พอเพียงอย่างพอใจ : อีกบทบาทหนึ่งของ "คุณเดียร์" ที่ไม่ใช่ฟุตบอล

13 ก.ย. 2560 | 05:37 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

1485868336769-2

พอเพียงอย่างพอใจ
โดย...ฉาย บุนนาค


อีกบทบาทหนึ่งของ "คุณเดียร์" ที่ไม่ใช่ฟุตบอล

ก่อนอื่นต้องขอบคุณสมาคมฟุตบอล และ คุณสมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ที่ให้โอกาส คุณเดียร์ รับใช้ชาติในการดูแลทีมฟุตบอลชายรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ในช่วงปีเศษที่ผ่านมา

21106832_10154792566700841_977236615311892842_n

แม้วันนี้ "คุณเดียร์" ได้สิ้นสุดบทบาทแล้วอย่างเป็นทางการ แต่อย่างไม่เป็นทางการ ก็พร้อมให้ความร่วมมืออยู่ในทุกเรื่องที่สมาคมร้องขอ.

เกียรติประวัติที่ได้รับถือเป็นผลงานความสำเร็จของทุกคนในสมาคมฟุตบอล มิใช่เพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง...

21462741_1779661502053397_8382405697658182449_n

สำหรับ "คุณเดียร์" บทบาทที่ไม่มีทางสิ้นสุดและเป็นบทบาทสำคัญมากอีกอย่างหนึ่งคือบทบาทของความเป็น "แม่"

คุณเดียร์ คือ คุณแม่-ลูกสอง... ชายหนึ่ง หญิงหนึ่ง อายุ 6 และ 8 ปี

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า ลูก คือแก้วตาดวงใจของผู้เป็นพ่อและแม่ทุกคน และความสุข ความสำเร็จของลูก คือสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนปรารถนา
0454DD4A-2988-430C-8CD9-D72548699BC5

การเลี้ยงลูก เปรียบดั่งการปลูกต้นไม้ เราต้องมีความรัก ตั้งใจ ให้เวลาอย่างเต็มที่ เพื่อวางแผน ประมวลผลอย่างละเอียดและรอบคอบ

ความรักและความตั้งใจ คือสิ่งที่มีไม่จำกัดจากพ่อแม่ แต่เวลาคือสิ่งที่มีจำกัด

104586

ในพุทธศาสนา พระไตรปิฎกระบุว่า เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อได้ทราบว่าพระราชโอรสประสูติ ทรงเปล่งอุทานออกมาว่า "ราหุ ชาโต พันธนัง ชาตัง" แปลว่า ราหุ (บ่วง) เกิดขึ้นแล้ว พันธนาการเกิดขึ้นแล้ว" หมายความว่า พระกุมารที่ประสูติจะเป็นบ่วงร้อยรึงพระองค์ไว้กับภริยาและชีวิตฆราวาส

13567390_1163914260316727_8751582756767830382_n

โดยพระตถาคตทรงเปรียบ "ความปีติปราโมทย์" ที่บุรุษได้รับจากภริยาและบุตร คือ "ราหุ" (แปลว่า "บ่วง") ที่ร้อยรึงชีวิตครอบครัวผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าทุกข์หรือสุข ดั่งสร้อยทองคล้องใจคนทั้งสองให้อยู่ร่วมกัน

สำหรับเราซึ่งยังเป็นฆราวาส คงยังไม่เข้มแข็งเด็ดเดี่ยวพอที่ละบ่วงต่างๆ ออกจากชีวิตไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความห่วงหาอาทรและความรักที่มีต่อบุตร แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1

ผมและคุณเดียร์ เราไม่เคยใฝ่ฝันที่จะให้ลูกเรียนเก่งได้ที่ 1 ของชั้น หรือเป็นนักกีฬายอดเยี่ยมของโรงเรียน หรือเติบโตมาเป็นนายกรัฐมนตรี หรือ ผู้นำประเทศ

เราหวังเพียงแค่ให้เขาเป็นคนดีที่มีคุณค่าต่อสังคม และใช้ชีวิต "มนุษย์" ในชาตินี้อย่างคุ้มค่าตามหลักพุทธศาสนา

สาระสำคัญเริ่มต้นที่เราวางแผนสอนลูกไว้คือเรื่อง "หิริโอตตัปปะ"หิริ ความละอายแก่ใจในการทำบาป... โอตตัปปะ ความกลัวต่อผลแห่งบาป

1F6A0C16-0955-4652-BE41-C676BD1887D7

เราทั้งคู่มองว่ากฎหมายนั้น บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมความประพฤติผิด ทางกาย กับวาจาเท่านั้น หาได้ไปควบคุมถึงใจ ซึ่งเป็นตัวควบคุมกายกับวาจาไม่...

แม้ใจเด็กจะเหมือนผ้าขาว แต่สุดท้ายเมื่อเติบใหญ่ใจคงหนีไม่พ้นการผสมผสานด้วยความดีและเลวในจิตใจ จะมากหรือน้อยเท่านั้น

พ่อแม่ คงไม่มีทางประคบประหงมให้ขาวผุดผ่องได้เป็นแน่แท้


เราจึงต้องสอนลูกให้รู้จักการ "ฝืน" ใจตนเองให้เป็น ดั่งเช่นที่ท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนเคยเทศน์ไว้

“เมื่อ กาย วาจา ใจ ถือกุมอำนาจโดยจิต ...แม้มีความต้องการจะมุ่งหาธรรมอันประเสริฐ แต่ก็ไม่ได้เดินตามนั้น เป็นเพราะคนเรามิได้ "ฝืน" จิตที่กุมอำนาจอยู่ภายในจิตใจของเรา การ "ฝืน" เพื่อเหตุเพื่อผล เพื่อธรรมนั้นแลจึงเป็นความดีสำหรับเรา ความมีคุณค่าของคนเรามีอยู่ที่ตรงนี้ ไม่ใช่อยู่ที่เนื้อที่หนังเหมือนสัตว์... มนุษย์เรานี้มีคุณค่าทางจิตใจ ทางความประพฤติ"

คอลัมน์ : พอเพียงอย่างพอใจ/ หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3296 ระหว่างวันที่ 14-16 ก.ย.2560

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1