เปิดตัว “ข้าวเจ้าพันธุ์ กข81” ปลูกทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์

10 ก.ย. 2565 | 13:42 น.

สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดตัว ข้าวเจ้าพันธุ์ กข81 ปลูกทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์ ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสำหรับการปลูกข้าว หันมาปลูกข้าวที่เหมาะสมสำหรับอาหารสัตว์ ฟุ้งราคาเทียบเท่าข้าวสาลี “พาณิชย์” ห่วงหนุนปลูกพรึบ หากโรงงานอาหารสัตว์ไม่ซื้อ จะขายใคร ต้องวางแผนให้รอบคอบ

แหล่งข่าวสภาเกษตรกรแห่งชาติ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ปัจจุบันเกิดวิกฤติการณ์ด้านอาหารสัตว์สภาเกษตรกรแห่งชาติมีความสนใจพันธุ์ข้าวที่มีผลผลิตสูง เชื้อแป้งสูง ต้านทานโรค แมลง เหมาะสำหรับเป็นอาหารสัตว์ ให้ชาวนาภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่มาปลูกข้าวที่เหมาะสำหรับอาหารสัตว์ ซึ่งจะทำให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น

 

 

ทางกรมการข้าว ได้มีการคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตประมาณ 1,200  กิโลกรัมต่อไร่ มีโปรตีนประมาณร้อยละ 9 ซึ่งสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้คือ กข81 เป็นข้าวเมล็ดสั้น ผลผลิตสูง ประมาณ 1,500  กิโลกรัมต่อไร่ หากชาวนาเปลี่ยนพันธุ์ข้าวจะทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มและเป็นพืชอาหารสัตว์

 

เปิดตัว “ข้าวเจ้าพันธุ์ กข81”   ปลูกทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์

 

อาหารสัตว์อาจจะขาดแคลนอีกนาน เนื่องจากบริษัทส่วนใหญ่นำเข้าอาหารสัตว์จากต่างประเทศ ขณะนี้ต่างประเทศมีความขัดแย้งกัน ดังนั้นต้องใช้โอกาสนี้นำข้าวมาเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้ได้มากที่สุด จะทำอย่างไรให้รายได้ไม่ต่ำกว่าข้าวบริโภค ต้องพิจารณาเรื่องต้นทุนด้วย

แหล่งข่าวสภาเกษตรกรแห่งชาติ    ประกอบด้วย ชาวนา เจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ เจ้าของฟาร์มสุกร หากกรมการข้าวมีสายพันธุ์ข้าวที่เหมาะสำหรับเป็นอาหารสัตว์ รอบการผลิตต่อไปจะเริ่มปลูกและทดสอบนำไปเลี้ยงสัตว์โดยให้นักวิชาการด้านอาหารสัตว์ปรับปรุงสูตรอาหารสัตว์ให้ด้วย ชาวนาจะได้มีทางออก เพราะทราบว่าพันธุ์ข้าวสำหรับปศุสัตว์มีผลผลิตประมาณ 1,000-1,500  กิโลกรัมต่อไร่ สามารถขายได้ราคาเท่ากับข้าวสาลีนำเข้าราคาตันละ 6,000-7,000 บาทขาวนาจะมีรายได้ประมาณ 10,000 บาทต่อไร่

 

เปิดตัว “ข้าวเจ้าพันธุ์ กข81”   ปลูกทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์

 

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า แนะนำให้กรมการข้าวร่วมกับผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ศึกษาหารือแนวทางการนำข้าวมาเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงพาณิชย์เคยหารือกับผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์หลายครั้งเกี่ยวกับการใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนข้าวโพด ข้าวสาลี ว่าสามารถนำข้าวมาทดแทนได้หรือไม่ซึ่งผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ขี้แจงว่าสูตรอาหารสัตว์มีความแตกต่างกัน ข้าวอาจจะไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็นอาหารสัตว์ หากส่งเสริมไปแล้วสุดท้ายผู้ประกอบการผลิตอาหารสัตว์ไม่ได้นำมาเป็นวัตถุดิบจะไม่มีประโยชน์

 

“การส่งเสริมให้ชาวนาปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวอาหารสัตว์ จะต้องประชุมร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รู้ว่าจะส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกข้าวอาหารสัตว์จำนวนเท่าไหร่ ผู้ผลิตอาหารสัตว์มีความต้องการข้าวอาหารสัตว์เท่าไหร่เพื่อให้กระทรวงเกษตรฯ กำหนดพื้นที่ใดควรปลูก ใช้พันธุ์ข้าวใดปลูก ให้เกษตรอำเภอไปประชุมระดับอำเภอว่าพื้นที่ใดบ้างควรจะปลูกหรือจะปรับเปลี่ยนจากพืชไร่เป็นข้าวเพื่อไปทดแทนอาหารสัตว์”

 

 

 

ดังนั้น ต้องเห็นภาพรวมใหญ่ก่อน ไม่งั้นถ้าไปสนับสนุนโดยไม่ทราบความต้องการจะเกิดปัญหาผลผลิตข้าวอาหารสัตว์เกินความต้องการของผู้ผลิตอาหารสัตว์ จึงต้องทำความเข้าใจว่าพื้นที่ใดเหมาะสมที่จะปลูก ปลูกแบบไหน ใช้เมล็ดพันธุ์อะไรและปลูกแล้วจะขายที่ไหน ถ้าปลูกแล้วขายไม่ได้จะเกิดปัญหาตามมา ต้องพิจารณารายละเอียดด้วย เนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก หน่วยงานภาครัฐจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการปรับเปลี่ยน ขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาประกอบการปรับเปลี่ยนด้วย

 

 

 

 

ชื่อพันธุ์   กข81 (RD81)

ชนิด        ข้าวเจ้า

คู่ผสม    

 

วัตถุประสงค์

 

ปรับปรุงพันธ์ข้าวเมล็ดขนาดปานกลาง ให้มีปริมาณอะมิโลส ระหว่าง 15-24 เปอร์เซ็นต์ และมีคุณสมบัติเหมาะสำหรับเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวพองอบกรอบ (Rice crispy)

 

ประวัติพันธุ์

เปิดตัว “ข้าวเจ้าพันธุ์ กข81”   ปลูกทดแทนวัตถุดิบอาหารสัตว์

 

ฤดูนาปี 2556 นำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวสายพันธุ์รักษาความเป็นหมัน (B line) IR95760-36-9 ซึ่งคัดเลือกจากประชากรชั่วที่ 4 ของโครงการความร่วมมือพัฒนาข้าวลูกผสม (Hygrid Rice Development Consortium : HRDC) ที่สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) มาปลูกคัดเลือกแบบสืบประวัติ (pedigree selection) ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ในปี 2557 ถึงปี 2558 ตั้งแต่ประชากรชั่วที่ 5 ถึง 8 โดยคัดเลือกได้สายพันธุ์ที่มีเมล็ดขนาดปานกลาง คือสายพันธุ์ IR95760-36-9-PTT-1-1-1-1 และสายพันธุ์อื่นๆ อีกจำนวน 21 สายพันธุ์ ระหว่างฤดูนาปรังถึงฤดูนาปี 2559 ได้นำสายพันธุ์เหล่านั้นปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี

 

ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงที่สำคัญ และวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมี ต่อมาในระหว่างฤดูนาปี 2559 ถึงนาปรัง 2560 นำสายพันธุ์ IR95760-36-9-PTT-1-1-1-1 ไปปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิทยาศาสตร์ข้าวแห่งชาติ และศูนย์วิจัยข้าวชัยนาท ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงที่สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมี และระหว่างฤดูนาปรัง 2560 ถึงนาปี 2560

 

 

ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร ในนาเกษตรกรจังหวัดปทุมธานี กาญจนบุรี นครสวรรค์ และจังหวัดชัยนาท ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงที่สำคัญ วิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและทางเคมี และในฤดูนาปี 2560 และฤดูนาปรัง 2561 ทดสอบการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจน และในปี 2561 ทดสอบคุณสมบัติของวัตถุดิบการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวพองอบกรอบ

 

การรับรองพันธุ์      คณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ กรมการข้าว เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2562