KTMS ตั้งเป้ารายได้โต 30% หวังขึ้น Top 5 ดูแลคนไข้โรคไต

13 ก.ค. 2566 | 03:24 น.

KTMS ตั้งเป้าเติบโต 30%ต่อปี หวังขึ้น Top5 ดูแลผู้ป่วยโรคไต ชี้ดีมานด์ในอนาคตยังมีมาก จากตัวเลขผู้ป่วยเรื้อรังในไทย 11.6 ล้านคน ติด 1 ใน 5 ของโลก ผู้ป่วยใหม่เฉลี่ยปีละ 2 หมื่นราย ต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกว่าแสนราย

ประเทศไทยติด 1 ใน 5 ของโลกที่เป็นโรคไตมากที่สุด ปัจจุบันต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม กว่า 1 แสนราย และแนวโน้มผู้ป่วยโรคไตค่อนข้างเพิ่มขึ้นจากตัวเลขผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในไทย 11.6 ล้านคน ผู้ป่วยใหม่ตกประมาณ 20,000 รายต่อปีคิดเป็นอัตรา 15% ที่กระจายตัวทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันกลายเป็นโรคไต

นางสาวกาญจนา พงศ์พัฒนะเดชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคที เมดิคอล เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ KTMS หนึ่งในผู้นำด้านการให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแบบครบวงจร (One-stop Services) ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “ฐานเศรษฐกิจ” โดยสะท้อนภาพรวมการให้บริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมว่าแนวโน้มผู้ป่วยโรคไตค่อนข้างเพิ่มขึ้น จากตัวเลขผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเมืองไทยประมาณ 11.6 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้ อาการของโรคจะมีพัฒนาการไปเรื่อยๆ กระทั่งบางคนต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม

KTMS ตั้งเป้ารายได้โต 30% หวังขึ้น Top 5 ดูแลคนไข้โรคไต

ขณะเดียวกันยัง พบว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันจะกลายเป็นโรคไต โดยปัจจุบันไทยติด 1 ใน 5 ของโลกที่เป็นโรคไตมากที่สุด โดยมีผู้ป่วยโรคไตที่ต้องฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมกว่า 1 แสนราย นอกจากนั้น จำนวนคนไข้ใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นประมาณ  2 หมื่นคนต่อปีหรือคิดเป็นอัตรา 15%ที่คนไข้กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้น  KTMS จึงเล็งเห็นความจำเป็นที่ต้องมีบริการคุณภาพให้เพียงพอและพร้อมรองรับผู้ป่วยดังกล่าว โดยตั้งเป้าที่จะติดอันดับ 1 ใน 5 ดูแลผู้ป่วยโรคไต มีอัตราเติบโต 30% ต่อปี

นางสาวกาจนา กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำธุรกิจของ KTMS ต้องมีพันธมิตรเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นบริษัทพันธมิตร และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต เพื่อดูแลผู้ป่วย ด้วยจุดแข็งของ KTMS คือ แทบจะเป็นบริษัทเดียวที่ให้บริการครบวงจร (One Stop Service) ขณะที่หน่วยไตเทียมเกือบ 1,000 หน่วยในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นของรัฐ

KTMS ตั้งเป้ารายได้โต 30% หวังขึ้น Top 5 ดูแลคนไข้โรคไต

ทั้งนี้ ปัจจุบัน KTMS ได้รับโอกาสจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เข้ามาสนับสนุนผู้ป่วยโรคไต กรณีไตวายสามารถเลือกฟอกเลือดได้เลย โดย KTMS จะเบิกเงินค่าใช้จ่ายโดยตรงกับสปสช. (ผู้ป่วยไม่ต้องจ่าย) ซึ่งจำนวนคนไข้ที่ฟอกเลือดประมาณ 70% ของคนไข้ที่ฟอกเลือดจะเป็นรายที่สปสช.สนับสนุน 

ในแง่ของอัตราการเติบโตต่อปีของ KTMS ประมาณ 30% ต่อปีและในอนาคตยังคงรักษาระดับการเติบโตระดับเดิมอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันส่วนแบ่งทางการตลาดไม่มากประมาณกว่า 1% โดยวางตำแหน่งของ KTMS อยู่ในท็อป 5 ในอนาคต จากปัจจุบันโครงสร้างรายได้มาจากธุรกิจฟอกเลือด 78% ระบบน้ำ 8% น้ำยาไตเทียม 9% ธุรกิจท่อลม 3% และธุรกิจอื่นอีก 2%

“กรณีผู้ป่วยไตวาย คนไข้จะต้องฟอกเลือดอย่างต่อเนื่อง ยกเว้นจะเปลี่ยนไต อย่างบางรายต้องฟอกเลือด 3 ครั้งต่อสัปดาห์หรือ 11-12 ครั้งต่อเดือน เพราะโรคไตต้องรักษาตลอดชีวิต”

ดังนั้นผู้ป่วยรายเดิมก็ถือมากอยู่แล้ว แนวโน้มจึงมีความจำเป็นที่ต้องหา “ที่นั่งใหม่” เพื่อดูแลผู้ป่วยโรคไตให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไป ซึ่งหน้าที่ของ KTMS นอกจากขยายคุณภาพบริการที่ดีแล้ว ยังมุ่งพัฒนาบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งต่อวิชาชีพ โดย KTMS จะรับดูแลผู้ป่วยทั้งในรพ.ของรัฐและคลินิกเวชกรรมเฉพาะทางไตเทียมของบริษัทเอง

ซีอีโอ “กาญจนา” และในฐานะพยาบาลไตเทียมกล่าวยอมรับว่า ปัจจุบันอายุรแพทย์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไตยังมีไม่เพียงพอกับจำนวนคนไข้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นหน้าที่ของ KTMS นอกจากขยายบริการด้วยคุณภาพแล้ว ยังมุ่งพัฒนาบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งต่อวิชาชีพด้วย

“ความสำเร็จของธุรกิจ เราเน้นให้บริการอย่างมีคุณภาพเพื่อให้คนไข้ได้รับประโยชน์ คุณภาพบริการที่ดี ปัจจุบันเรามีคนไข้ใช้บริการฟอกไตกับเราเกือบ 2,000 คนจากช่วงเริ่มธุรกิจปี 2559 มีคนไข้ 1 คน” นางสาวกาญจนา กล่าวทิ้งท้าย

 

หน้า 13 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,904 วันที่ 13 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2566