MFC ชี้ทุกวิกฤตมีโอกาส หุ้นไทยไม่ไร้ทางรอด หลายธุรกิจยังมีอนาคต

18 ก.พ. 2568 | 00:00 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ก.พ. 2568 | 02:58 น.

MFC มองเศรษฐกิจโลกผันผวนเป็นเรื่องปกติของทุกยุคสมัย ชี้ปัจจัย Geopolitics มีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลก เชื่อว่าไทยมีโอกาสพลิกเกม พร้อมเปิดตัวงานใหญ่ "THE WORLD'S NEXT OPPORTUNITIES AND BEYOND GALA DINNER" ฉลองครบรอบ 50 ปี MFC

นายณัฐกร อธิธนาวานิช ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า ภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีความผันผวน มองว่าทุกยุคสมัยไม่เคยมีอะไรที่นิ่งอยู่แล้ว มันมีการปรับเปลี่ยนในแต่ละยุค ไม่ว่าปัจจัยจะมาจากเศรษฐกิจ หรือปัญหาภูมิรัฐศาตร์ (Geopolitics)

โดยเฉพาะปัญหา Geopolitics ที่อาจมีบทบาทมากกว่าทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สหรัฐฯ รัสเซีย จีน และอื่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจโลก ดังนั้นจึงมองว่าทุกยุคทุกสมัยล้วนมีความท้าทายทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ มองว่าเป็นโอกาสของประเทศไทย เพราะที่ผ่านมาไทยเองก็สามารถปรับตัวได้ในทุกทาง เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น บางอย่างเราอาจทำเร็วเกินไปในบางเรื่อง และบ้างอย่างก็อาจช้าเกินไป แต่โดยภาพรวมแล้วการบาลานซ์ในรอบนี้ในด้านของความสัมพันธ์ Geopolitics ไทยน่าจะอยู่ในจุดที่ได้ประโยชน์

ทีนี้ก็เหลือแต่ฝั่งของประเทศไทยเองที่จะต้องปรับตัวและแสวงหาโอกาสในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ รัสเซีย หรือจีน ในกลุ่มประเทศใหญ่ๆ รวมไปถึงฝั่งยุโรปและญี่ปุ่น แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะเผชิญหน้ากับความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ แต่เชื่อว่าไม่มีอะไรที่จะแย่เสมอไป

"เมื่อมาถึงจุดที่คนมองว่าเป็นวิกฤต แต่ก็จะมีโอกาสสำหรับคนกลุ่มใหม่เข้ามาเสมอ ในทุกครั้งที่มีวิกฤตมันไม่ใช่วิกฤตของทุกคน และอาจเป็นโอกาสของหลายคน เพราะฉะนั้นมันขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะจับถูกทางหรือไม่ ไทยเป็นประเทศที่ตลาดไม่ได้ใหญ่มาก จึงอาศัยความเร็วเป็นความได้เปรียบของเรา ไม่ได้มีอะไรเลวร้ายเสมอไปทั้งของประเทศไทยเองและตลาดโลก"

ภาพรวมฝั่งสหรัฐฯ มีการปรับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหลายปีแล้ว ผู้ลงทุนเริ่มมีสัญญาณระมัดระวังมากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ของ MFC ที่ออกไปก็จะเป็นในส่วนของกองทุนทริกเกอร์ (Trigger) เขาอาจจะมีความเชื่อแล้วว่าการลงทุนเป็นไปได้ที่อาจได้เป้าในจำนวนหนึ่งแล้ว แม้อาจจะไม่ได้บวกแบบตัวเลข 2 หลัก (Double Digits) ไปตลอด แต่เป็นโอกาสในการทำกำไรเป็นช่วงๆ

เพราะฉะนั้นผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจะสะท้อนถึงมุมมองของ MFC และตลาดด้วย และกระแสตอบรับของนักลงทุนก็ดูเหมือนจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย มองว่าอะไรที่ขึ้นไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็จะมีวันที่ต้องปรับลดลงมาเพียงแต่จะมาเป็นช่วงๆ หรือยาวไปเลย

MFC ชี้ทุกวิกฤตมีโอกาส หุ้นไทยไม่ไร้ทางรอด หลายธุรกิจยังมีอนาคต

แต่อย่างไรก็ดี เชื่อว่าการปรับตัวลงหนักๆ แบบระยะยาวเลยนั้นคงไม่ได้เกิดขนาดนั้น ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศ ส่วนตัวมองว่าทุกรัฐบาลเป็นปกติที่การวัดผลความสำเร็จรัฐบาลในด้านเศรษฐกิจมุมหนึ่งคือการเติบโตของเศรษฐกิจ และผลตอบแทนของตลาดทุน

ในส่วนของตลาดฝั่งเอเชีย มองว่าด้วยรากฐาน (Foundation) ของโครงสร้างที่เป็นธุรกิจเองไม่ได้มีความหลากหลายและผสมผสานเหมือนอย่างฝั่งสหรัฐฯ ที่มีการเปลี่ยนผ่านในประเทศไปแล้วโดยเฉพาะในมุมของเทคโนโลยีที่มีบทบาทมากขึ้น เหมือนที่เห็นผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในตัวมันเอง

ทำให้ฝั่งเอเชียตลาดจึงดูซึมตัว เพราะรากฐานของธุรกิจเอเชียหรือแม้กระทั้งไทย ยังคงเกาะกลุ่มอยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรมรูปแบบเดิมๆ โอกาสที่ในอนาคตธุรกิจที่ยังคงดำเนินในรูปแบบเดิมๆ จะล้มหายตายจายไปก็อาจจะมีบ้าง แต่คงไม่หายไปเลยจากชีวิตคงทั้งโลกคงเป็นไปไม่ได้

เมื่อข้างหนึ่งสูงไปแล้ววันหนึ่ง Market ก็จะมีการสลับแรงการลงทุนสลับไปกลับมาของมันเอง เพราะฉนั้นนักลงทุนจะทบทวนและการปรับระหว่างผลตอบแทนกับความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนของตนเองตลอดเวลาอยู่แล้ว สะท้อนภาพการลงทุนในระยะสั้นและระยะยาว

ขณะที่มุมมองต่อตลาดหุ้นไทยนั้น มองว่าเป็นโอกาสที่ดีที่บางหลักทรัพย์หรือบางธุรกิจที่มูลค่าที่แท้จริงกับราคาไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกันแล้ว ลองคิดดูว่าธุรกิจของไปเป็นธุรกิจรูปแบบเดิมเสียเยอะ มูลค่าก็ไม่ได้ถูกให้คุณค่า (Value) แต่หากมองให้ลึกลงไปแล้วอันที่จริงกระแสเงินสดหลายอย่างอาจยังคงมีความแข็งแรงอยู่

"จากนี้ก็เหลือเพียงการที่ธุรกิจไทยจะต้องปรับปรุงเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจในแง่มุมต่างๆ เชื่อว่าเป็นโอกาสดีที่จะถือโอกาสนี้เป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจในหลายๆ อุตสาหกรรม และเชื่อว่าของอะไรที่มีราคาถูกเกินไปก็จะมีคนกลุ่มหนึ่งที่เห็นคุณค่า และอาจเป็นการเปิดโอกาสในต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนมากขึ้นด้วยซ้ำ รวมถึงนำพาเราก้าวผ่านระบบดังเดิมไปสู่ธุรกิจที่มีความสามารถในการแข่งขันมาขึ้น"

มองว่าโอกาสของตลาดหุ้นไทยไม่ได้แย่ แต่ก็ไม่ได้เป็นโอกาสสำหรับทุกบริษัท บริษัทที่มีพื้นฐานดีก็ต้องบวกกับมีความพร้อมที่จะปรับตัวร่วมด้วย ถ้าไม่มีการปรับตัวก็เลยก็เป็นธรรมชาติที่ในอนาคตจะล้มหายตายจากไป อย่างไรก็ดี  คาดการณ์ว่ามีบริษัทจดทะเบียนเกิน 20-30 หลักทรัพย์ที่มูลค่ายังไม่ได้สะท้อนราคาเลย

หากมองไปภายภาคหน้าในระยะ 2-3 ปี เมื่อปรับตัวได้ รวมถึงในระหว่างทางมีการแสวงหาพันธมิตร หา Synergy หรือการเข้าซื้อกิจจากใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติม เชื่อว่าหากเลือกได้ถูกได้ถูกที่ถูกทาง ก็จะเป็นหนึ่งในตลาดที่ให้อัตราผลตอบแทนที่ดี แต่คงจะอยู่เฉยๆ แบบซื้อหรือถือระยะยาว 2-3 ปีแบบเดิมคงไม่ได้แล้ว

ความเชื่อมั่นของไทยในสายตาต่างชาตินั้น อาจไม่ได้มองเหมือนคนไทยที่เห็นดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลงทุกวัน จะเห็นและตีความได้ว่าหุ้นไทยไม่มีโอกาสและการเติบโต แต่ต่างชาติอาจมองไม่เหมือนกัน และมีแนวคิดว่าไทยมีความพร้อมหลายอย่าง

โดยเฉพาะเรื่องดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างนาน ต้องมีความพร้อมเรื่องไฟฟ้าเพราะใช้ไฟเยอะ ไทยมีความโชคดีที่มีความพร้อมเรื่องของไฟฟ้าไทยเราปูทางเรื่องนี้มานานแล้ว ทำให้ต่างประเทศเข้ามาคุยกับเมืองไทยมากขึ้น เพราะต่างชาติมองว่าหากต้องมาลงทุนเลยเขาก็มีความพร้อมในการเปิดดาต้าเซ็นเตอร์ได้เลยโดยใช้เวลาไม่นาน

"ส่วนตัวไม่เคยมองว่าเมืองไทยจะไม่เติบโต เชื่อว่าท้ายที่สุดไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหน หรือพรรคการเมืองไหน ก็ไม่มีวันที่จะปล่อยให้เศรษฐกิจการค้า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานล่มสลายไปหรอก ถึงเวลาต้องช่วยกันมากกว่า วันนี้ติดเรื่องเดียวคือจะร่วมมือร่วมใจอย่างไรให้เกิดความเชื่อมั่นมากกว่า"

ในแง่ตลาดทุนเองก็มีความสำคัญ MFC เองอยู่ในบทบาทนั้นมาเมื่อตั้งแต่ 50 ปีก่อน วัตถุประสงค์ของ MFC ที่เกิดขึ้นเพื่อการพัฒนาตลาดทุน ซึ่งวันนี้ก็ยังคงทำหน้าที่นั้นอยู่ ในความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป เชื่อว่าธุรกิจบริหารจัดการกองทุนรวมเป็นธุรกิจที่คลาสสิก แม้ว่าการแข่งขันเพิ่มขึ้นตลาดเวลา

แต่ความต้องการของลูกค้าภาคสถาบันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้องการผู้ที่เข้ามาช่วยบริหารที่มีความเชื่อถือและไว้ใจได้ ด้วยเพราะว่าเป็น Economy of scale กว่าจะเลือกซื้อสิทนทรัพย์แต่ละอย่างต้องวิจัยมาดีมากพอ อีกทั้งยังต้องดูในเรื่องของความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ลูกค้าจะได้รับด้วย

เพราะฉนั้นธุรกิจนี้ยังคงมีอยู่ แต่ที่จะต้องเปลี่ยนไปคือไส้ในและความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้นมาอีกกลุ่ม เพราะความแตกต่างของแต่ละวัย (Generation) ก็มีความต้องการลงทุนที่ต่างกัน วันนี้สิ่งที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนคือในเรื่องของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น ก็คล้ายๆ กับ Mobile banking โอน ถอน จ่ายเงินผ่านมือถือ ไม่ต้องเข้าธนาคารเหมือนเมื่อก่อน สะท้อนให้เห็นว่าทางเลือกของการลงทุนในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ 

ทางเลือกหลายอย่างเริ่มต้นจากความเป็นสถาบัน เป็นกองทุน เพราะเมื่อเป็นสินทรัพย์อะไรที่รู้สึกว่าเสี่ยงหน่วยงานที่กำกับดูแลก็จะมีความกังวลใจ อันที่จริงสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้โดยธรรมชาติว่า เเราต้องเปลี่ยนผ่านตรงนี้ให้เร็ว เพราะโอกาสเมื่อมาในสินทรัพย์ใหม่ๆ มากขึ้นนั้นหมายความว่าผลตอบแทนย่อมดีกว่าสินทรัพย์โดยทั่วไป ถ้าเราไม่เปิดโอกาสให้เร็วมากพอ ไปปิดท่อการลงทุน ทำให้ทางเลือกนักลงทุนก็น้อยลง เป็นเรื่องที่ต้องสนับสนุนและเปลี่ยนผ่านให้เร็ว"

นายณัฐกร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทาง MFC เตรียมจัดงานสัมนา "THE WORLD'S NEXT OPPORTUNITIES AND BEYOND GALA DINNER" ในวันที่ 14 มีนาคม 2568 ช่วงเวลา 17.00-21.00 น. ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น 22

การจัดงานครั้งนี้ เป็นการจัดงานเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปีของ MFC ที่เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวมแห่งแรกของประเทศไทย โดยในการจัดสัมนาครั้งนี้ มองถึงความสำคัญในการลงทุนท่ามกลางความไม่แน่นอนหลายๆ อย่าง ซึ่ง MFC ต้องมีการติดต่อลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ตั้งแต่ลูกค้าสถาบัน ไปจนถึงรายย่อย รวมถึงหน่วยงานกำกับดูแล (regulator) ต่างๆ

โดยเชื่อว่าเป็นบทบาทสำคัญที่ช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ จึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรให้การจัดสัมนาครั้งนี้เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนให้มากที่สุด จนเกิดเป็นงาน "THE WORLD'S NEXT OPPORTUNITIES AND BEYOND GALA DINNER" ขึ้นมา เพื่อที่จะชวนทุกคนกลับมาลองดูว่าโอกาสข้างหน้าเป็นอย่างไรบ้าง

THE WORLD\'S NEXT OPPORTUNITIES AND BEYOND GALA DINNER

และอยากเป็นแกนนำที่จะจัดสร้างเวที และเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงในแต่ละที่มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ว่ามองอนาคตไว้อย่างไรบ้าง มาให้มุมมองในแง่มุมต่างๆ รวมถึงประเทศไทยควรจะอยู่จุดไหนในเวทีโลก ซึ่งก็จะช่วยสะท้อนต่อโอกาสการลงทุนต่างๆ ด้วย น่าจะเป้นประโยชน์กับสังคม และเป็นเรื่องที่ชวนให้ทุกคนกลับมาคิดใหม่ว่าโอกาสข้างหน้าเราควรเดินไปอย่างไร

"ในช่วงที่จัดแผนงาน MFD ก็มองว่าอยากให้มีมุมมองของผู้เชียวชาญที่มีความหลากหลาย บน 2 แกนหลัก คือ ประสบการณ์ ซึ่งผู้พูดที่มาร่วมเวทีในครั้งนี้แต่ละคนก็มีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และความแตกต่างของช่วงวัย การตีความของการเปลี่ยนแปลงและมุมมองต่อโอกาสในยุคถัดไปที่แตกต่างกัน"