อนุกมธ.สธ.เชื่อ กสย. ไม่เพิ่มโควต้ารับซื้อใบยาสูบจากเกษตรกร

09 ก.ย. 2565 | 03:58 น.

อนุกมธ.สธ.เชื่อ กสย. ไม่เพิ่มโควต้ารับซื้อใบยาสูบจากเกษตรกร เผยแจ้งเกษตรถึงสถานการณ์หลังจากรัฐมีการขึ้นอัตราภาษีบุหรี่และมีการทะลักเข้ามาของบุหรี่ต่างประเทศทั้งใน และนอกระบบจนเข้ามาตีตลาดบุหรี่ไทย

นายเอกภพ เพียรพิเศษ รองประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพ และติดตามการบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุข เปิดเผยว่า การยาสูบแห่งประเทศไทย (กสย.) คงไม่สามารถทำให้โควต้ารับซื้อใบยาสูบจากเกษตรกรพุ่งสูงขึ้นเหมือนเมื่อประมาณ 5 ปีก่อนอย่างแน่นอน 

 

ทั้งนี้ ล่าสุดได้เปิดรับฟังปัญหาจากเครือข่ายผู้ปลูกและค้าใบยาสูบใน จ.เชียงราย ซึ่งได้เรียกร้องผ่านคณะอนุกรรมาธิการฯ ไปยังรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ กสย. ให้ยกเลิกการลดโควต้ารับซื้อใบยาสูบจากเกษตรกรลง 25% ในฤดูกาลปลูกปี 2565-2566 นี้ และให้ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต 

 

"คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้ขอให้เกษตรกรแจ้งถึงสถานการณ์การปลูกพืชทดแทน เนื่องจากคาดว่า กสย.คงไม่สามารถทำตามข้อเรียกร้องดังกล่าวได้  รวมทั้งได้แจ้งเกษตรถึงสถานการณ์หลังจากรัฐมีการขึ้นอัตราภาษีบุหรี่และมีการทะลักเช้ามาของบุหรี่ต่างประเทศทั้งในและนอกระบบจนเข้ามาตีตลาดบุหรี่ไทยทำให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นลูกโซ่ดังกล่าวด้วย"

นายเอกภพ กล่าวอีกว่าว่า คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เข้ารับเรื่องต่างๆ ในภาพรวมเพื่อเสนอไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแต่ในมุมมองของตนเห็นว่าตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาแม้จะมีการขึ้นอัตราภาษีบุหรี่มาแล้วแต่ยังคงมีคนไทยที่สูบบุหรี่อยู่ประมาณ 10 ล้านคน และยังมีบุหรี่จากต่างประเทศทะลักเข้ามาตีตลาดไทยอีกโดยเฉพาะเป็นบุหรี่ที่กระจายสู่ตลาดระดับล่าง

 

ซึ่งคณะได้เดินทางไปรับทราบสถานการณ์มาแล้วทั้งที่ จ.สงขลา และตลาดชายแดน อ.แม่สาย จ.เชียงราย โดยส่งผลกระทบต่อการลดโควต้าของชาวไร่เป็นอย่างมาก ซึ่งการรับเรื่องครั้งนี้มี 2ประเด็นที่ต้องติดตามคือการช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร  

 

อนุกมธ.สธ.เชื่อ กสย. ไม่เพิ่มโควต้ารับซื้อใบยาสูบจากเกษตรกร

 

การแก้ไขปัญหาโควต้าพื้นที่และผลผลิตของใบยาสูบที่จะผลักดันส่วนงานที่เกี่ยวให้รับซื้อโควต้าเดิมอย่างน้อย 1.8 ล้านกิโลกรัมนั้น  เบื้องต้นจะมีการประสานกับ กสย.และเครือข่ายฯ ให้ประชุมหารือกันในวันที่ 15 ก.ย.นี้เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้อีกครั้ง ส่วนประเด็นการแบนนส่วนประประกอบ หรือ สารปรุงแต่ง เช่น เมลทอน  ที่อาจส่งผลกระทบต่อชาวไรยาสูบนั้นไม่น่ากังวลเนื่องจากกระทรวงสษะารณสุขมีการชะลอเรื่องนี้ออกไปก่อนแล้ว

 

นายณรงค์ศักดิ์ กิจพิทักษ์ ประธานเครือข่ายฯ กล่าวว่า ในฤดูกาลปลูก 2560 กสย.เคยรับซื้อใบยาสูบจากเกษตรกรจำนวน 3,035,344 กิโลกรัม ต่อมาปี 2561-2562 ลงเหลือ 1,729,898 กิโลกรัม และปี 2564-2565 รับซื้อปริมาณใกล้เคียงกันที่จำนวน 1,736,543 กิโลกรัม 

แต่ในฤดูกาลปลูก 2565-2566 ซึ่งจะเริ่มปลูกกันช่วงปลายปีนี้กลับลดโควต้ารับซื้อลงเหลือเพียงประมาณ 1,330,7100 บาท หรือกว่า 25% ทำให้เกษตรกรเดือดร้อนหนักเพราะต้นทุนสูงโดยเฉพาะจากปุ๋ยที่เดิมกระสอบละ 1,000 บาทก็สูงขึ้นกว่า 56% หรือประมาณ 2,500 บาท ฯลฯ ข้อเสนอจึงต้องการให้ กสย.รับซื้อในโควต้าเดิมในฤดูกาลปลูกปี 2544-2565 และเพิ่มการช่วยเหลือค่าปัจจัยการผลิตจากเดิมกิโลกรัมละ 6 บาทให้เป็น 16 บาทด้วย เพราะจะสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากกว่า

 

"เกษตรกรได้ทดลองปลูกพืชทดแทนทุกอย่างแล้วเพราะเมื่ออนุาคตเป็นอย่างนี้พวกเราก็ต้องการจะเลิกปลูกใบยาสูบเสียเลย โดยครั้งหนึ่งเคยทดลองปลูกกัญชาแต่ปรากฎว่าหลังจากนั้นพืชชนิดนี้กลับไม่ตอบโจทย์ ทั้งเรื่องรายได้ของเกษตรกร ตลาดรับซื้อ ฯลฯ โดยจนถึงทุกวันนี้บางรายยังไม่ได้รับเงินจากการปลูกครั้งก่อนด้วยซ้ำ ดังนั้นเมื่อยังต้องปลูกยาสูบก็ขอให้ช่วยเหลือเกษตรกรด้วย" 

 

นายบดินทร์ กินาวงศ์ ตัวแทนเครือข่ายฯ กล่าวว่า กสย.ทำธุรกิจได้กำไรมหาศาลและไม่ใช่ยากจนแต่อย่างใด โดยสามารถส่งเงินให้รัฐบาลปีละกว่า 1,500 ล้านบาท และได้กำไรสุทธิมากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่กลับมาลดโควต้าการรับซื้อจากเกษตรกรตนจึงเห็นว่าควรหักมาประมาณ 100 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรบ้าง รวมทั้งในความคิดเห็นส่วนตัวยังเห็นว่า กสย.ควรผลักดันให้มีการส่งออกใบยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนียร์ของเกษตรกรไทยด้วย