CSSควงพันธมิตรเพิ่มธุรกิจเสริมแข็งแกร่งบริษัท เพิ่มโอกาสสร้างรายได้หนุนมาร์จินโต

24 มิ.ย. 2560 | 01:00 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

คอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์ โซลูชั่น เสริมโมเดลธุรกิจ เพิ่มพันธมิตรขยายธุรกิจกว้างขึ้น เสริมธุรกิจเทรดดิ้งไฟฟ้าที่แข่งดุเดือด ระบบโทรคมนาคม งานเยอะ มาร์จินนิ่

นายสมพงษ์ กังสวิวัฒน์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทคอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) หรือCSS เปิดเผยว่า บริษัทต้องปรับตัวเพิ่มธุรกิจใหม่ๆ โดยร่วมกับพันธมิตรในการเข้าประมูลงานงานแรกที่สำเร็จคือ ร่วมกับบริษัท เซ็กโก้ เอช.วี.ฯ ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างปรับปรุงสถานีไฟฟ้า กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มูลค่าโครงการ326,280,450 บาท เพราะการทำธุรกิจตัวแทนจัดจำหน่ายสายไฟฟ้าและอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าในปัจจุบัน เปลี่ยนแปลงไปมากนอกจากมีคู่แข่งมากขึ้นแล้วเจ้าของโครงการยังมีการกำหนดให้บริษัทตัดแบ่งสายไฟฟ้าตามขนาดที่ต้องการ ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้น (มาร์จิน) ทรงตัวประมาณ 9% แต่รายได้มีโอกาสเติบโตจากงานรัฐที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่นการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีต่างๆ ที่ผ่านมาได้งานสายสีนํ้าเงิน 300ล้านบาท สีม่วง 200 ล้านบาทและสีเขียวอ่อน 340 ล้านบาท

[caption id="attachment_168176" align="aligncenter" width="503"] สมพงษ์ กังสวิวัฒน์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทคอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) สมพงษ์ กังสวิวัฒน์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทคอมมิวนิเคชั่น แอนด์ ซิสเต็มส์โซลูชั่น จำกัด (มหาชน)[/caption]

ส่วนธุรกิจออกแบบและติดตั้งระบบโทรคมนาคม ขณะนี้มีงานติดตั้งเสาออกมาจำนวนมาก เช่น บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นฯ (ดีแทค) ทรูมูฟ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส และบริษัทยังคงได้รับงานใหม่ๆ แต่เจ้าของสัมปทานพยายามลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด จัดซื้อจัดหาอุปกรณ์เองทำให้บริษัทไม่สามารถเพิ่มมาร์จินได้มากนัก

ล่าสุดบริษัทรับงานติดตั้งเสาโทรคมนาคมให้กับ ดีแทคให้บริการไร้สายบนโครงข่ายคลื่นความถี่ 2300 เมกะเฮิร์ตซ์ (MHz)จำนวน 400 ต้น จากจำนวนทั้งหมด 3,000 ต้นที่ดีแทคมีแผนขยายโครงข่ายภายในปีนี้ส่วนในปีหน้ายังคงมีงานประมูลออกมาอย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกันบริษัทยังมีการศึกษาธุรกิจใหม่ๆเช่น แบตเตอรี่ร่วมเป็นพันธมิตรกับจีน แต่ยังต้องรอเวลารัฐ เปิดรายละเอียดของโครงการและเงื่อนไขต่างๆ ออกมาก่อนส่วนการที่ CSS เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทำให้มีฐานะการเงินที่ดีมีความสามารถประมูลงาน ได้มากขึ้น มีแบงก์การันตีมาวางได้ซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างน้อยรายจะทำได้ บริษัทจึงได้งานที่ดี และสามารถรับงานมาแล้วส่งต่อผู้รับเหมารายอื่นๆ ขยายโอกาสในการเพิ่มรายได้ได้

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกล่าวว่า ธุรกิจโทรคมนาคมคาดว่าจะมีงานไม่น้อยกว่า 1,000-1,200 ล้านบาท จากเดิมคาดไว้ที่ 1,000 ล้านบาท ส่วนมาร์จินใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ประมาณ 25-28% และธุรกิจเทรดดิ้งประมาณ 3,700-3,800 ล้านบาทส่งผลให้มีรายได้รวม 5,000 ล้านบาท จากปีก่อนอยู่ที่ 4,713.05ล้านบาท ปัจจุบันบริษัท มีงานในมือ (Backlog) อยู่ที่ 1,650ล้านบาท นอกจากนั้นยังรอการประมูลงานอีกหลายโครงการ เช่นการ นำสายไฟฟ้าลงใต้ดินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง รวมถึงงานที่สมุย จ.สุราษฎร์ธานีงานปรับเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้าที่พัทยา เป็นต้น

“ธุรกิจโทรคมนาคม ยังเติบโตไปได้ 3 ปี ขณะนี้ต้องรอ Cycle ใหม่ของธุรกิจใหม่ รอนโยบายรัฐเป็นหลัก ที่ผ่านมาประกาศว่าจะเปิดประมูลหลายโครงการ มั่นใจว่าจะได้งานมาบ้างแน่ และได้มาร์จินมากขึ้น”นายสมพงษ์กล่าว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,272 วันที่ 22 - 24 มิถุนายน พ.ศ. 2560