ทำงานจริงเป็นเวิร์กช็อป ตอนนี้เรากำลังพยายามทำให้เกิดการเซ็นเอ็มโอยูกับบริษัทก่อสร้างใหญ่ๆ ถ้าเด็กผ่านตรงนี้ บริษัทก็รับเข้าทำงานเลย”

MP26-3340-2C ส่วนของอาจารย์ผู้สอน สำหรับหลักสูตรแผน ข. จะสามารถนำผู้มีประสบการณ์ทำงาน 6 ปี ที่จบปริญญาตรี เข้ามาเป็นผู้สอนได้ ซึ่งจะทำให้เด็กๆ ได้รับความรู้ตรงจากผู้ที่มีประสบการณ์หน้างาน ต่างจากที่ผ่านมา ที่อาจารย์ผู้สอนบางคนไม่เคยได้สัมผัสงานวิศวะจริงๆ

นอกจากนี้ เรื่องของการสอบขอใบอนุญาต จากที่ผ่านมาคนที่เรียนจบแล้วมีทั้งที่มาขอและไม่มาขอ แต่ในปีการศึกษานี้ จะนำเรื่องของการสอบขอใบอนุญาตเข้าถึงมหาวิทยาลัย โดยจัดสอบให้กับนักศึกษาปี 2 สำหรับใบอนุญาตพื้นฐาน และเด็กจบปี 4 สอบใบอนุญาตความเชี่ยวชาญเฉพาะ การจัดสอบลักษณะนี้ จะทำให้ปริมาณคนได้รับใบอนุญาตเพิ่มขึ้นทันที

AW_Online-03 ส่วนของวิศวกรจากต่างประเทศ ที่เข้ามาทำงานในโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่ได้รับการยกเว้นเรื่องใบอนุญาต โดยรัฐระบุให้ต้องผ่านการอบรมและทดสอบ ขณะนี้สภาฯ ได้จัดการอบรมไปแล้ว 226 คน เหลืออีกประมาณกว่า 70 คน
ซึ่งในส่วนนี้ เลขาธิการสภาฯ ได้มองถึงแนวทางการพัฒนาวิศวกรไทยเพิ่มเติมอีกว่า จากการที่เทคโนโลยีพัฒนาอยู่ตลอดเวลา วิศวกรไทย และเด็กๆ ที่เรียนในสาขาอาชีพนี้ ต้องเปลี่ยนแนวคิด (Mindset) จากเดิมที่เด็กวิศวะมักคิดอะไรอยู่ในกรอบ แต่ในยุคนี้ ทำแบบนั้นไม่ได้แล้ว เด็กวิศวะต้องพร้อมที่จะคิดนอกกรอบ เด็กต้องมองภาพให้กว้างขึ้น ออกนอกกรอบได้ แต่จะทำอย่างไรให้เขาเปลี่ยน สุดท้ายก็ต้องอยู่ที่ครูผู้สอน ซึ่งต้องปรับปรุงพัฒนาตัวเองให้ทันกับโลกยุคใหม่ตลอดเวลา

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,340 วันที่ 15 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว