นายวิจิตร อารยะพิศิษฐ นักวิเคราะห์การลงทุนปัจจัยพื้นฐาน บริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด (Liberator) เปิดเผยว่า จากประเด็นที่ทางสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทย เฉลี่ยรวมทั้งปี 67 อยู่ที่ขยายตัว 2.5% เร่งขึ้นจาก 2% ในปี 66
แม้ว่าอาจจากหย่อนกว่าเป้าหมายที่ตลาดคาดการณ์ไว้บ้าง แต่หากเข้าไปดูไส้ในก็จะเก็นได้ว่าส่วนใหญ่ขยายตัวได้ดี มีเพียงการลงทุนภาคเอกชนเท่านั้นที่ลดลง 1.6% ซึ่งเป็นตัวหน่วยการเติบโตของเศรษฐกิจไทย สะท้อนให้เห็นว่าความเชื่อมั่นใจการลงทุนโดยเฉพาะภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัว
ในขณะที่ปี 68 ทางสภาพัฒฯ ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทย จะขยายตัว อยู่ที่ 2.3-3.3% (ค่ากลางของการประมาณการอยู่ที่ 2.8%) ซึ่งยังคงไว้ตามประมาณการครั้งก่อน และคาดการณ์ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากระดับ 2.8% เหลือที่ราว 3.2%
ในส่วนของการลงทุนภาครัฐคาดการณ์ว่าในปี 68 อาจปรับตัวลดลง จาก 6.5% เหลือที่ราว 4.7% หลังจากในช่วงที่ผ่านมามีการอัดฉีดเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไปมากพอสมควรแล้ว ในด้านการบริโภคภาคเอกชนและมูลค่าการส่วนออกรูปแบบเงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มการขยายตัวที่ดีได้ต่อที่ระดับ 3.3% และ 3.5% ตามลำดับ
ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ที่สภาพัฒฯ คาดการณ์จะขยายตัวอยู่ที่ 2.3-3.3% นั้น เป็นตัวเลขในระดับกลางๆ ที่ในส่วนหน่วยงานอื่นๆ ก็มีการคาดการณ์ไว้ใกล้เคียงในระดับนี้เช่นเดียวกัน และเป็นระดับที่มีความเป็นไปได้ แม้ว่ายังต่ำกว่าเป้าหมายที่ภาครัฐต้องการ แต่ตัวเลขที่บู้มากเกินไปก็อาจทำไมถึง
โดยตัวชูโรงหนุนเศรษฐกิจไทยในปี 68 นี้ ยังคงเป็นกลุ่มการท่องเที่ยว การบริโภค การบริการ และการส่งออกเป็นหลัก แม้ว่าในช่วงต้นปีจะมีประเด็นการถูกลักพาตัวของดาราจีนมากระทบทำให้ยอดนักท่องเที่ยวจีน 2 เดอืนแรกปีนี้ลดลง แต่ก็ได้นักท่องเที่ยวสัญชาติอื่นๆ เข้ามาชดเชยได้
"ส่วนตัวมองว่าตัวเลขปิดปี 67 และไตรมาส 4/67 ที่ออกมานั้น ตลาดมีการตอบรับในระดับกลางๆ เป้าหมายในปี 68 ที่คาดการณ์ก็ดูมีความเป็นไปได้และไม่บู้กับเศรษฐกิจจนต้องเหนื่อยหนัก โดยกลุ่มที่ยังคงหนุนเศรษฐกิจให้เติบโตได้ยังคงเป็นกลุ่มการท่องเที่ยว การบริการ การบริโภค และการส่งออก"
เช่นเดียวกันภาคบริการที่จะขยายตัวดีสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับการขยายตัวของการท่องเที่ยว ขณะที่ภาคการบริโภค มองว่าจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การอัดฉีดเม็ดเงินในโครงการต่างๆ จะเข้ามาช่วยหนุนกำลังซื้อและการจับจ่ายใช้สอยในประเทศดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง
ส่วนภาคการส่งออกนั้น แม้ว่าในปัจจุบันจะยังมีความไม่แน่นอนเรื่องเกณฑ์การปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ที่จะมีผลกระทบต่อการส่งออกทั่วโลก แต่เชื่อว่าในช่วงครึ่งแรกปีนี้จะยังคงไปได้ดี การนำเข้าสินค้าเพื่อเก็บคงคลังอาจมีการขยายตัวมากขึ้นจากความกังวลการตั้งกำแพงภาษีของทรัมป์ 2.0
ในแง่ของตลาดทุนไทยนั้น มองว่าตัวเลข GDP ที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ อาจมีผลกระทบเล็ก ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอยู่บ้างแต่ไม่มาก ดูเหมือนว่าความกังวลของตลาดหุ้นไทยในตอนนี้จะไปลงที่หุ้นบิ๊กแคปกันมากกว่า และเชื่อว่าปัจจัยนี้ตลาดได้ซึมซับไประยะหนึ่งแล้ว
สำหรับคำแนะนำในการลงทุนนั้น มองว่าหุ้นที่อิงกับเศรษฐกิจในประเทศยังมีความน่าสนใจ แต่นักลงทุนอาจต้องพิจารณาเลือกเล่นเป็นรายตัว
กลุ่มการท่องเที่ยวแนะนำ ERW แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 4/67 จะออกมาดี เติบโตทั้งเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และจากไตรมาสก่อน ตามไฮซีซันการท่องเที่ยว นอกจากนี้กลุ่มการบิน BA ก็น่าสนใจ เนื่องจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงที่ปรับตัวลดลง
กลุ่มการส่งออก มอง ITC มีความน่าสนใจ การประกาศผลการดำเนินงานปี 67 ออกมาดีทั้งเทียบช่วงเดียวกันในปีก่อน และจากไตรมาสก่อน นับว่าไม่ขี้เหร่ อีกทั้งราคาหุ้นในปัจจุบันย่อตัวลงมามากแล้ว แนะนนำเก็งกำไรระยะสั้นๆ ในช่วงที่ราคาเป็นขากลับขึ้น และอีกตัวที่น่าสนใจ STA ได้รับอานิสงส์จากมาตรฐาน EUDR ที่แม้เลื่อนไปปี 69 แต่สัญญาครึ่งหลังปี 68 ผู้ประกอบการต้องปรับตัว ทำให้ยอดขายในช่วงครึ่งแรกปีจะสูง ประกอบกับราคา STA อยู่ในโซนล่างจึงน่าสนใจ
กลุ่มการบริโภค มอง CRC มีความน่าสนใจที่สุดในกลุ่ม เนื่องจากแนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/68 จะออกมาดี ยอดขายต่อสาขาเดิม (SSSG) เติบโตในเดือนม.ค. และต่อเนื่องเดือนก.พ.68 อีกทั้งยังได้รับอานิสงส์จากโครงการ "Easy E-Receipt 2.0" ในขณะเดียวกัน CPALL ก็น่าสนใจ เพียงแต่ดูมีความเสี่ยงหากว่าเคาะดีลร่วมลงทุนซื้อกิจการร้านสะเวกซื้อในประเทศญี่ปุ่น ตัวเลขที่ใช่ลงทุนเป็นเชิงลบอาจกดราคาหุ้นลงมากอีก
ด้านกลุ่มเนื้อสัตว์และเครื่องดื่มนั้น มองว่าในปัจจุบันยังมีความไม่แน่นอน ราคาเหวี่ยงมาก และมีปัจจัยเชิงลบเฉพาะตัว จึงมองว่าอาจต้องรอเวลาให้ตลาดปรับตัวดีกว่านี้ก่อนค่อยลงทุนก็ไม่สาย