CIMBT รุกรายย่อย เทรดหุ้นกู้ตลาดรอง

07 ต.ค. 2560 | 10:02 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

ซีไอเอ็มบีไทย เจาะลูกค้ารายย่อยซื้อขายตลาดรองเพิ่มสภาพคล่องให้ตราสารหนี้ เหตุพฤติกรรมลูกค้าชอบถือแล้วเก็บยาว ตั้งเป้าเพิ่มมาร์เก็ตแชร์ 30% คิดเป็นมูลค่าเกือบ 3 พันล้านบาทจากทั้งระบบ 1 หมื่นล้านบาท

นายภูดินันท์ เศรษฐนันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริหารเงิน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าในปีนี้ธนาคารจะเน้นการเติบโตในส่วนของการซื้อขายหุ้นกู้และพันธบัตรรัฐบาล หรือ ตราสารหนี้ในตลาดรองอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้ตลาดตราสารหนี้ รวมถึงเพิ่มทางเลือกให้นักลงทุนมีตัวเลือกที่หลากหลายมากขึ้นเพิ่มเติมจากตลาดหลัก

[caption id="attachment_182595" align="aligncenter" width="503"] KIKO-389 ภูดินันท์ เศรษฐนันท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจบริหารเงิน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)[/caption]

ทั้งนี้ธนาคารเริ่มทำการซื้อขายตลาดรองสำหรับลูกค้ารายย่อยตั้งแต่ปี 2558 โดยมีมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ราว 1,000 ล้านบาท และในปี 2559 มีมูลค่าซื้อขายเพิ่มเป็น 2,000 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) อยู่ที่ 25% จากมูลค่าซื้อขายทั้งตลาดอยู่ที่ 1 หมื่นล้านบาท และในปีนี้ธนาคารยังพัฒนาการซื้อขายตลาดรองสำหรับลูกค้ารายย่อยอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าเพิ่มมาร์เก็ตแชร์เป็น 30% หรือคิดเป็นมูลค่าซื้อขายผ่านธนาคารเกือบ 3,000 ล้านบาท มีจำนวนลูกค้ากว่า 1,000 ราย

สำหรับตัวเลขตลาดตราสารหนี้รวมมีมูลค่าอยู่ที่ 11 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐบาล 8 ล้านล้านบาท และหุ้นกู้เอกชน 3 ล้านล้านบาท โดยในจำนวนดังกล่าวประมาณ 50% หรือประมาณ 1.5 ล้านล้านบาท ถือโดยรายย่อย จะเห็นว่ารายย่อยมีการซื้อขายในตลาดน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการถือระยะยาว

ดังนั้นเพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายในตลาดรอง ธนาคารจึงรับซื้อขายหุ้นกู้วงเงินตั้งแต่ 1 แสนบาทขึ้นไป และพันธบัตรจะขยับเป็น 5 แสนบาทขึ้นไป โดยธนาคารจะเลือกรับซื้อขายตราสารหนี้รุ่นที่มีเรตติ้ง BBB-ขึ้นไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,302 วันที่ 5 - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2560
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9-1