10 วันทรัมป์กับนโยบายขวางโลก ความเสี่ยงใหม่ที่ต้องจับตา

05 ก.พ. 2560 | 00:30 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิสัยทัศน์ของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาที่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ว่าอเมริกาต้องมาก่อนได้รวมนโยบายขวางโลกทวนกระแสโลกาภิวัตที่เป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกมากกว่า 3 ทศวรรษไว้อย่างครบครันไม่ว่าการประกาศการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่มูลค่าสูงสุดในรอบ 10 ปีซึ่งเป็นการเพิ่มขนาดรัฐบาลสวนทางกับแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่ให้น้ำหนักกลไกตลาดและลดบทบาทรัฐบาลอันเป็นแนวคิดหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุนนิยมตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา

เพียง 10 วันนับแต่ทรัมป์รับตำแหน่ง (20-29 มกราคม 2560) เขาลงนามและแสดงท่าทีที่สร้างความฮือฮาอย่างต่อเนื่อง (ดูตารางประกอบ) นับหนึ่งจากการประกาศถอนตัวจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชีย (Trans-Pacific Partnership หรือTPP) เมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมาหรือเพียง 3 วันหลังรับตำแหน่งพร้อมประกาศทบทวนข้อตกลงนาฟต้า (เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ) เป็นลำดับถัดไปอีกทั้งขู่ว่าจะขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 45 % (เพื่อชดเชยการขาดดุลการค้าจีน) เพิ่มภาษีนำเข้าจากเม็กซิโกเป็น 35 %(เพื่อนำไปสร้างกำแพงชายแดนสหรัฐฯเม็กซิโก) ซึ่งเท่ากับทรัมป์กำลังฟื้นฟูลัทธิกีดกันทางการค้าขึ้นมาอีกครั้งแน่นนอนนโยบายของทรัมป์กำลังเปลี่ยนระเบียบการค้าโลกอย่างไม่ต้องสงสัย

กับประเทศไทย.... มีการประเมินว่าการค้าและเศรษฐกิจไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากนโยบายทรัมป์มากนักโดยยึดหลักว่าไทยส่งออกไปสหรัฐฯเพียง 10 % ของการส่งออกรวมแต่ถ้าพิจารณาอย่างรอบด้านแล้วระเบียบโลกใหม่ที่ทรัมป์กำลังขยับครั้งนี้ไทยมีได้และเสียในคราวเดียวกัน

ผลดีลำดับแรกคือการที่สหรัฐฯผู้สนับสนุนหลักของทีพีพีประกาศถอนตัวจากข้อตกลงการค้าที่ครอบคลุมและครองสัดส่วนการค้าสูงสุดในโลกราว 40 % ของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้ทีพีพีคลายความขลังลงทันควันแม้สมาชิกทีพีพีอย่างออสเตรเลียและนิวซีแลนด์พยายามเดินหน้าต่อแต่พลังและอำนาจต่อรองของทีพีพีคงไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปจากเดิมที่มีกังวลว่าหากทีพีพีมีผลบังคับใช้ไทยมีความเสี่ยงเผชิญปัญหาการโยกการผลิตจากไทยไปอยู่ในประเทศสมาชิกทีพีพีเพื่อรับสิทธิประโยชน์ทางการค้าเป็นต้น

เมื่อขั้วพลังทีพีพีสลายลงความกังวลข้อนี้ย่อมคลี่คลายตามไปด้วยและยังเป็นปัจจัยหนุนส่งให้เขตการค้าเสรีภายใต้ข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรืออาร์เซปของ 10 ประเทศเซียนบวก 6 เดินหน้าได้เร็วขึ้น

ผลดีลำดับถัดมามีการวิเคราะห์กันว่านโยบายของทรัปม์ที่พุ่งเป้าโจมตีจีนและเม็กซิโกซึ่งคาดกันว่าจะมีนโยบายกีดกันทางการค้ากับ 2 ประเทศนี้ออกมาเร็วๆนี้จะเป็นประโยชน์กับไทยนักวิเคราะห์เชื่อว่าหากจีนโดยกดดันจากสหรัฐฯมากๆการลงทุนในจีนจะโยกฐานการผลิตซึ่งไทยอยู่ในข่ายได้รับอานิสงค์จากผลข้างเคียงที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในครั้งนี้

แต่อีกด้านหนึ่งนั้น(ผลลบ) การที่สหรัฐฯยุคทรัมป์จ้องเล่นงานจีนและเม็กซิโกจะส่งผลต่อการค้าของสหรัฐฯและโลกอย่างแรกที่สุดคือจีนจะสั่งซื้อวัตถุดิบจากไยและประเทศอื่นลดลงแน่นอนแนวโน้มนี้ไทยไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากแรงกระเพื่อมจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแน่นอนและไทยมีความเสี่ยงจากคำสั่งซื้อ

หากเปรียบเทียบ 2 ด้านระหว่างผลได้-ผลเสียดูเหมือนผลยังก้ำกึ่ง 50/50 แต่ภาพคงชัดขึ้นหลังการประชุมฑูตพาณิชย์ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์หน้านี้ซึ่งอภิรดีตันตราภรณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าจะมีการประเมินปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อการส่งออกจากนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ (โดนัลด์ทรัมป์)

อย่างไรก็ดีกว่าผลจากนโยบายขวางโลกของทรัมป์จะออกฤทธิ์คงต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปีแต่ประเด็นที่ต้องติดตามคือท่าทีและนโยบายของทรัมป์ที่ฟื้นฟูลัทธิกีดกันทางการค้าขึ้นมาไม่เอาวาระโลกร้อนแสดงท่าทีเหยียดเชื้อชาติวิพากษ์นาโตและประเทศพันธมิตรปฏิเสธสนับสนุนงบประมาณด้านความมั่นคงในเอเชียไม่เอานโยบายจีนเดียวและอื่นๆอีกมากมาย

ด้วยนโยบายที่เหนือความดาดหมายของทรัมป์ผลต่อเศรษฐกิจโดยตรงคงไม่มากเท่ากับผลต่อภูมิรัฐศาสตร์ใหม่ที่โลกคาดไม่ถึงด้วยปัจจัยที่กล่าวมานั้นนโยบายขวางโลกของทรัมป์จึงเป็นปัจจัยเสี่ยงใหม่ของและไทยปัจจัยเสี่ยงที่อยากคาดเดาว่าผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,232 วันที่ 2 - 4 กุมภาพันธ์ 2560