“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้

09 มิ.ย. 2568 | 06:15 น.
อัปเดตล่าสุด :10 มิ.ย. 2568 | 06:13 น.

สภาเกษตรกรแห่งชาติ แฉ “โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพดทั่วประเทศ ดัดหลังพ่อค้าแสบ ค้านนำเข้าข้าวโพดจีเอ็มโอจากสหรัฐฯ ภาษีเป็นศูนย์ ลุ้นประชุมบอร์ด นบขพ. วันนี้ (10 มิ.ย.68) เดิมพันอนาคตเกษตรกรแลกภาษีทรัมป์

นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา และกรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.)  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ (9 มิ.ย.68) โรงงานอาหารสัตว์ ได้ประกาศหยุดรับซื้อทั่วประเทศ ไม่กระทบกับพี่น้องเกษตรกร เพราะได้ขายหมดไปแล้ว แต่จะส่งผลกระทบกับพ่อค้ารวบรวมในท้องถิ่นยังมีอยู่ ซึ่งเป็นการบีบเพื่อให้เปิดช่องทางกับธัญพืชตัวอื่นให้เข้ามาทดแทนและกดดันราคาให้ต่ำลง และเป็นการต้อนรับในชุดข้าวโพดฤดูกาลใหม่ที่จะกำลังจะออกมาในเดือนหน้านี้

“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้

“เป็นประจำทุกปีหลังเกษตรกรเก็บเกี่ยวแล้ว ผลผลิตทั้งหมดจะอยู่ในโรงงานอาหารสัตว์บางส่วน แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ในมือผู้ค้ารวบรวมท้องถิ่น เพื่อเข้าสู่กระบวนการอบลดความชื้น จะทยอยขายตามคำสั่งซื้อตามที่โรงงานอาหารสัตว์ต้องการ และประกอบกับมีการนำเข้าสินค้าในกลุ่มข้าวสาลี และนอกโควตา ในกลุ่มอาเซียนทำให้ปริมาณข้าวโพดและสินค้าทดแทนค่อนข้างตึงตัว แต่สิ่งที่ทำในวันนี้เป็นเหมือนราวกับนัดหยุดการรับซื้อ เป็นการส่งสัญญาณอะไรไปที่บอร์ดข้าวโพดฯ หรือไม่ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว เพราะจะได้เปิดทางให้ข้าวโพดสหรัฐฯจีเอ็มโอนำเข้ามาหรือไม่”

 

“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้

 

นายเติมศักดิ์ กล่าว่า ทางสภาเกษตรกรฯ ไม่เห็นด้วยที่จะให้นำเข้าข้าวโพดจีเอ็มโอเข้ามา เพราะมีผลกระทบในเรื่องวัชพืชการใช้สารเคมี เพิ่มขึ้นหรือไม่ เช่นเดียวกับ แมลง ที่จะดื้อยาหรือไม่ และไวรัสที่เกิดขึ้นในตัวแมลงจะเกิดผลกระทบในพืชหรือแมลงในท้องถิ่นหรือไม่ โดยประเด็นคำถามเหล่านี้ก็ยังไม่สามารถชี้แจงได้ ถึงได้มีการคัดค้านและไม่เห็นด้วยกับการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แล้วจะมาประชุมใหม่อีกรอบในวันพรุ่งนี้ก็คงจะยืนกรานคำตอบเดิมว่าไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน ไม่เช่นนั้นจะซ้ำรอยเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง

“ถั่วเหลือง ที่มีการนำเข้ามาเพื่อสกัดเป็นน้ำมั่นถั่วเหลือง ส่วนกาก ก็ไปสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ พอเข้ามาในราคาถูก ก็มากดดันราคาในประเทศทำให้เกษตรกรปลูกไม่คุ้มกับต้นทุนในการปลูก จึงทำให้อาชีพเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลืองล่มสลายไปแล้ว ทำให้ราคาถั่วเหลืองนำเข้ามาในประเทศราคาสูงขึ้น แล้วถ้าข้าวโพดเข้ามาเป็นแบบนี้อีกจะซ้ำรอยอาชีพเกษตรกรผู้ปลูกถั่วเหลือง อย่างไรก็ดีในเรื่องโรงงานนัดกันหยุดผิดสังเกต จะต้องโทรไปสอบถามรายละเอียดที่กรมการค้าภายในจะต้องชี้แจงว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะมีผลกระทบกับเกษตรกรแน่นอน เพราะถ้าสต็อกเต็มขายไม่ได้ แล้วพ่อค้าจะมารับซื้อผลผลิตเกษตรกรได้อย่างในเดือนหน้านี้"

“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้

ขณะที่พ่อค้าพืชไร่  กล่าวว่า ในปีนี้ทางผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย คาดว่า ปริมาณความต้องการใช้ อยู่ที่ 9.201 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 0.207 ล้านตัน (+2%) ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณความต้องการใช้ของกรมปศุสัตว์ ที่คาดการณ์อยู่ระหว่าง 8.784 - 10.084 ล้านตัน เนื่องจากการขยายตัวของภาคปศุสัตว์  มีการขอเพิ่มเติมการขอนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน นอกเหนือจากกรอบอาฟต้า ได้ในอัตราภาษี 0%  ไม่เห็นด้วย เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ โดยผู้ผลิตอาหารสัตว์ควรใช้ วัตถุดิบทดแทนในประเทศให้หมดก่อนเป็นลำดับแรก

“ มองว่าทางกลุ่มอาหารสัตว์พยายามจะเปิดประตูบานแรก โดยใช้ ภาษี ที่อเมริกาเรียกเก็บมาเป็นข้ออ้าง แก้ไขกฎหมาย ลดภาษี แล้วสรุปสุดท้าย ถึง เวลานำเข้าข้าวโพด จากที่ไหนก็ได้ที่ถูกที่สุด"

 

 

ด้าน แหล่งข่าวจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ข้อสังเกตว่า การกำหนดเงื่อนไขในการ ขออนุญาตนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้กรอบ WTO ในโควตาและข้าวสาลีสำหรับการผลิตอาหารสัตว์ ต้องมี ความระมัดระวังในการออกประกาศหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากไทยเคยได้รับข้อร้องเรียนจากสมาชิก WTO เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขลักษณะเดียวกันกับการนำเข้าสินค้าข้าวสาลี

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้ให้ข้อมูลในเรื่องการนำเข้าข้าวโพด GMO ที่ปลูกในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ เป็นข้าวโพดที่ผ่านการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพทางด้านสิ่งแวดล้อมและด้านอาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตามหลักการของ CODEX และกฎระเบียบของแต่ละประเทศ ว่ามีความปลอดภัยในการใช้เป็นอาหารหรือปลูกในสภาพแวดล้อมเทียบเท่ากับข้าวโพดสายพันธ์ทั่วไป ซึ่งการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มข้นดังกล่าวเป็นเหตุผลที่ทำให้สินค้าข้าวโพดจีเอ็มสามารถจำหน่ายได้ทั่วโลก โดยตลาดผู้ซื้อหลักได้แก่ประเทศจีน และสหภาพยุโรป เป็นต้น

“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้

ในประเทศไทยแม้จะยังมิได้มีการอนุญาดให้ปลูกพืชจีเอ็มชนิดใดก็ตาม แต่ประเทศไทยมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 431 พ.ศ. 2565 ภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่องอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตตัดแปลงพันธุกรรม เพื่อกำกับดูแลการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพต้านอาหารของพืชจีเอ็มและสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นจีเอ็ม โดยมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)เป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแล ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ อย. และหน่วยงานพันธมิตรของ อย. ได้ทำการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหารของข้าวโพดและถั่วเหลืองจีเอ็มที่มีจำหน่ายในตลาดโลกใน

ปัจจุบัน รวมทั้งจากประเทศสหรัฐอเมริกาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วดังนั้นหากมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากสหรัฐอเมริกา ข้าวโพดเหล่านั้นจึงเป็นข้าวโพดที่ได้ผ่านการประเมินความปลอดภัยด้านอาหารตามหลักเกณฑ์ของประเทศไทยเรียบร้อยแล้วทั้งนี้ในส่วนของการบริหารจัดการเพื่อป้องกันการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมประเทศไทยมีประสบการณ์ในการนำเข้าถั่วเหลืองจีเอ็ม มาเป็นระยะเวลาเกือบ 20 ปี โดยไม่มีเหตุการณ์รั่วไหลเกิดขึ้นดังนั้นการบริหารจัดการการนำเข้าถั่วเหลืองจีเอ็มจึงสามารถนำมาใช้เพื่อบริหารจัดการการนำเข้า

ข้าวโพดจีเอ็มเช่นกันอย่างไรก็ตามในกรณีที่อาจเกิดการรั่วไหลด้วยเหตุสุดวิสัย ข้าวโพดจีเอ็มที่จะนำเข้ามีโอกาสน้อยมากถึงไม่มีเลยที่จะก่อปัญหาเนื่องจากข้าวโพดเหล่านั้นได้ผ่านการประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพด้านอาหารแล้วว่าสามารถใช้เป็นอาหารได้เทียบเท่ากับข้าวโพดทั่วไปดังกล่าวข้างต้น อีกทั้งข้าวโพดเหล่านั้นเป็นข้าวโพดลูกผสมสายพันธุ์เขตหนาว จึงมีโอกาสน้อยมากที่จะอยู่รอดหรือแพร่พันธุ์ในสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของไทย

 

“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้

 

การใช้วัตถุดิบภายในประเทศทดแทนการนำเข้า การผลิตอาหารสัตว์ไทยปี 2566 อยู่ที่ 21.8 ล้านตัน มีความต้องการใช้วัตถุดิบพลังงาน 60% หรือ 13 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 9.2 ล้านตัน,ปลายข้าว 1.7 ล้านตัน ,มันเส้น 1.8 ล้านต้น อาหารสัตว์มีการใช้วัตถุดิบทั้งสองชนิดควบคู่ไปกับการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ด้วยแล้ว การพิจารณาปริมาณทดแทนข้าวโพดจึงแยกจากกัน ในทางธุรกิจจะพิจารณาเลือกใช้วัตถุดิบตามคุณค่าโภชนาการและราคาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อเนื่องไปยังภาคปศุสัตว์

ทั้งนี้จำนวนการใช้วัตถุดิบทั้งมันเส้นและปลายข้าวในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์คิดเป็น 8% ของผลผลิตทั้งสองชนิด มิได้มีผลต่อการกำหนดราคาของสินค้าดังกล่าวซึ่งปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์การส่งออกเป็นหลัก ในอดีตเคยมีการขอให้ใช้สินค้าทั้งสองชนิดในอาหารสัตว์ให้มากขึ้น การจะใช้เพิ่มเติมได้นั้นจะใช้ใต้กับอาหารสัตว์บางประเภทเพราะจะต้องใช้แล้วไม่เกิดผลกระทบต่อประสิทธิภาพและคุณภาพของการผลิตปศุสัตว์ รวมทั้งต้นทุน เพื่อไม่เป็นภาระต่อผู้บริโภค ที่ผ่านมาเมื่อสถานการณ์ส่งออกสินค้าทั้งสองชนิดกลับมาดี ก็จะเกิดปัญหาไม่มีสินค้าส่งมอบให้กับสมาชิกสมาคม

“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้

อย่างไรก็ดี วันนี้ (10 มิ.ย.68) จะมีการประชุม นบขพ. ผลสรุปที่ประชุมจะไปทิศทางไหน ต้องติดตามตอนต่อไป 


ประกาศสมาคมโรงงานอาหารสัตว์หยุดรับซื้อ ณ วันที่ 9 มิถุนายน 2568

“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้

ขณะที่ก่อนหน้านี้ราคาข้าวโพด วันที่ 6-7 มิถุนายน 2568 ราคาทะยานพุ่งขึ้นมา  11.50 บาทต่อกิโลกรัม สูงสุดในรอบ 1 ปี

“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้

 

“โรงงานอาหารสัตว์” ประกาศหยุดรับซื้อข้าวโพด กดดันประชุมบอร์ด วันนี้