ปิดดีล บีทีเอส-เจมาร์ท จับมือร่วมทุน บุกตลาดค้าปลีก-ฟินเทค

30 ส.ค. 2564 | 07:20 น.

บีทีเอส-เจมาร์ท จับมือร่วมลงทุน ต่อยอดธุรกิจ 3 M เจาะตลาดเทคโนโลยีฟินเทค 1.75 หมื่นล้านบาท หวังขยายฐานกลุ่มค้าปลีก-การเงิน ด้านเจมาร์ท ตั้งเป้ากำไรเติบโตไม่น้อยกว่า 50% ต่อปี

นายกวิน กาญจนพาสน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม BTS เปิดเผยว่า จากกรณีที่กลุ่มบีทีเอส ได้แก่ บมจ.วีจีไอ (VGI) และ บมจ.ยู ซิตี้ (U) ประกาศเข้าลงทุนใน บมจ.เจ มาร์ท (JMART) และบริษัทในเครือ บมจ.ซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) ด้วยมูลค่าเงินลงทุนกว่า 1.75 หมื่นล้านบาท รวมสัดส่วน 24.9% ของทุนที่ชาระแล้ว VGI เข้ามาถือสัดส่วน 15% ส่วน U ถือสัดส่วน 9.9% “เรารู้สึกตื่นเต้นกับการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือภายใต้กลุ่ม MATCH ของเรา VGI และ U City ลงทุนมูลค่ากว่า 1.75 หมื่นล้านบาทด้วยความตั้งใจร่วมเป็นพันธมิตรในระยะยาว เพื่อช่วยสร้างมูลค่าทางธุรกิจร่วมกัน เราพร้อมต่อยอดธุรกิจภายใต้เครือข่าย 3M ที่เรามีอยู่ ความสามารถด้านฟินเทคที่เข็มแข็งของ JMART ร่วมกับการรวมระบบกระจายสินค้าและสาขาที่มีอยู่ทั่วประเทศ นอกจากนี้เราได้วางแผนที่จะรวมเทคโนโลยีทางการเงินและ Crypto Digital Token เพื่อใช้ภายในเครือข่ายของกลุ่ม BTS ซึ่งจะสร้างประสบการณ์ใหม่และความสะดวกสบายให้แก่ฐานลูกค้าของเราได้ดียิ่งขึ้น

ปิดดีล บีทีเอส-เจมาร์ท จับมือร่วมทุน บุกตลาดค้าปลีก-ฟินเทค

สำหรับแผนการ Synergy ร่วมกันในช่วงต่อจากนี้ คาดว่าจะได้เห็นการขยายฐานลูกค้า การขยายผลิตภัณฑ์และบริการในเครือของ JMART ร่วมกันไปสู่สินค้าสำหรับผู้บริโภค การประกันภัย รวมไปถึงเทคโนโลยีและการให้บริการ O2O โซลูชั่นส์ ของ VGI ผ่านแพลตฟอร์มธุรกิจสื่อโฆษณา ธุรกิจบริการชำระเงิน และธุรกิจโลจิสติกส์ ยิ่งไปกว่านั้นทางด้านเทคโนโลยีทางการเงิน Blockchain รวมทั้งการศึกษาด้านดิจิทัลโทเคน เป็นโอกาสในการนำโทเคน JFin มาใช้ภายในเครือข่ายของกลุ่ม BTS จึงเป็นโอกาสที่ดีในการเติมเต็มอีโคซิสเต็มของ JMART ให้สมบูรณ์ สำหรับการทำธุรกรรมต่างๆ รวมถึงการใช้งานแทนเงินสด ซึ่งจะช่วยสร้างอีโคซิสเต็มทางธุรกิจที่ครบวงจร พร้อมผลักดันให้มีการปรับเปลี่ยนเพื่อเข้าสู่การเป็นองค์กรดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งหมดนี้จะเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญที่จะเชื่อมต่อฐานข้อมูลที่ครอบคลุมที่สุด เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์และปรับปรุงบริการที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคในทุกรูปแบบ

นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน) (JMART) กล่าวว่า ประเด็นสำคัญการลงทุนครั้งนี้ คือ การปลดล็อกข้อจำกัดเรื่องเงินทุนในธุรกิจการเงินซึ่งเป็นฐานกำไรสำคัญของ JMART นำไปใช้เพิ่มทุนใน JMT และ SINGER เพื่อซื้อหนี้เข้ามาบริหาร และขยายพอร์ตสินเชื่อ รวมไปถึงลดต้นทุนทางการเงิน

ปิดดีล บีทีเอส-เจมาร์ท จับมือร่วมทุน บุกตลาดค้าปลีก-ฟินเทค

 

ส่วนแผนการ Synergy ร่วมกันในช่วงต่อจากนี้ คาดจะได้เห็นการขยายฐานลูกค้า การขยายผลิตภัณฑ์และบริการในเครือของเจมาร์ท ในธุรกิจค้าปลีก การเงิน ประกัน และเทคโนโลยี ไปสู่ขอบเขตการให้บริการที่เป็นมากกว่า Online-to-Offline (O2O) โซลูชั่นส์ บนแพลตฟอร์มธุรกิจสื่อโฆษณาของ VGI ธุรกิจบริการชาระเงิน และธุรกิจโลจิสติกส์ ในแง่ของช่องทางการจาหน่าย SINGER ยังถือเป็นเบอร์หนึ่งที่สามารถเข้าถึงลูกค้าผ่านตัวแทนขายที่ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยปัจจุบันมีร้านสาขาและแฟรนไชส์รวมกว่า 2,800 แห่ง รวมทั้ง ช่องทางร้านค้ากลุ่มสินค้าเทคโนโลยี JAYMART MOBILE และบริษัทในเครือ เป็นเครือข่ายการกระจายสินค้าและเข้าถึงผู้บริโภคที่แข็งแกร่ง ผสานกับ KERRY เพิ่มโอกาสการต่อยอดธุรกิจโลจิสติกส์ในเครือเจมาร์ทได้รวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้ง ทางด้านเทคโนโลยีทางการเงิน Blockchain รวมทั้งศึกษาเรื่อง Digital Token และการนาเอา JFIN Token มาใช้บนอีโคซิสเต็มของกลุ่ม BTS เป็นโอกาสในการสร้างระบบนิเวศน์ในเครือเจมาร์ทให้ครบวงจร

 

นอกจากธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตยิ่งขึ้นแล้ว การเพิ่มทุนครั้งนี้จะเสริมความแข็งแกร่งด้านเงินทุนของกลุ่ม เจมาร์ท ทำให้มีงบดุลที่แข็งแกร่งขึ้น มีโอกาสที่เครดิตเรทติ้งจะดีขึ้น และการขยายธุรกิจด้วยต้นทุนการเงินที่ลดลงของ SINGER และ JMT จะสะท้อนกลับมาที่ JMART ในแง่ของกาไรที่โดดเด่นชัดเจน โดยตั้งเป้าภาพรวมกำไรเติบโตไม่น้อยกว่า 50% ต่อปี ซึ่งยังไม่นับรวมการผนึกพันธมิตรต่อยอดธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มเติมร่วมกับบริษัท VGI และ U ภายในกลุ่ม BTS

ทั้งนี้เจมาร์ทในฐานะเป็นบริษัทแม่ของ JMT และผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Singer พร้อมนาเงินจากพันธมิตรที่ได้จากการออก PP ครั้งนี้ สนับสนุนแผนเพิ่มทุนของ SINGER คิดเป็นมูลค่าราว 1,300 ล้านบาท รองรับการขยายโอกาสในธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกัน และอีกส่วนหนึ่งใช้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ JMT มูลค่าประมาณ 5,300 ล้านบาท รองรับการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหาร ท่ามกลางสถานการณ์ของอุตสาหกรรมที่สนับสนุนการเติบโตของกิจการในอนาคต ซึ่ง JMT เป็นผู้บริหารบริหารหนี้ด้อยคุณภาพรายใหญ่ของประเทศ โดยผู้ถือหุ้นท่านใดที่เล็งเห็นศักยภาพการเติบโตนี้ ก็สามารถมีส่วนร่วมเติบโตไปด้วยกันในครั้งนี้ พร้อมให้วอแรนท์ชุดใหม่ รองรับการเติบโตในอนาคต

 

 

อย่างไรก็ตามการลงทุนในครั้งนี้จะเป็นการลงทุนในหุ้นสามัญเพิ่มทุนที่ออกผ่านการเสนอขายให้ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วน (Rights Offering: “RO”) และการเสนอขายให้บุคคลในวงจำกัด (Private Placement: “PP”) จาก JMART SINGER และ JMT เพื่อใช้เป็นเงินอัดฉีดกระตุ้นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกลุ่ม JMART โดย SINGER จะได้รับเงินจาก PP และ RO จำนวนทั้งสิ้น 1.06 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายฐานการเติบโตของพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อ และสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ นอกจากนี้เงินดังกล่าวจะนำไปใช้สำหรับการจ่ายคืนหุ้นกู้ เพื่อลดต้นทุนค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย โดยในปี 2565 SINGER ตั้งเป้าที่จะเพิ่มพอร์ตสินเชื่อเป็น 1.5 หมื่นล้านบาท ด้าน JMT ประกาศเพิ่มทุนแบบ RO ระดมทุนกว่า 1.0 หมื่นล้านบาท โดย JMT แถมแจกวอแรนท์สำหรับผู้จองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เพื่อเพิ่มฐานทุนในการขยายการซื้อหนี้ด้อยคุณภาพเพิ่มเติม ผลักดันเป็นเบอร์ 1 บริษัทบริหารหนี้ด้อยคุณภาพในประเทศ