สแกน 10 หุ้นกลุ่มลิสซิ่ง ผลตอบแทนราคา หลังรับแรงกดดัน"สคบ.คุมดอกเบี้ย"

26 ต.ค. 2565 | 02:32 น.

เช็ค10 หุ้นกลุ่มลิสซิ่ง ผลตอบแทนราคา( YTD) เป็นอย่างไร มูลค่าหุ้นยังน่าสนใจอยู่ไหม หลังรับปัจจัยกดดันแนวโน้มดอกเบี้ยขาขึ้น สคบ.เข้าคุมเพดานดอกเบี้ยเช่าซื้อ 23% และธนาคารออมสินประกาศรุกธุรกิจ"นอนแบงก์"ในปีหน้า

 

นับแต่ต้นปี 2565 มา อัตราผลตอบแทนราคาหุ้น "กลุ่มเช่าซื้อ"หรือ"ลิสซิ่ง" ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง บางตัวดิ่งมากกว่า 40 - 60% หลังรับแรงกดดันจาก 3 ปัจจัยลบ  นั่นคือ ดอกเบี้ยขาขึ้นการปรับลดเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และจักรยานยนต์ฉบับใหม่ ของ สคบ.ที่จะมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2566 ด้วยการกำหนดเพดานคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ไม่เกินอัตรา 23% ต่อปี  และกรณีที่ธนาคารออมสิน ประกาศรุกธุรกิจบริการด้านการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-bank) ในปี 2566 โดยจะให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล (P-Loan) ในอัตราดอกเบี้ยประมาณ 20% ต่อปี

 

อ่านเพิ่ม : 

"นอนแบงก์"สะเทือน! ออมสินรุกสินเชื่อบุคคลดบ.ต่ำ จุดชนวนแข่งขันราคา

“SAWAD-เงินติดล้อ”ประสานเสียงออมสินตั้ง Non-Bank ไม่กระทบ

           

ปัจจัยดังกล่าวล้วนส่งผลต่อ "หุ้นกลุ่มลิสซิ่ง " ซึ่ง ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล ได้รวบรวมข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯ  สะท้อนการเปลี่ยนแปลงด้านอัตราผลตอบแทนราคา, มูลค่าหุ้น (Valuation ) โดยเทียบจากราคาปิดตลาด ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2565 กับสิ้นปี 2564 ( ณ 30 ธ.ค.64 ) หรือ YTD 

 

10 หุ้นกลุ่มลิสซิ่ง  เรียงลำดับตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ( Market Cap) ดังนี้

 

บริษัท เมืองไทย แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) : MTC 

 

  • มาร์เกตแคป : 75,260 ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65 : 35.50 บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคาหุ้น  YTD :  - 39.57%
  • P/E 14.88 เท่า ,P/BV 2.80 เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  1.04 %

 

บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน) : TIDLOR 

 

  • มาร์เกตแคป : 63,057.74 ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65 : 25.25 บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคาหุ้น  YTD :  - 25.50%
  • P/E 17.86 เท่า ,P/BV 2.66 เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  1.01 %


บริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) : SAWAD 

 

  • มาร์เกตแคป :  54,239.52     ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65  :  39.50 บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคา YTD :  - 36.03%
  • P/E 12.52 เท่า ,P/BV 2.24 เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  4.56 %

 

บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) : THANI 

 

  • มาร์เกตแคป  : 24,011 ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65 : 4.24  บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคา YTD :  - 3.20%
  • P/E 13.32 เท่า , P/BV 2.08  เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  4.01 %

 

บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) : SAK  

 

  • มาร์เกตแคป :  13,938.40 ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65 : 6.65 บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคาหุ้น YTD : - 34.16%
  • P/E 20.41 เท่า ,P/BV 2.80 เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  1.74%

 

บริษัท เฮงลิสซิ่ง แอนด์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) : HENG  

 

  • มาร์เกตแคป : 11,201.40 ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65 : 2.94 บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคาหุ้น  YTD : - 38.24%
  • P/E 27.95 เท่า ,P/BV 2.27 เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  0.34%

 

บริษัท ฐิติกร จำกัด (มหาชน) :TK 

 

  • มาร์เกตแคป :  4,475.00 ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65 : 8.95 บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคาหุ้น  YTD :  - 2.19%
  • P/E 8.80 เท่า ,P/BV 0.79 เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  5.59 %

 

บริษัท เน็คซ์ แคปปิตอล จำกัด (มหาชน) : NCAP 

 

  • มาร์เกตแคป : 4,212.00  ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65 : 3.12 บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคาหุ้น  YTD : - 61.20%
  •  P/E 17.56 เท่า , P/BV 1.02 เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  - %

 

บริษัท ไมโครลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) : MICRO 

 

  • มาร์เกตแคป :  3,927.00 ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65 : 4.20 บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคาหุ้น  YTD :  - 48.47%
  •  P/E 25.07เท่า ,P/BV 2.01 เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  1.83 %

 

บริษัท เอส 11 กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) : S11  

 

  • มาร์เกตแคป : 3,003.70 ล้านบาท
  • ราคาปิด 25 ต.ค.65 : 4.90  บาท
  • อัตราผลตอบแทนจากราคาหุ้น  YTD : - 24.62%
  • P/E  8.61 เท่า ,P/BV 0.96 เท่า 
  • อัตราเงินปันผลตอบแทน YTD :  5.31%

 

 

 

ธุรกิจลิสซึ่ง ปรับตัวขึ้นวงเงินดาวน์

 

นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ - รายย่อย บล.ซีจีเอส-ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล" ว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ จะส่งผลลบต่อผู้ให้บริการสินเชื่อ และอุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวม  ผู้ประกอบการอาจเพิ่มวงเงินดาวน์ป็น 30-40% เพื่อชดเชยอัตราผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่ระดับต่ำ และอาจส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงบริการทางการเงิน ทำให้ผู้ที่ต้องการกู้หันไปพึ่งเงินกู้นอกระบบมากขึ้น 

 

"ปัจจุบันอัตราผลตอบแทนจากสินเชื่อเช่าซื้ออยู่ระหว่าง 4-30% ต่อปี แต่หากกำหนดเพดานดอกเบี้ยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ไม่เกิน 23% ต่อปี บริษัทที่คาดว่าจะได้ผลกระทบมากสุดคือ บมจ.ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น (SAWAD) จากฐานสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ที่มีสัดส่วนถึง 23% และคิดอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อเฉลี่ย 30% ต่อปี รองมาเป็นบมจ.เมืองไทย แคปปิตอล (MTC) มีฐานสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ประมาณ 5%  ส่วน บมจ.เงินติดล้อ ( TIDLOR) สินเชื่อเช่าซื้อส่วนใหญ่เป็นรถยนต์ กระบะ และรถบัส จึงไม่ได้รับผลกระทบ" กิติชาญ กล่าว และว่า

 

ปีนี้เราอาจได้เห็น ผู้ประกอบการขนาดเล็ก รายกลางปรับตัว เช่น การควบรวมกิจการ แต่ผลกระทบจริง ๆคงต้องดูว่า สคบ.จะมีประกาศหรือเงื่อนไขตามหลังออกมาอย่างไร เราประเมินอัตราดอกเบี้ยที่ปรับลงทุก ๆ 1% จะทำให้ผลกำไรบริษัทฯโดยรวมปีหน้าลดลง 6%  อย่างไรก็ดี กรณี MTC อาจไม่ได้รับผลกระทบมาก เพราะปัจจุบันบริษัทฯชาร์จดอกเบี้ยประมาณ 24% ไม่ต่างจากดอกเบี้ยเช่าซื้อใหม่ที่กำหนด 23% มากนัก ขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นก็อาจปรับตัว โดยการกำหนดวงเงินดาวน์เพิ่มแทน   

 

ขณะที่ผลกระทบต่อราคาหุ้นทั้ง SAWAD , MTC  ที่ผ่านมา ได้ปรับลดลงรับประเด็นดังกล่าวไปมากแล้ว

 

สอดคล้องกับ นายกิจพณ  ไพรไพศาลกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย)  กล่าวว่า การกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ คาดจะทำให้ผู้ประกอบการอาจกำหนดวงเงินดาวน์เพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยความเสี่ยง มีโอกาสเห็นยอดการปล่อยสินเชื่อส่วนนี้ชะลอตัวลง และที่ผ่านมาประเด็นดังกล่าว ได้กดดันราคาหุ้นกลุ่มนี้ปรับลงไปมากแล้ว

 

ด้านนายวิชิต พยุหนาวีชัย กรรมการผู้จัดการ บมจ.ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล (SAWAD ) กล่าวถึง ผลกระทบจากเพดานสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ใหม่ว่า บริษัทมั่นใจจะกระทบรายได้จากการประกอบธุรกิจเพียงเล็กน้อย เนื่องจากบริษัทได้วางแผนเตรียมความพร้อมล่วงหน้าเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี ในการบริหารจัดการต้นทุนการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ และใช้การทบทวนคะแนนเครดิตลดความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อ เพื่อควบคุมระดับเอ็นพีแอลให้อยู่ในระดับเหมาะสม

 

นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนที่จะเพิ่มพันธมิตรดีลเลอร์เพื่อผลักดันรายได้จากยอดขายให้เติบโตเพิ่มขึ้น นับเป็นการปรับตัวตามเกณฑ์ควบคุม และสนับสนุนให้บริษัทสามารถแข่งขันในธุรกิจได้อย่างดี อย่างไรก็ดี ตามประกาศฯ ที่ได้เปิดโอกาสในการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี โดยให้ลดลงหรือเพิ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศทุก 3 ปี ถือเป็นเรื่องดี และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกลุ่มนอนแบงก์ในการประกอบธุรกิจ เขากล่าว.