MFECจับมือตู้บุญเติม

01 ต.ค. 2561 | 02:21 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

 

>> รุกเพย์เมนต์เกตเวย์ รองรับJFIN DDLP
MFEC  ดัน “ChillPay” เพย์เมนต์เกตเวย์ครบวงจร จับมือ “ตู้บุญเติม” แบ่งสัดส่วนรายได้ 50:50 ขยายช่องทางชำระเงินเพิ่ม-รองรับระบบลูกค้าสินเชื่อ JFIN DDLP เริ่มปล่อยกู้ต.ค.นี้

นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFEC  เปิดเผยว่าจากการที่บอร์ดบริษัทได้อนุมัติการขายหุ้นบางส่วนของ MFEC ที่ถือในบริษัท พระอินทร์ ฟินเทค จำกัด(บจก.) ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาและให้บริการระบบช่องทางการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Payment Gateway) ภายใต้เครื่องหมายทางการค้า “ChillPay” ให้กับบจก. เจ เวนเจอร์ส  (JVC) บริษัทในกลุ่มเจมาร์ท  ที่ซื้อจาก MFEC และนายธนกร ชาลี สัดส่วนรวมกัน 18.92% มูลค่าลงทุน 21 ล้านบาท MP18-3405-A

การซินเนอร์ยีระหว่างบริษัทย่อยของกลุ่ม  JMART และ MFEC  จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน  ทั้งกับ MFEC ที่จะได้ประโยชน์จากกลุ่มเจมาร์ทที่จะต่อยอดเป็นลูกค้าของ ChillPay   ในทางกลับกัน กลุ่มเจมาร์ท จะได้ธุรกิจเพิ่มจากลูกค้า ChillPay ที่มีฐานลูกค้าในมือกว่า 100  บริษัท ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจอี-คอมเมิรซ์  ลูกค้าเหล่านี้ต่อไปสามารถจะใช้วงเงินผ่านธุรกิจสินเชื่อของกลุ่มเจมาร์ท “J-money” ได้

ทั้งนี้โครงสร้างผู้ถือหุ้นของบริษัทพระอินทร์ ฯ หลังการขายหุ้นแล้ว ประกอบด้วย   MFEC ถือหุ้นลดลงเหลือ  71.62%, JVC ถือหุ้น 18.92%, นายธนกร ชาลี ถือ 3.7% ที่เหลือเป็นกรรมการบริษัท

นายธนกร ชาลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ  MFEC  กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าบริษัทวางโพสิชัน ChillPay โปร ดักต์ของบริษัทพระอินทร์ฯ เป็น Payment Gateway ที่มีช่องทางชำระเงินมากสุดและครบวงจร ช่องทางหนึ่ง โดยการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบมจ.ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส หรือ FSMART ผู้ให้บริการตู้เติมเงิน “บุญเติม” ซึ่งอยู่ระหว่างทดลองและการเชื่อมต่อ แบ่งสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียม 50 : 50  และสอดคล้องกับเป้าหมายของ JVC ที่ทำในเรื่อง JFIN Decentralized Digital Lending Platform (JFIN DDLP)  ปล่อยกู้ผ่านระบบบล็อกเชน ซึ่งจำเป็นต้องมีช่องทางชำระเงินที่เข้าถึงลูกค้าโดยเฉพาะรายย่อย เช่นกรณีที่ลูกค้าต้องการชำระเงินกู้    ตู้บุญเติมมีมากกว่า 1 แสนตู้กระจายทั่วประเทศ จะรองรับลูกค้ากลุ่มนี้ได้ดีกว่า  ตู้บุญเติม

“การเติบโตของบริษัทพระอินทร์ฯ จะเน้นฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอี-คอมเมิร์ซที่สั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ คาดภายในเดือนตุลาคม จะสรุปแผนยุทธศาสตร์ของบริษัทพระอินทร์ฯได้ชัด อย่างไรก็ดีแผนอนาคตมองไว้ 2 แนวทางคือ เข้าตลาด หลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ หรือการซินเนอร์ยีกับรายใหม่อื่นๆ ให้เข้ามาถือหุ้น”

อนึ่งธุรกรรมผ่าน  ChillPay  ในปี 2560 เติบโตเป็น 3 เท่าจากปี 2559 เป็นวงเงินถึง 300 ล้านบาท ปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายเติบโตเป็น 2 เท่าตัว หรือประมาณ 600 ล้านบาท หลัง 6 เดือนแรกปีนี้มียอดวงเงินโอนผ่านระบบถึง 300 ล้านบาท

ด้านนายธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บจก.เจ เวนเจอร์ส  (JVC) กล่าวว่า การเข้าลงทุนในพระอินทร์ฯ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา Payment Gateway Solution ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบ JFIN Decentralized Digital Lending Platform (JFIN DDLP) และภายในเดือนตุลาคมนี้บริษัทจะเปิดตัว Digital Lending Platform (DLP) ภายใต้แบรนด์ “ป๋า” โดยจะเริ่มปล่อยกู้ผ่านระบบบล็อกเชน ส่วนใหญ่เป็นฐานลูกค้ารายย่อย อาทิกลุ่มอาชีพอิสระ แท็กซี่ ฯลฯ

หน้า 17-18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับ 3,405 วันที่ 30 ก.ย.-3 ต.ค. 2561